This image has an empty alt attribute; its file name is tawan.jpg

2003年2月 第29号

Q & A

สวัสดีค่ะ กลับมาพบกันในคอลัมน์ Q&A อีกครั้ง เรานำคำศัพท์เกี่ยวกับโรงเรียน และคำที่ใช้ในการกล่าว ต้อนรับ มา เสนอหลายครั้งแล้ว ครั้งนี้เรามาลองดูไวยากรณ์ที่หลายคนเคยถามเข้ามาบ้างดีกว่า สำหรับหัวข้อ ไวยากรณ์ ที่ถูกถาม เข้ามาค่อนข้างบ่อยหัวข้อหนึ่งก็คือ ความแตกต่างระหว่าง ~ておく และ ~てある หัวข้อไวยากรณ์ 2 ตัวนี้มักจะถูกสอน คู่กัน และทำให้ผู้เรียนค่อนข้างสับสน เริ่มตั้งแต่โครงสร้างไวยากรณ์ ที่คล้ายกัน ทั้ง ~ておく และ ~てある จะใช้กับสกรรมกริยา ซึ่งจะอยู่ในรูป สกรรมกริยา て form + おく / ある แต่ถ้าสังเกตให้ดี คำช่วยที่ใช้กับ โครงสร้างทั้งคู่จะ ต่างกัน คำช่วยที่มาหน้าสกรรมกริยา ておく จะเป็น を เช่น << 部屋をそうじしておきます。 ทำ ความสะอาดห้องไว้ >> ส่วนคำช่วยที่ใช้กับสกรรมกริยา てある มักจะใช้ が / は เช่น << 部屋がそうじしてあります ห้องทำความสะอาดไว้แล้ว >>

นอกจากนี้ความหมายยังค่อนข้างใกล้เคียงกัน ~ておく จะมีความหมายว่า ทำ…..ไว้ ใช้ เวลาที่ต้องการ แสดงว่า ทำหรือเตรียมสิ่งบางสิ่งบางอย่างไว้ล่วงหน้าเพื่อวัตถุประสงค์บางอย่าง เช่น << 友だちが来るので,部屋をそうじしておきます。 เพื่อนจะมาก็เลยจะทำความสะอาดห้อง(เตรียม) ไว้ >> หรือ << パーティーで歌を歌うので,練習しておいてください จะร้องเพลงในงานเลี้ยง กรุณาฝึก(เตรียม)ไว้ด้วย >> ส่วน てある มีความหมายว่า …..อยู่ / …..ไว้แล้ว ใช้ในกรณีที่ต้องการแสดงถึงเรื่องที่ได้ทำไว้ล่วงหน้าแล้ว และยังคงสภาพ อยู่แม้ใน ขณะที่พูด เป็นการแสดงสภาพผลท ี่ยังคงอยู่ของกริยาที่ได้ทำไว้ เช่น << 私の部屋は、そうじしてあります。 ห้องของฉันทำความสะอาดไว้แล้ว >> หรือ << 冷蔵庫に,ビールが冷やしてあります มีเบียร์แช่อย ู่ในตู้เย็น >>

เป็นยังไงบ้างคะ พอจะได้แนวคร่าวๆ เกี่ยวกับหัวข้อไวยากรณ์ 2 แบบนี้บ้างหรือเปล่าคะ