โครงการ NIHONGO Partners

โครงการนี้เป็นโครงการที่จัดส่งอาสาสมัคร NIHONGO Partners (ต่อไปนี้จะเรียกว่า NP) ชาวญี่ปุ่นไปประจำยังโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาในภูมิภาคอาเซียน เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยครูสอนภาษาญี่ปุ่น (อาสาสมัครไม่มีวุฒิครู) ทำการช่วยอาจารย์ชาวไทยสอนเป็นคู่สนทนาในชั้นเรียน รวมถึงการสนับสนุนการจัดกิจกรรมแนะนำวัฒนธรรมของญี่ปุ่นนอกชั้นเรียน อีกทั้งตัว NP เองก็ยังจะได้เรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมของไทย เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างไทยและญี่ปุ่น

โครงการนี้จัดทำขึ้นตามบันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงศึกษาธิการของไทยกับเจแปนฟาวน์เดชั่น เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2557 จนถึงปัจจุบัน ได้ดำเนินการมาแล้ว 10 รุ่น รวมเป็นจำนวนทั้งหมดทั้งสิ้นประมาณ 470 คน

ขณะนี้กำลังเปิดรับสมัครโรงเรียนเพื่อเข้าร่วมโครงการ NIHONGO Partners รุ่นที่ 11 โรงเรียนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ สามารถอ่านรายละเอียดการสมัคร และดาวน์โหลดใบสมัครได้ ที่นี่

หมดเขตรับสมัครวันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม 2565

รายละเอียดอาสาสมัครในแต่ละรุ่น

รุ่นที่ 1 จำนวน 29 คน ระยะเวลาปฏิบัติงาน : 6 เดือน (กันยายน 2557 – มีนาคม 2558)
รุ่นที่ 2 จำนวน 40 คน ระยะเวลาปฏิบัติงาน : 10 เดือน (พฤษภาคม 2558 – มีนาคม 2559)
รุ่นที่ 3 จำนวน 12 คน ระยะเวลาปฏิบัติงาน : 7 เดือน (สิงหาคม 2558 – มีนาคม 2559)
รุ่นที่ 4 จำนวน 60 คน ระยะเวลาปฏิบัติงาน : 10 เดือน (พฤษภาคม 2559 – มีนาคม 2560)
รุ่นที่ 5 จำนวน 69 คน ระยะเวลาปฏิบัติงาน : 10 เดือน (พฤษภาคม 2560 – มีนาคม 2561)
รุ่นที่ 6 จำนวน 80 คน ระยะเวลาปฏิบัติงาน : 10 เดือน (พฤษภาคม 2561 – มีนาคม 2562)
รุ่นที่ 7 จำนวน 85 คน ระยะเวลาปฏิบัติงาน : 10 เดือน (พฤษภาคม 2562 – กุมภาพันธ์ 2563)
รุ่นที่ 8 ยกเลิกการส่งอาสาสมัครเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19
รุ่นที่ 9 จำนวน 24 คน ระยะเวลาปฏิบัติงาน : 10 เดือน (พฤษภาคม 2564 – กุมภาพันธ์ 2565)
              จำนวน 22 คน ระยะเวลาปฏิบัติงาน : 4 เดือน (พฤศจิกายน 2564 – กุมภาพันธ์ 2565)  
รุ่นที่ 10 จำนวน 48 คน ระยะเวลาปฏิบัติงาน : 10 เดือน (พฤษภาคม 2565 – กุมภาพันธ์ 2566)

คุณสมบัติของโรงเรียนที่เข้าร่วม

  1. เป็นสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ
  2. มีการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นเป็นวิชาแผนหรือเป็นวิชาเลือกในหลักสูตรอย่างชัดเจน
  3. มีอาจารย์ประจำชาวไทยที่มีประสบการณ์สอนวิชาภาษาญี่ปุ่นมากกว่า 1 ปีขึ้นไป (ระดับความสามารถทางภาษาญี่ปุ่น N4 ขึ้นไป)
  4. ไม่มีอาจารย์ชาวญี่ปุ่นที่สอนวิชาภาษาญี่ปุ่นประจำอยู่ นอกเหนือจากอาสาสมัครจากโครงการ NIHONGO Partners
  5. สามารถช่วยเหลือ NP ในการปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงดูแลความเป็นอยู่ของ NP
  6. ต้องการใช้โอกาสจากการเข้าร่วมโครงการในการเผยแพร่การศึกษาภาษาญี่ปุ่น
  7. อาจารย์ชาวไทยที่ร่วมสอนต้องการที่จะพัฒนาความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นของตนเอง
  8. มีความพร้อมในการสอนรูปแบบออนไลน์ (ในกรณีที่ทางรัฐบาลหรือโรงเรียนกำหนด)

หน้าที่ของ NP

    • เข้าสอนคู่กับอาจารย์คนไทยในชั้นเรียน
    • ช่วยจัดทำเอกสารประกอบการเรียน
    • ร่วมจัดทำกิจกรรมกับนักเรียนทั้งในและนอกห้องเรียน (เช่นการจัดสนทนาภาษาญี่ปุ่น การจัดกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรม เป็นต้น)
    • ให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนการจัดงานที่เกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นของเขตหรือจังหวัดนั้นๆ
    • ช่วยตรวจการบ้าน สอบการสนทนาภาษาญี่ปุ่น

★ รายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมทางด้านภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นในพื้นที่ต่าง ๆ คลิกที่นี่ (เว็บไซต์ภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น)

รายชื่อโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ NIHONGO Partners รุ่นที่ 10

กลุ่มที่ 1 ระยะเวลา : วันที่ 9 พฤษภาคม 2565 – วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566

จังหวัด ชื่อโรงเรียน
กรุงเทพมหานครฯ ชิโนรสวิทยาลัย
กรุงเทพมหานครฯ มัธยมวัดนายโรง
กรุงเทพมหานครฯ สายน้ำผึ้ง ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริ โสภาพัณณวดี
กรุงเทพมหานครฯ สตรีเศรษฐบุตรบําเพ็ญ
กรุงเทพมหานครฯ สิริรัตนาธร
กรุงเทพมหานครฯ รัตนโกสินทร์สมโภชบางขุนเทียน
กรุงเทพมหานครฯ มัธยมวัดหนองแขม
นนทบุรี วัดเขมาภิรตาราม
สมุทรปราการ บางพลีราษฎร์บำรุง
สมุทรปราการ ราชประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยม รัชดาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์
สมุทรปราการ ราชวินิตบางแก้ว
ปทุมธานี คณะราษฎร์บำรุงปทุมธานี
ปทุมธานี วรราชาทินัดดามาตุวิทยา
นครปฐม กาญจนาภิเษกวิทยาลัย นครปฐม (พระตำหนักสวนกุหลาบมัธยม)
สมุทรสาคร สมุทรสาครบูรณะ
ฉะเชิงเทรา ดัดดรุณี
ชลบุรี พนัสพิทยาคาร
ชลบุรี ชลราษฎรอำรุง
สระบุรี เทพศิรินทร์พุแค สระบุรี
สระบุรี หนองแค “สรกิจพิทยา”
สุพรรณบุรี สงวนหญิง
สุพรรณบุรี กรรณสูตศึกษาลัย
กาญจนบุรี วิสุทธรังษี จังหวัดกาญจนบุรี
เพชรบุรี เบญจมเทพอุทิศ จังหวัดเพชรบุรี

กลุ่มที่ 2 ระยะเวลา : วันที่ 30 พฤษภาคม 2565 – วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566

จังหวัด ชื่อโรงเรียน
ปราจีนบุรี ปราจิณราษฎรอำรุง
จันทบุรี ท่าใหม่ “พูลสวัสดิ์ราษฎร์นุกูล”
ตราด สตรีประเสริฐศิลป์
นครราชสีมา พิมายวิทยา
ชุมพร ศรียาภัย จังหวัดชุมพร
ชุมพร สอาดเผดิมวิทยา
สุราษฎร์ธานี สุราษฎร์ธานี
ตรัง สภาราชินี จังหวัดตรัง
ขอนแก่น แก่นนครวิทยาลัย
ขอนแก่น ศรีกระนวนวิทยาคม
ขอนแก่น บ้านไผ่
มหาสารคาม สารคามพิทยาคม
หนองบัวลำภู หนองบัวพิทยาคาร
อุดรธานี ประจักษ์ศิลปาคาร
อุดรธานี สตรีราชินูทิศ
อุบลราชธานี เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ อุบลราชธานี
ศรีสะเกษ ศรีสะเกษวิทยาลัย
พิษณุโลก เตรียมอุดมศึกษาภาคเหนือ
พิษณุโลก พุทธชินราชพิทยา
พิษณุโลก วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก
เชียงใหม่ สันป่าตองวิทยาคม
เชียงใหม่ สันกำแพง
เชียงใหม่ บ้านกาดวิทยาคม
เชียงใหม่ มงฟอร์ตวิทยาลัย (แผนกมัธยม)

[ สอบถามรายละเอียด ]

    • ติดต่อ ผู้ประสานงานโครงการ NIHONGO Partners
      เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
      ชั้น10 อาคารเสริมมิตร 159 ถนนสุขุมวิท21
      กรุงเทพฯ 10110
      TEL: 02-261-7500 ต่อ 4
      E-mail: coordinator_JFBKK@jpf.go.jp