เสวนาสาธารณะ “วัฒนธรรม และการทูต ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง”

เสวนาสาธารณะ
“วัฒนธรรม และการทูต ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง”

จัดโดย 3 องค์กรหลักของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศ จากญี่ปุ่น เยอรมนี และอังกฤษ เพื่อทบทวนคุณค่า และความสัมพันธ์ระหว่าง การส่งเสริมวัฒนธรรมข้ามพรมแดน ที่เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานทางการทูต ตลอดจนค้นหา แนวโน้มและทิศทางใหม่ๆ ของการสร้างความร่วมมือทางวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ร่วมกัน

วันเวลาวันพุธที่ 16 ธันวาคม 2563 เวลา 13:00-17:00 น.
สถานที่ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปและวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และ YouTube Live (ท่านที่ต้องการเข้าร่วม โปรดลงทะเบียนผ่านลิงก์ด้านล่าง)
ผู้ร่วมเสวนาโรนัลด์ เกร็ทซ์ เลขาธิการสถาบันความสัมพันธ์วัฒนธรรมต่างประเทศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี หรือ อีฟฟ่า ประเทศเยอรมนี
ศ.ดร. ชิบาซากิ อะสึชิ มหาวิทยาลัยโคะมะซะวะ คณะสื่อนานาชาติศึกษา
ดร. ซิน กู อาจารย์อาวุโสประจำสาขาสื่อ ภาพยนตร์ และวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลียและผู้เชี่ยวชาญของอนุสัญญายูเนสโกว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม
รศ.ดร. กิตติ ประเสริฐสุข  รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รศ.ดร.ณัฐนันท์ คุณมาศ อาจารย์ผู้ได้รับรางวัลฌอง มอนเนต์, ผู้ประสานงานชุดรายวิชาฌอง มอนเนต์และผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาวิชายุโรปศึกษา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศ.ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ หัวหน้าคณะผู้บริหารและผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ Bangkok Art Biennale 2020
ศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์ Artistic Directorการประชุมนานาชาติทางศิลปะการแสดงแห่งกรุงเทพมหานคร (BIPAM)
มาเร็น นีไมเออร์  ผู้อำนวยการสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย
แอนดรูว์ กลาส  ผู้อำนวยการบริติช เคาน์ซิล ประเทศไทย
โยชิโอกะ โนริฮิโกะ ผู้อำนวยการบริหาร เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ประเทศไทย
ภาษาดำเนินรายการเป็น ภาษาอังกฤษ

ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และโปรดลงทะเบียนที่ https://bit.ly/2V9jKnL

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

ตลอดช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ภายหลังจากการสิ้นสุดลงของสงครามโลกครั้งที่ 1 มวลมนุษยชาติได้พยายามอย่างยิ่งยวดในการนำพาสันติภาพและความสงบสุขมาสู่สังคมโลก โดยการจัดตั้งสถาบันและองค์กรต่างๆมากมายทั้งระดับประเทศและนานาชาติ เพื่อมุ่งให้เกิดการถกเถียงและหารือความร่วมมือทางการทูตระหว่างกันอย่างใกล้ชิด ภายใต้แนวคิดนานาชาตินิยม และการยึดโยงพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น การก่อตั้ง “องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations)” และต่อมาพัฒนาเป็น “องค์การสหประชาชาติ (United Nations)” เพื่อเป็นองค์การกลางในการแก้ปัญหากรณีพิพาทระหว่างประเทศด้วยสันติวิธีและดำรงสันติภาพอันถาวร

หากพิจารณาในระดับประเทศ องค์กรด้านวัฒนธรรม เช่น บริติช เคาน์ซิล (อังกฤษ) สถาบันเกอเธ่ (เยอรมัน) และเจแปนฟาวน์เดชั่น (ญี่ปุ่น) ได้ก่อตั้งขึ้นภายใต้หลักการและจุดร่วมเดียวกันคือการสรรค์สร้างสันติสุขและบรรยากาศแห่งความสมานฉันท์ในระดับนานาชาติ โดยมาพร้อมพันธกิจหลักร่วมกันของทั้ง 3 องค์กร คือ การส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างกัน และการบ่มเพาะพัฒนาการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐและชาติต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม องค์กรทางด้านวัฒนธรรม ทั้ง 3 หน่วยงานนี้ ต่างก็เผชิญกับแรงกดดันอย่างหนักหน่วงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาอยู่ 2 ประการ คือ สงครามโฆษณาชวนเชื่อ อันเป็นผลมาจากลัทธิชาตินิยม ที่ก่อตัวขึ้นอย่างกว้างขวาง จนทำให้หน่วยงานเหล่านี้ไม่สามารถถูกมองข้ามได้ หรือแม้กระทั่ง ความยากลำบากในการประเมิน ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินโครงการต่างๆ ในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศและการสร้างความเข้าใจอันดีร่วมกัน เป็นต้น

ดังนั้น จากแนวคิดและความเป็นมาดังกล่าวข้างต้นนี้ องค์กรหลักของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศทั้ง 3 แห่งจากอังกฤษ เยอรมัน และญี่ปุ่น จึงได้เชิญนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทางด้านรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตลอดจนผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติงานทางด้านวัฒนธรรมและศิลปะ มาร่วมอภิปรายและนำเสนอมุมมองต่างๆ ในงานเสวนาสาธารณะ เพื่อทบทวนคุณค่าและความสัมพันธ์ระหว่าง “การส่งเสริมวัฒนธรรมข้ามพรมแดน ที่เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานทางการทูต” ตลอดจนค้นหา แนวโน้มและทิศทางใหม่ๆ ของการสร้างความร่วมมือทางวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ระหว่างประเทศร่วมกัน ในสภาวะของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอยู่ในขณะนี้

สำหรับท่านที่สนใจเข้าร่วมงานเสวนา สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ https://bit.ly/2V9jKnL

กำหนดการ

12:30ลงทะเบียน
13:00-14:30ช่วงที่ 1 : การทูตทางวัฒนธรรม “กรอบแนวความคิดและการดำเนินงานในแต่ละประเทศ”

ผู้ดำเนินรายการและผู้อภิปราย:
รศ.ดร. กิตติ ประเสริฐสุข รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รศ.ดร.ณัฐนันท์ คุณมาศ  อาจารย์ผู้ได้รับรางวัลฌอง มอนเนต์, ผู้ประสานงานชุดรายวิชาฌอง มอนเนต์ และผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาวิชายุโรปศึกษา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ร่วมเสวนา(ออนไลน์):
ศ.ดร. อะสึชิ ชิบาซากิ มหาวิทยาลัยโคะมะซะวะ คณะสื่อนานาชาติศึกษา
โรนัลด์ เกร็ทซ์ เลขาธิการสถาบันความสัมพันธ์วัฒนธรรมต่างประเทศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี หรือ อีฟฟ่า ประเทศเยอรมนี
ดร. ซิน กู อาจารย์อาวุโสประจำสาขาสื่อ ภาพยนตร์ และวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลียและผู้เชี่ยวชาญประจำองค์กรยูเนสโกภายใต้อนุสัญญายูเนสโก 2005 ว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม
14:30-15:00พักรับประทานของว่าง
15:00-16:00ช่วงที่ 2: การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมในภาคปฏิบัติ: แรงจูงใจ ภายใต้การวางแผนงานและการมีส่วนร่วม

ผู้ดำเนินรายการ:
โยชิโอกะ โนริฮิโกะ ผู้อำนวยการบริหาร เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ประเทศไทย

ผู้ร่วมเสวนา:
ศ.ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ หัวหน้าคณะผู้บริหารและผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ Bangkok Art Biennale
ศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์ Artistic Director การประชุมนานาชาติทางศิลปะการแสดงแห่งกรุงเทพมหานคร (BIPAM)
มาเร็น นีไมเออร์ ผู้อำนวยการสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย
แอนดรูว์ กลาส ผู้อำนวยการบริติช เคาน์ซิล ประเทศไทย
16:00-17:00
บทสรุปส่งท้าย “วัฒนธรรม และการทูต” เป้าหมายเพื่ออนาคต?

เกี่ยวกับผู้เสวนา

เสวนาสาธารณะ

“วัฒนธรรม และการทูต ในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง”


จัดโดย 3 องค์กรหลักของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศ จากญี่ปุ่น เยอรมนี และอังกฤษ เพื่อทบทวนคุณค่า และความสัมพันธ์ระหว่าง การส่งเสริมวัฒนธรรมข้ามพรมแดน ที่เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานทางการทูต ตลอดจนค้นหา แนวโน้มและทิศทางใหม่ๆ ของการสร้างความร่วมมือทางวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ร่วมกัน



วันเวลา วันพุธที่ 16 ธันวาคม 2563 เวลา 13:00-17:00 น.
สถานที่ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 5 หอศิลปและวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และ YouTube Live (ท่านที่ต้องการเข้าร่วม โปรดลงทะเบียนผ่านลิงก์ด้านล่าง)
ผู้ร่วมเสวนา โรนัลด์ เกร็ทซ์ เลขาธิการสถาบันความสัมพันธ์วัฒนธรรมต่างประเทศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี หรือ อีฟฟ่า ประเทศเยอรมนี
ศ.ดร. ชิบาซากิ อะสึชิ มหาวิทยาลัยโคะมะซะวะ คณะสื่อนานาชาติศึกษา
ดร. ซิน กู อาจารย์อาวุโสประจำสาขาสื่อ ภาพยนตร์ และวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลียและผู้เชี่ยวชาญของอนุสัญญายูเนสโกว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม
รศ.ดร. กิตติ ประเสริฐสุข  รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รศ.ดร.ณัฐนันท์ คุณมาศ อาจารย์ผู้ได้รับรางวัลฌอง มอนเนต์, ผู้ประสานงานชุดรายวิชาฌอง มอนเนต์และผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาวิชายุโรปศึกษา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ศ.ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ หัวหน้าคณะผู้บริหารและผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ Bangkok Art Biennale 2020
ศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์ Artistic Directorการประชุมนานาชาติทางศิลปะการแสดงแห่งกรุงเทพมหานคร (BIPAM)
มาเร็น นีไมเออร์  ผู้อำนวยการสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย
แอนดรูว์ กลาส  ผู้อำนวยการบริติช เคาน์ซิล ประเทศไทย
โยชิโอกะ โนริฮิโกะ ผู้อำนวยการบริหาร เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ประเทศไทย
ภาษา ดำเนินรายการเป็นภาษาอังกฤษ
ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย และโปรดลงทะเบียนที่ https://bit.ly/2V9jKnL

ความเป็นมาและวัตถุประสงค์

ตลอดช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ภายหลังจากการสิ้นสุดลงของสงครามโลกครั้งที่ 1 มวลมนุษยชาติได้พยายามอย่างยิ่งยวดในการนำพาสันติภาพและความสงบสุขมาสู่สังคมโลก โดยการจัดตั้งสถาบันและองค์กรต่างๆมากมายทั้งระดับประเทศและนานาชาติ เพื่อมุ่งให้เกิดการถกเถียงและหารือความร่วมมือทางการทูตระหว่างกันอย่างใกล้ชิด ภายใต้แนวคิดนานาชาตินิยม และการยึดโยงพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น การก่อตั้ง “องค์การสันนิบาตชาติ (League of Nations)” และต่อมาพัฒนาเป็น “องค์การสหประชาชาติ (United Nations)” เพื่อเป็นองค์การกลางในการแก้ปัญหากรณีพิพาทระหว่างประเทศด้วยสันติวิธีและดำรงสันติภาพอันถาวร

หากพิจารณาในระดับประเทศ องค์กรด้านวัฒนธรรม เช่น บริติช เคาน์ซิล (อังกฤษ) สถาบันเกอเธ่ (เยอรมัน) และเจแปนฟาวน์เดชั่น (ญี่ปุ่น) ได้ก่อตั้งขึ้นภายใต้หลักการและจุดร่วมเดียวกันคือการสรรค์สร้างสันติสุขและบรรยากาศแห่งความสมานฉันท์ในระดับนานาชาติ โดยมาพร้อมพันธกิจหลักร่วมกันของทั้ง 3 องค์กร คือ การส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างกัน และการบ่มเพาะพัฒนาการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างรัฐและชาติต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม องค์กรทางด้านวัฒนธรรม ทั้ง 3 หน่วยงานนี้ ต่างก็เผชิญกับแรงกดดันอย่างหนักหน่วงตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาอยู่ 2 ประการ คือ สงครามโฆษณาชวนเชื่อ อันเป็นผลมาจากลัทธิชาตินิยม ที่ก่อตัวขึ้นอย่างกว้างขวาง จนทำให้หน่วยงานเหล่านี้ไม่สามารถถูกมองข้ามได้ หรือแม้กระทั่ง ความยากลำบากในการประเมิน ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการดำเนินโครงการต่างๆ ในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศและการสร้างความเข้าใจอันดีร่วมกัน เป็นต้น

ดังนั้น จากแนวคิดและความเป็นมาดังกล่าวข้างต้นนี้ องค์กรหลักของการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศทั้ง 3 แห่งจากอังกฤษ เยอรมัน และญี่ปุ่น จึงได้เชิญนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญทางด้านรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ตลอดจนผู้กำหนดนโยบายและผู้ปฏิบัติงานทางด้านวัฒนธรรมและศิลปะ มาร่วมอภิปรายและนำเสนอมุมมองต่างๆ ในงานเสวนาสาธารณะ เพื่อทบทวนคุณค่าและความสัมพันธ์ระหว่าง “การส่งเสริมวัฒนธรรมข้ามพรมแดน ที่เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินงานทางการทูต” ตลอดจนค้นหา แนวโน้มและทิศทางใหม่ๆ ของการสร้างความร่วมมือทางวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ระหว่างประเทศร่วมกัน ในสภาวะของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอยู่ในขณะนี้

สำหรับท่านที่สนใจเข้าร่วมงานเสวนา สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ https://bit.ly/2V9jKnL

กำหนดการ
12:30 ลงทะเบียน
13:00-14:30 ช่วงที่ 1 : การทูตทางวัฒนธรรม “กรอบแนวความคิดและการดำเนินงานในแต่ละประเทศ”

ผู้ดำเนินรายการและผู้อภิปราย:
รศ.ดร. กิตติ ประเสริฐสุข รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
รศ.ดร.ณัฐนันท์ คุณมาศ  อาจารย์ผู้ได้รับรางวัลฌอง มอนเนต์, ผู้ประสานงานชุดรายวิชาฌอง มอนเนต์ และผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาวิชายุโรปศึกษา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ร่วมเสวนา(ออนไลน์):
ศ.ดร. อะสึชิ ชิบาซากิ มหาวิทยาลัยโคะมะซะวะ คณะสื่อนานาชาติศึกษา
โรนัลด์ เกร็ทซ์ เลขาธิการสถาบันความสัมพันธ์วัฒนธรรมต่างประเทศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี หรือ อีฟฟ่า ประเทศเยอรมนี
ดร. ซิน กู อาจารย์อาวุโสประจำสาขาสื่อ ภาพยนตร์ และวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลียและผู้เชี่ยวชาญประจำองค์กรยูเนสโกภายใต้อนุสัญญายูเนสโก 2005 ว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม
14:30-15:00 พักรับประทานของว่าง
15:00-16:00 ช่วงที่ 2: การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมในภาคปฏิบัติ: แรงจูงใจ ภายใต้การวางแผนงานและการมีส่วนร่วม

ผู้ดำเนินรายการ:
โยชิโอกะ โนริฮิโกะ ผู้อำนวยการบริหาร เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ประเทศไทย

ผู้ร่วมเสวนา:
ศ.ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ หัวหน้าคณะผู้บริหารและผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ Bangkok Art Biennale
ศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์ Artistic Director การประชุมนานาชาติทางศิลปะการแสดงแห่งกรุงเทพมหานคร (BIPAM)
มาเร็น นีไมเออร์ ผู้อำนวยการสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย
แอนดรูว์ กลาส ผู้อำนวยการบริติช เคาน์ซิล ประเทศไทย
16:00-17:00 บทสรุปส่งท้าย “วัฒนธรรม และการทูต” เป้าหมายเพื่ออนาคต?


เกี่ยวกับผู้เสวนา

โรนัลด์ เกร็ทซ์ เลขาธิการ สถาบันความสัมพันธ์วัฒนธรรมต่างประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี หรือ อีฟฟ่า (Institut für Auslandsbeziehungen: IFA) 

ก่อนเข้ารับตำแหน่งปัจจุบัน ในปี 1993 คุณโรนัลด์เคยเป็นผู้อำนวยการ สถาบันเกอเธ่ประจำประเทศโปรตุเกส  และเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายภาษาเยอรมัน และรองผู้อำนวยการ ประจำองค์กรยูเนสโก ณ เมืองโคเล่จิโอ เบนจามินคอนสแตนท์  นครเซาเปาโล ประเทศบราซิล   นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ประจำที่สถาบันเกอเธ่ ณ เมืองมิวนิก กรุงไคโร และโกรธิงเกน อีกทั้งยังเป็นทีปรึกษาเกี่ยวกับการสนับสนุนการเรียนการสอนภาษาเยอรมัน ในฐานะครูผู้สอนภาษาให้กับ สถาบันเกอเธ่ ประจำเมืองบาร์เซโลนา ประเทศสเปน ระหว่างปี 1994 -1998   จากนั้นในปี 2002- 2005 ได้เป็นที่ปรึกษาด้านการส่งเสริมสื่อสมัยใหม่และเป็นผู้อำนวยการโครงการพัฒนาท้องถิ่นในภาคพื้นยุโรปตะวันออกและเอเชียกลาง ประจำสถาบันเกอเธ่ ณ กรุงมอสโคว ประเทศรัสเซีย
ศ.ดร. อะสึชิ ชิบาซากิ มหาวิทยาลัยโคะมะซะวะ คณะสื่อนานาชาติศึกษา

ศ.ดร.ชิบาซากิเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ ทฤษฎีและปรัชญาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และเป็นอาจารย์พิเศษที่ศูนย์ยุโรปและนานาชาติศึกษา มหาวิทยาลัยบาเซิล ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ระหว่างปี2017-18 หัวข้อที่ศึกษายังรวมไปถึงประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในญี่ปุ่นสมัยใหม่ ไปจนถึงแนวคิดเรื่อง Soft Power, เคนเน็ธ วอลซ์, แนวคิดเรื่องความกลัว, อิมมานูเอล คานต์, อันโตนีโอ เนกรี และบ็อบ ดิลลัน  ศ.ดร.ชิบาซากิได้ตีพิมพ์หนังสือหลายเล่ม เช่น International Cultural Relations in Modern Japan: History of Kokusai Bunka Shinkokai, 1934-45 (Yushindo, 1999) Self, State, and International Relations: Tomonaga Sanjuro, Immanuel Kant, and the naissance of the worldview in modern Japan (Sobunshya, 2009) และเล่มล่าสุด International Cultural Relations in Modern and Contemporary Japan: Towards a Study of Global Cultural Relations (Yushindo, 2020) ผลงานวิจัยล่าสุดของศ.ดร. ชิบาซากิคือ “What are Our ‘Common Challenge’ and ‘Shared Approach’?: A Theoretical Analysis of the Nature of ‘Japanese’ International Relations from the Perspective of International Cultural Relations ” (Kokusai Seiji (International Relations), 2020).
ดร. ซิน กู อาจารย์อาวุโสประจำสาขาสื่อ ภาพยนตร์ และวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยโมนาช ประเทศออสเตรเลียและผู้เชี่ยวชาญประจำองค์กรยูเนสโกภายใต้อนุสัญญายูเนสโก 2005ว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมความหลากหลายของการแสดงออกทางวัฒนธรรม

ดร. ซิน กู เป็นผู้เชี่ยวชาญประจำองค์กรยูเนสโกภายใต้อนุสัญญายูเนสโก 2005 ว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมการแสดงออกของความหลากหลายทางวัฒนธรรม (2019 – 2022) และยังดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการของหลักสูตรปริญญาโททางด้านวัฒนธรรมและอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ มหาวิทยาลัยโมแนส ประเทศออสเตรเลีย  ดร. ซิน กู ยังมีผลงานวิชาการตีพิมพ์หลากหลายในหัวข้อการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ในเขตเมือง ผู้ประกอบการทางวัฒนธรรมและงานสร้างสรรค์ นโยบายวัฒนธรรมและอุตสาหกรมสร้างสรรค์ ตลอดจนแนวคิดเรื่องการสร้างเมืองแห่งการสื่อสาร วัฒนธรรมของผู้ผลิตและวัฒนธรรมในโลกไซเบอร์ เป็นต้น   ดร. ซิน กู ยังทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆเพื่อริเริ่มนโยบายใหม่ๆ ในประเทศอังกฤษ จีน และอินโดนีเซีย เพื่อสนับสนุนและให้บริการแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ขนาดย่อม  ซึ่งงานโดยส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนเมืองและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ นอกจากนี้ งานวิจัยในปัจจุบันยังเป็นเรื่องเกี่ยวกับ เศรษฐกิจสร้างสรรค์ดิจิทัล กระบวนการประชาธิปไตยของความคิดสร้างสรรค์ผ่านการเปลี่ยนแปลงของระบบนิเวศสื่อดิจิทัล  ผลงานตีพิมพ์ล่าสุด เช่น Red Creatives (Intellect, 2020) และ Re-imagining Creative Cities in Twenty-First Century Asia (Palgrave Macmillan 2020)
รศ.ดร. กิตติ ประเสริฐสุข รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รศ.ดร. กิตติ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง รองอธิการบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ และอาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  สำเร็จการศึกษาปริญญาเอกทางด้านเอเชียศึกษาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ รศ.ดร. กิตติ เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันเอเชิยตะวันออกศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์  และได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการยุทธศาสตร์ของกระทรวงกลาโหม รวมทั้งเป็น 1 ในคณะกรรมการที่ปรึกษาของ เจแปนฟาวน์เดชั่น เอเชียเซ็นเตอร์  ประเทศญี่ปุ่น  นอกจากนี้ยังมีความเชี่ยวชาญทางด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  การเมืองและนโยบายต่างประเทศของญี่ปุ่น งานวิจัยในปัจจุบันคือ Soft Power in East Asian, US-Thailand Alliance และ ความสัมพันธ์ไทย – ญี่ปุ่น ในระดับท้องถิ่น เป็นต้น รศ.ดร. กิตติยังได้รับเชิญให้ไปบรรยายยังมหาวิทยาลัยในต่างประเทศหลายแห่ง เช่น มหาวิทยาลัยปักกิ่ง มหาวิทยาลัยยอนเซ มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย เป้นต้น นอกจากนี้ยังเป็นวิทยากรให้กับงานประชุมนานาชาติ เช่น Nikkei Forum, Beijing Forum Jeju Forum และงานประชุมที่มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย
รศ.ดร.ณัฐนันท์ คุณมาศ อาจารย์ผู้ได้รับรางวัลฌอง มอนเนต์, ผู้ประสานงานชุดรายวิชาฌอง มอนเนต์และผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาวิชายุโรปศึกษา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

รศ.ดร.ณัฐนันท์ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี (เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง) ทางด้านรัฐศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและภาษาเยอรมัน จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ หลังจากนั้นได้ศึกษาต่อ ระดับปริญญาโท ด้านการเมืองยุโรป ณ มหาวิทยาลัยลีดส์ ประเทศอังกฤษ โดยได้รับทุน Leed-ASEM Chevening Scholarship ใน (นโยบายสาธารณะของสหภาพยุโรป) และปริญญาเอกทางด้านการเมืองระหว่างประเทศ ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาวิชายุโรปศึกษา คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2016 รศ.ดร.ณัฐนันท์ ได้รับรางวัล “Jean Monnet Chair Professorship” จากคณะกรรมาธิการยุโรป สหภาพยุโรป เป็นคนไทยคนแรกและครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ได้รางวัลนี้ ผลงานวิจัยในปัจจุบัน เช่น การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศในยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศในกลุ่มยูโกสลาเวียเดิม งานวิจัยเรื่อง “Normative Power Europe” ตลอดจน งานวิจัยที่ได้รับทุนจากหน่วยงานของรัฐบาลไทย เช่น “การทูตนวัตกรรม” และ “การศึกษาเรื่องความมั่นคงระหว่างประเทศผ่านการทูตสาธารณะ : ยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศของไทยต่อสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป” เป็นต้น
ศ.ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ หัวหน้าคณะผู้บริหารและผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ Bangkok Art Biennale

ศ.ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีและโทจากมหาวิทยาลัยเอดินเบอระและได้ศึกษาต่อระดับปริญญาเอกด้านประวัติศาสตร์ศิลป์ ที่มหาวิทยาลัยคอร์แนล ศ.ดร.อภินันท์ ได้รับตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และปลัดกระทรวงวัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งในขณะนั้นเอง ได้เป้นภัณฑารักษ์ให้กับ Thai Pavilion (ศาลาของประเทศไทย) ครั้งแรก ในงาน เวนิส เบียนนา เล่ ครั้งที่ 50  ศ.ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ เป็นทั้งภัณฑารักษ์และผู้อำนวยการสร้างนิทรรศการระดับนานาชาติทั่วโลก ทั้งในเอเชีย ยุโรป อเมริกา และออสเตรเลีย เช่น Contemporary Art from Asia: Traditions/Tensions (Grey Art Gallery, Queen Museum of Art, and Asia Society Galleries, นิวยอร์ค 1996); Traces of Siamese Smile: Art + Faith + Politic + Love (2008) นิทรรศการเปิดของหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (หอศิลป์กรุงเทพฯ)  Thailand Eye (Saatchi  Gallery ลอนดอน และหอศิลปกรุงเทพฯ) ปัจจุบันเป็นกรรมการที่ Asian Cultural Council กรุงนิวยอร์ก; พิพิธภัณฑ์ โซโลมอน อาร์. กุกเกนไฮม์ กรุงนิวยอร์ก, หอศิลป์แห่งชาติสิงคโปร์, หอศิลปกรงุเทพฯ และ เป็นที่ปรึกษาของกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
ศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์ Artistic Director การประชุมนานาชาติทางศิลปะการแสดงแห่งกรุงเทพมหานคร (BIPAM)

ศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีและโทสาขาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เริ่มเป็นนักแสดงตั้งแต่ปี 2005 เคยร่วมงานกับกลุ่มละครหลากหลายจนได้มาฝึกฝนการแสดงแบบฟิสิคัลเธียเตอร์กับกลุ่มบีฟลอร์เธียเตอร์ จนได้เป็นสมาชิกหลักของกลุ่มบีฟลอร์ในปี 2009 เธอได้รับรางวัลการแสดงยอดเยี่ยมโดยศิลปินหญิงปี 2017 โดยชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง (IATC) จากการแสดงชุด โอ้!โอด ซึ่งต่อมาได้รับเชิญไปแสดงในเทศกาล Berliner Herbstsalon ครั้งที่ 4 ณ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Artistic Director ของการประชุมนานาชาติทางศิลปะการแสดงแห่งกรุงเทพมหานคร BIPAM) พร้อมกับเป็นศิลปินและผู้จัดการด้านศิลปะการแสดงอิสระ และเป็นผู้ก่อตั้งเครือข่ายโปรดิวเซอร์ศิลปะการแสดงไทยอีกด้วย
มาเร็น นีไมเออร์ ผู้อำนวยการสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย

คุณมาเร็นเกิดที่เมืองเบรเมน ปะเทศเยอรมนี จบการศึกษาจากคณะสื่อสารมวลชน ปรัชญาเยอรมันเเละทฤษฎีภาพยนตร์จากกรุงปารีสเเละกรุงเบอร์ลิน มีประสบการณ์ทำงานด้านสื่อสารมวลชน เช่น บรรณาธิการ ผู้กำกับภาพยนตร์สารคดี เเละผู้ผลิตรายการโทรทัศน์เเละวิทยุในประเทศเเละต่างประเทศให้เเก่ช่อง ARD ZDF DW-TV เเละช่องวัฒนธรรมระหว่างเยอรมันเเละฝรั่งเศส ARTE ในปี 2007 นอกจากนี้ยังผลิตผลงาน ARTE/ARD ซึ่งเป็นสารคดีชุดเกี่ยวกับเส้นทางท่องเที่ยวของกลุ่มฮิปปี้จากยุโรปมายังกาฐมาณฑุในช่วงปลายยุค 60 ต่อมาในปี 2008 ได้ผลิตผลงานซีรีย์เกี่ยวกับตำนานของการออกเเบบในเยอรมนีให้กับช่อง Deutsche Welle TV ซึ่งมีการนำไปเผยแพร่ให้รับชมทั่วโลกในระหว่างปี 2008-2009 และยังดำรงตำเเหน่งเป็นคณะกรรมการบรรณาธิการให้กับแผนกภาพยนตร์สารคดีของ NDR/ARTE จากนั้นในปี 2010-2016 จึงได้ดำรงตำเเหน่งผู้ประสานงานด้านการจัดโปรเเกรมงานในเเผนกภาพยนตร์ของสถาบันเกอเธ่ สำนักงานใหญ่ ณ กรุงมิวนิค และนับตั้งเเต่ปี 2016 เป็นต้นมา คุณมาเร็นดำรงตำเเหน่งผู้อำนวยการสถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย จนถึงปัจจุบัน
แอนดรูว์ กลาส ผู้อำนวยการบริติช เคานซิล ประเทศไทย

คุณแอนดรูว์ กลาสร่วมงานกับบริติช เคานซิลมาแล้วกว่า 30 ปี ก่อนย้ายมาประจำที่ประเทศไทย คุณแอนดรูว์เคยทำงานมาแล้วใน 8 ประเทศทั่วโลก เช่น สเปน อิตาลี สโลวีเนีย เยอรมนี สหราชอาณาจักร เซอร์เบีย/มอนเตเนโกร และคูเวต ตลอดการทำงานที่ผ่านมา คุณแอนดรูว์มีบทบาทในการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงบวก ด้วยมีความเชื่อมั่นว่าความสัมพันธ์ด้านศิลปวัฒนธรรมและการศึกษาจะเชื่อมโยงให้คนและประเทศต่างๆใกล้ชิดกันมากขึ้น ตลอดเวลา 3 ปีในฐานะผู้อำนวยการบริติช เคานซิล ประเทศไทย คุณแอนดรูว์ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับทั้งภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อขยายโอกาสให้ผู้คนผ่านการยกระดับความสามารถทางภาษาอังกฤษ ส่งเสริมให้การศึกษาระดับอุดมศึกษาและวิทยาศาสตร์มีมาตรฐานระดับสากล ตลอดจนสนับสนุนโครงการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ในประเทศไทย คุณแอนดรูว์สำเร็จการศึกษาระดับป.ตรีในสาขาการเมืองและภาษาเยอรมันจากมหาวิทยาลัยบริสตอล โดยระหว่างนั้น ได้ไปศึกษาที่มหาวิทยาลัยคอนสตานซ์ ประเทศเยอรมนีเป็นเวลาหนึ่งปี นอกจากนี้ยังสำเร็จการศึกษาระดับป.โทในสาขาการสอนภาษาอังกฤษและภาษาศาสตร์ประยุกต์จากมหาวิทยาลัยแอสตัน และระดับประกาศนียบัตรสาขาการบริหารจัดการจากสถาบันการจัดการเฮนลีย์ มหาวิทยาลัยเรดดิ้ง จากผลงานที่ผ่านมาทำให้คุณแอนดรูว์ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์แห่งจักรวรรดิอังกฤษระดับ OBE ในปี 2012
โยชิโอกะ โนริฮิโกะ ผู้อำนวยการบริหาร เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ประเทศไทย

หลังสำเร็จการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ วิทยาศาสตร์และศิลปะ ม.วาเซดะ  คุณโยชิโอกะเริ่มทำงานที่เจแปนฟาวน์เดชั่น โดยระหว่างปี 1999-2004  ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้อำนวยการ เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ บริหารจัดการโครงการและกิจกรรมทางด้านศิลปะ เช่น เทศกาลภาพยนต์ญี่ปุ่น นิทรรศการศิลปะ และการแสดง หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับป.โทสาขาการเงินและเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ จากคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2008 คุณโยชิโอกะ รับตำแหน่งรองผู้อำนวยการศูนย์แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมของเจแปนฟาวน์เดชั่น ประเทศเวียดนาม และในปี 2010-2014  จึงรับตำแหน่งรองผู้อำนวยการ ฝ่ายศิลปะ วัฒนธรรม และการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศ ประจำเจแปนฟาวน์เดชั่น เอเชียเซ็นเตอร์ กรุงโตเกียว จากนั้นตั้งแต่เดือนเม.ย. 2016 เป็นต้นมา คุณโยชิโอกะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการบริหาร เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ นอกจากนี้ยังเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อส่งเสริมโครงการ Cool Japan ของรัฐบาลญี่ปุ่น ระหว่างเดือนเม.ย. – ส.ค. 2014  ผลงานตีพิมพ์ ในฐานะนักแปล อาทิ “Zayu no Nippon” (เขียนถึงญี่ปุ่น) ปราบดา หยุ่น, ไต้ฝุ่น บุ๊กส์ เจแปน 2008; “Chikyu de Saigo no Futari” (เรื่องรัก น้อยนิด มหาศาล), ปราบดา หยุ่น, Sony Magazines 2004; (ร่วมเขียน) “Tonan Asia Bunka Jiten” [Lit. Encyclopedia on Southeast Asian Cultures], โนบุตะ โทชิฮิโระและคณะ, Maruzen 2019; “Asia Eiga” [Lit. Asian Films], โยโมตะ อินุฮิโกะและคณะ, Sakuhinsha 2003.

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม    acdept@ba.jpf.go.jp
จัดโดย เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
ร่วมกับ บริติช เคาน์ซิล ประเทศไทย สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย
และ หอศิลปและวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
ชั้น 10 อาคารเสริมมิตร ทาวเวอร์ 159 ถนนสุขุมวิท 21 กรุงเทพฯ 10110 Tel: 02-260-8560
Facebook: www.facebook.com/jfbangkok/
Website: https://ba.jpf.go.jp