เสวนาสาธารณะออนไลน์
ศิลปะกับสังคมสูงวัย: แนวปฏิบัติเชิงสร้างสรรค์
ในญี่ปุ่นและไทย
วัน-เวลา: | วันพุธที่ 16 มีนาคม 2565 (13.00 – 15.30 น. ตามเวลาประเทศไทย) | |||||||||||||
ช่องทางการรับชม: | YouTube Live (สามารถรับชมย้อนหลังได้) | |||||||||||||
ภาษา: | ภาษาญี่ปุ่น และ ภาษาไทย (มีล่ามแปลพร้อม) | |||||||||||||
กำหนดการ: |
|
|||||||||||||
ลงทะเบียน: | สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมผ่านลิงก์ https://bit.ly/3Lib5bN หรือ QR Code ผู้ลงทะเบียนจะได้รับลิงก์ถ่ายทอดสดผ่านทางอีเมลก่อนวันงาน 1 วัน |
ความเป็นมาและวัตถุประสงค์
ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่กำลังเข้าสู่สังคมสูงวัยเร็วที่สุดในโลก โดยพบว่ามากกว่าร้อยละ 35 ของจำนวนประชากรกำลังจะมีอายุเกิน 60 ปี และจะกลายเป็นสังคมสูงวัยระดับสุดยอดในปี พ.ศ. 2578 ในการนี้ เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ในฐานะองค์กรแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศ จึงมีความประสงค์จัดงานเสวนาออนไลน์ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้ได้พิจารณาถึง “บทบาทของศิลปะในการขับเคลื่อนสังคมสูงวัย” ที่ยังไม่เป็นที่ตระหนักถึงในประเทศไทยมากนัก โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรจากประเทศญี่ปุ่น คุณนาโอกิ ซูงาวาระ ผู้ร่วมก่อตั้งคณะผู้สูงวัยและการละคร OiBokkeshi ที่มีความคิดแปลกใหม่ในการนำการแสดงละครมาใช้ในการรับมือกับปัญหาสังคมสูงวัย มาร่วมพูดคุยเกี่ยวกับกิจกรรมและการดำเนินงานที่ได้ทำมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.เขมิกา ธีรพงษ์ จากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ซึ่งได้รับทุนจากบริติช เคานซิล ประเทศไทย เมื่อปีที่ผ่านมา เพื่อทำการวิจัยเรื่องการเข้าสู่วัยชราอย่างสร้างสรรค์ในประเทศไทย หรือ “Creative Ageing” มานำเสนอรายงานสถานการณ์ล่าสุดของประเทศไทยอีกด้วย ทางเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่ากิจกรรมนี้จะได้รับความสนใจจากทุกท่าน
ประวัติผู้บรรยาย
นาโอกิ ซูงาวาระ
ผู้ร่วมก่อตั้งคณะผู้สูงวัยและการละคร OiBokkeshi
(ภาพโดย คาซุกิ คูซากะ)
นาโอกิ ซูงาวะระ เกิดเมื่อปีพ.ศ. 2526 ที่เมืองอุตสึโนะมิยะ จังหวัดโทชิงิ จบการศึกษาด้านวัฒนธรรมศึกษา จากคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยโอบิลิน (J.F. Oberlin University) ในกรุงโตเกียว เป็นนักเขียนบท ผู้กำกับละครเวที นักแสดง ผู้บริบาล (Care worker) ผู้ร่วมก่อตั้งคณะ “ผู้สูงวัยและการละคร” OiBokkeShi และอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยชิโกกุ กะคุอิน และวิทยาลัยมิมาซากะ นาโอกิเริ่มทำงานเป็นผู้ดูแลที่ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่มีความต้องการพิเศษในปี พ.ศ. 2553 หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในภูมิภาคตะวันออกของประเทศญี่ปุ่นปี พ.ศ. 2555 ได้ย้ายไปที่จังหวัดโอคายามะ และจัดตั้งคณะ “ผู้สูงวัยและการละคร” OiBokkeShi ขึ้น เพื่อเผยแพร่การใช้การละครช่วยในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมผ่าน “เวิร์คชอปผู้สูงวัยและการละคร” ไปทั่วประเทศ นอกจากนี้ ยังได้รับเชิญไปร่วมแสดงในโปรเจ็คต่าง ๆ มากมาย อาทิ การแสดงละครเร่ “Night Never Gets Darker: Urawa Version” ที่จัดขึ้นโดยความร่วมมือของโรงละคร Saitama Gold Theater ในงาน World Gold Theater ปี พ.ศ. 2561 และโปรเจ็คศิลปะ OiBokkeShi x Mie Center for the Arts “Enjoying Care and Growing Old Cheerfully” ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2560 เป็นต้นมา เมื่อเดือนกันยายน ปี พ.ศ. 2564 นาโอกิได้เข้าร่วมโปรเจ็คระหว่างประเทศ 2 โปรเจ็ค คือ การร่วมกำกับผลงานชิ้นเอก “Night Never Gets Darker” ภาคภาษาอังกฤษ ในชื่อ “Theatre of Wandering” และกำกับการแสดง “The Home: Online” ของคริสโตเฟอร์ กรีน ภาคภาษาญี่ปุ่น (จัดโดย เจแปนฟาวน์เดชั่น และ Saitama Arts Foundation) ในปี พ.ศ. 2561 นาโอกิได้รับรางวัลศิลปินหน้าใหม่ รางวัลส่งเสริมศิลปะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ วัฒนธรรม กีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 69 และรางวัล Semi – Grand Award รางวัลศิลปะวัฒนธรรมจังหวัดโอคายามะ ครั้งที่ 20 ได้รับรางวัลดีเด่นด้านวัฒนธรรมจากเมืองนางิ และในปี พ.ศ. 2562 ได้รับรางวัลการศึกษาและวัฒนธรรมเมืองฟูกุทาเกะ ครั้งที่ 1
ประวัติผู้นำเสนอรายงาน
ผศ.ดร.เขมิกา ธีรพงษ์
อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ปัจจุบัน ผศ.ดร.เขมิกา ธีรพงษ์ ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ด้านการออกแบบที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านการออกแบบนิเทศศิลป์ (Visual Communication Design) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร และปริญญาโทด้าน Graphic Design จาก University of the Arts London จากนั้นได้เข้าศึกษาต่อและจบการศึกษาระดับปริญญาเอกด้าน Creative Media จากมหาวิทยาลัย Royal Melbourne Institute of Technology ประเทศออสเตรเลีย และเวลามากกว่าห้าปีที่ ผศ.ดร.เขมิกาได้มีส่วนร่วมในงานวิจัยเกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่สร้างสรรค์ในหลากหลายสาขา รวมถึง โครงการย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative District) เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) การวิจัยการออกแบบอย่างมีส่วนร่วม และการออกแบบทางสังคมในระดับนานาชาติ ผศ.ดร.เขมิกายังได้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยระดับนานาชาติด้านการออกแบบนวัตกรรมทางสังคมในประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศออสเตรเลีย ประเทศญี่ปุ่น และสหราชอาณาจักรอีกด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม: acdept@ba.jpf.go.jp
จัดโดย: เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
ร่วมจัดโดย: บริติช เคานซิล ประเทศไทย และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
สนับสนุนโดย: สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และ สมาคมญี่ปุ่นในประเทศไทย
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
ชั้น 10 อาคารเสริมมิตร ทาวเวอร์ 159 ถนนสุขุมวิท 21
กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์: 02-260-8560-4
Facebook: www.facebook.com/jfbangkok/
เว็บไซต์: https://ba.jpf.go.jp