ยากิชิเมะ – ปั้นดิน เปลี่ยนโลก

นิทรรศการสัญจร
ยากิชิเมะ – ปั้นดิน เปลี่ยนโลก

    กรุงเทพ
    [ระยะเวลา]ศุกร์ที่ 25 สิงหาคม – อังคารที่ 26 กันยายน 2566
    [จำนวนผู้เข้าชม]1,221 คน
    [สถานที่จัด]ห้องนิทรรศการ 5 ชั้น 2, หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน
    
    ขอนแก่น
    [ระยะเวลา]เสาร์ที่ 7 ตุลาคม – อาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน 2566
    [จำนวนผู้เข้าชม]368 คน
    [สถานที่จัด]หอศิลป์คณะศิลปกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น

เครื่องปั้นดินเผาสุเอกิ, แจกันปากกว้าง,
สมัยเฮอัน

เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม และคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความยินดีที่ร่วมจัดนิทรรศการสัญจร “ยากิชิเมะ – ปั้นดิน เปลี่ยนโลก”

นิทรรศการนี้กำกับโดยคุณมิเอโกะ อิวาอิ จากพิพิธภัณฑ์พานาโซนิค ชิโอโดเมะ และนำเสนอยากิชิเมะ เทคนิคผลิตเครื่องปั้นดินเผาแบบดั้งเดิมที่สุดในการเผาภาชนะที่ไม่ผ่านการเคลือบด้วยอุณหภูมิสูงในญี่ปุ่น และกรรมวิธีดังกล่าวพัฒนาผ่านกาลเวลาในทิศทางโดดเด่นหลากหลาย นิทรรศการนี้จะถ่ายทอดความลึกซึ้งของวัฒนธรรมญี่ปุ่นโดยการพิจารณายากิชิเมะตั้งแต่ชิ้นงานในยุคแรกสุดไปจนถึงชิ้นงานร่วมสมัย

แม้ว่าการผลิตยากิชิเมะจะเรียบง่ายโดยเริ่มจากการปั้นดินเหนียวและการเผา กรรมวิธีพื้นฐานที่สุดนี่เองที่ทำให้เห็นได้ชัดว่ามีเอกลักษณ์ไม่เหมือนใคร แทนที่จะใช้การเคลือบเพื่อตกแต่งและทำให้มีพื้นผิวที่กันน้ำ เครื่องปั้นดินเผายากิชิเมะจะถูกเผาที่อุณหภูมิสูงประมาณ 1,200-1,300 องศา เพื่อให้ดินเหนียวจับตัวกันแน่นจนกลายเป็นแก้วและสามารถกันน้ำได้ ขนบการผลิตยากิชิเมะยังคงสืบทอดกันมาอย่างไม่ขาดสายตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ว่ากันว่าเครื่องปั้นดินเผายากิชิเมะที่เป็นที่รู้จักในยุคแรกเริ่มสุดนั้นมีอายุย้อนไปถึงศตวรรษที่ 4 หรือ 5 กันเลยทีเดียว แต่เทคนิคดังกล่าวได้ถูกวางรากฐานอย่างชัดเจนในช่วงศตวรรษที่ 12 ถึงศตวรรษที่ 17 จากนั้น ยากิชิเมะถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในศูนย์กลางการผลิตเครื่องปั้นดินเผาที่สำคัญในญี่ปุ่น เช่น บิเซ็น, ชิงารากิ, และโทโกนาเมะ

โทคุมารุ เคียวโกะ
“ชูคุซุยจิมะ – เกาะวารีอวยพร” 2015

ในปัจจุบันนี้ เราอาจจะคุ้นเคยกับภาชนะเครื่องปั้นดินเผาที่ใช้สำหรับพิธีชงชาและการเสิร์ฟมื้ออาหารญี่ปุ่นไคเซกิหรือแม้แต่อาหารญี่ปุ่นทั่วไป อย่างไรก็ตาม เคยสงสัยหรือไม่ว่าทำไมภาชนะเครื่องปั้นดินเผาเหล่านั้นจึงเกิดขึ้นและมีบทบาทในวัฒนธรรมญี่ปุ่นหลายแง่มุม คำตอบของคำถามนี้อยู่ในนิทรรศการ “ยากิชิเมะ: ปั้นดินเปลี่ยนโลก” ซึ่งจะจัดแสดงเครื่องปั้นดินเผามากกว่า 90 รายการ โดยนิทรรศการได้แบ่งออกเป็นส่วนของบทนำและสามส่วนหลักได้แก่

ส่วนที่ 1: ยากิชิเมะในฐานะเครื่องถ้วยชา: เครื่องปั้นดินเผายากิชิเมะในฐานะเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของญี่ปุ่นได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่และได้เป็นจุดเริ่มต้นของการทำเครื่องถ้วยชาตั้งแต่สมัยโมโมะยามะ

ส่วนที่ 2: วาโชกุและยากิชิเมะ: ยากิชิเมะเป็นภาชนะที่ไม่ได้เพียงใช้เสิร์ฟอาหารญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังเป็นส่วนสำคัญของจิตวิญญาณของอาหารญี่ปุ่นที่เรียกว่าวาโชกุด้วย

ส่วนที่ 3: ยากิชิมะในฐานะศิลปวัตถุ: ยากิชิเมะกำลังก้าวไปในทิศทางใหม่ในฐานะศิลปวัตถุที่เป็นอิสระจากข้อจำกัดทางด้านอรรถประโยชน์ในระหว่างที่ยังคงพัฒนาในฐานะภาชนะที่ใช้ในชีวิตประจำวันและเครื่องถ้วยชา

เราหวังว่านิทรรศการ “ยากิชิเมะ – ปั้นดิน เปลี่ยนโลก จะมอบโอกาสอันดีสำหรับผู้เข้าชมในการสัมผัสประสบการณ์ชมเครื่องถ้วยยากิชิเมะที่หลากหลาย และยังได้พลันตระหนักถึงความลึกซึ้งและความหลากหลายของวัฒนธรรมญี่ปุ่น ตลอดจนรับรู้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความคิดสร้างสรรค์เหล่านั้นซึ่งก้าวผ่านขีดจำกัดของกาลเวลา

ส่วนที่ 1: ยากิชิเมะในฐานะเครื่องถ้วยชา

คาคุเรซากิ ริวอิจิ
ถ้วยชา, แบบบิเซ็น
2014
คาเนชิเกะ โทโย
ไหน้ำสองหูหิ้ว, แบบบิเซ็น  
1955
อิจิโนะ มาซาฮิโกะ
กล่องชาแบบมีฝาปิด, แบบทัมบะ
2015

ส่วนที่ 2: วาโชกุและยากิชิเมะ

ชิมิสึ มายุมิ
ชามและแก้ว
2015
นิไคโด อากิฮิโระ
ชามข้าว
2015
ฟุจิวาระ เคอิ
ถ้วยสาเกและไหสาเกเคลือบ
โยเฮ็น แบบบิเซ็น

1965-74

ส่วนที่ 3: ยากิชิมะในฐานะศิลปวัตถุ

อิโต เซกิซุอิ รุ่นที่ 5
ไหขนาดใหญ่เคลือบโยเฮ็น, แบบมุเมียวอิ
ไม่ปรากฏสมัย
ชิมามุระ ฮิคารุ
กระถางธูป “ริว อิซเซอิ”, แบบบิเซ็น
2014
สึจิ เซอิเมอิ
จานเคลือบโยเฮ็น, แบบชิการาคิ
ไม่ปรากฏสมัย

ร่วมจัดโดย:

สนับสนุนโดย:

ภาพถ่ายพิธีเปิดงานนิทรรศการ
“ยากิชิเมะ – ปั้นดิน เปลี่ยนโลก”
วันพฤหัสบดีที่ 24 มีนาคม 2566
ศูนย์วัฒนธรรมอาเซียน ชั้น 3
หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน

ภาพถ่ายการติดตั้งงานนิทรรศการ

ภาพถ่ายพิธีเปิดงานนิทรรศการ
“ยากิชิเมะ – ปั้นดิน เปลี่ยนโลก”
วันศุกร์ที่ 6 ตุลาคม 2566
หอศิลป์คณะศิลปกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ภาพถ่ายการติดตั้งงานนิทรรศการ