นิทรรศการสัญจร “โยไคพาเหรด : ขบวนภูตพิศวงจากญี่ปุ่น”

นิทรรศการสัญจร
โยไคพาเหรด : ขบวนภูตพิศวงจากญี่ปุ่น

     
 

กรุงเทพฯ

 
  ระยะเวลา วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน – วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม 2567 I  10.30 น. – 19.00 น.
(หยุดทุกวันจันทร์)
  จำนวนผู้เข้าชม 13,124 คน
  สถานที่ ห้องแกลอรี่ชั้น 1 TCDC กรุงเทพฯ
อาคารไปรษณีย์กลาง, 1160 ถนนเจริญกรุง,
บางรัก กรุงเทพฯ 10500
 

ขอนแก่น

 
  ระยะเวลา วันพุธที่ 7 สิงหาคม – วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน 2567 | 10.30 -19.00 น.
(หยุดทุกวันจันทร์)
  จำนวนผู้เข้าชม 2,562 คน
  สถานที่ ห้องแกลอรี่ชั้น 1 TCDC ขอนแก่น
123 ถนน มิตรภาพ อำเภอเมือง
ขอนแก่น 40002

เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ มีความยินดีอย่างยิ่งในการร่วมจัดงานนิทรรศการ “โยไคพาเหรด : ขบวนภูตพิศวงจากญี่ปุ่น” คัดสรรโดย ยุโมโตะ โคอิจิ (ผู้อำนวยการเกียรติคุณ แห่งพิพิธภัณฑ์มิโยชิ โมโนโนเกะ พิพิธภัณฑ์โยไคที่สร้างเพื่อเป็นเกียรติแก่ยุโมโตะ โคอิจิ) เพื่อเผยแพร่ความรู้ที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมโยไค

โยไค คือภูตญี่ปุ่นในจินตนาการที่น่าดึงดูดและได้อยู่ในห้วงความคิดและจินตนาการของชาวญี่ปุ่นมานานหลายศตวรรษ สามารถเห็นได้จากหลักฐานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นภาพม้วนดั้งเดิม นิชิกิ-เอะ (ภาพพิมพ์สอดสี) ของเล่น และภาพยนตร์

ภาพม้วนโยไค 5 ตน สมัยเอโดะ

โยไค เป็นส่วนหนึ่งของนิทานพื้นบ้านญี่ปุ่นมายาวนาน เป็นสิ่งที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติและทำให้รู้สึกถึงความเร้นลับ ความน่าตระหนกและความกลัว อย่างไรก็ตาม เมื่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนำความเปลี่ยนแปลงหลายด้านมาสู่ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนในสังคม โยไคเองก็เปลี่ยนจากสิ่งที่ถูกมองว่าน่าสะพรึงกลัวไปสู่สิ่งที่มีเสน่ห์และเป็นมิตรกับมนุษย์มากขึ้น ในปัจจุบัน เราสามารถสัมผัสถึงความเป็นที่นิยมของโยไคได้อย่างชัดเจน และปฏิเสธไม่ได้ว่าโยไคได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่ทรงคุณค่าไม่เพียงแต่กับชาวญี่ปุ่นแต่ยังเป็นสิ่งที่ผู้คนทั่วโลกให้ความสนใจอีกด้วย

นิทรรศการนี้เชื้อเชิญให้ทุกท่านได้เข้ามาสัมผัสประสบการณ์และเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมโยไคที่ก้าวผ่านพรมแดนและเป็นที่จับใจของผู้คนทั่วโลกจากความมีเสน่ห์อันไร้ข้อจำกัดด้านกาลเวลาเป็นที่สังเกตได้ว่าเหล่าภูตพิศวงเหล่านี้ได้พิสูจน์ถึงความยืนหยัดของตนเองอันสอดคล้องเชื่อมโยงกับญี่ปุ่นในยุคปัจจุบันอันสะท้อนผ่านแง่มุมต่างๆนานา อาทิ ด้านความคิดความเชื่อรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคม ไม่ว่าท่านจะเป็นแฟนนิทานพื้นบ้านของญี่ปุ่นหรือหลงใหลในเหล่าโยไค นิทรรศการ “โยไคพาเหรด : ขบวนภูตพิศวงจากญี่ปุ่น” จะนำพาทุกท่านร่วมเดินทางค้นหาแก่นมรดกทางวัฒนธรรมของญี่ปุ่นผ่านขบวนภูตพิศวงที่น่าตื่นตาตื่นใจนี้ไปพร้อมกัน

ภาพม้วนขบวนราตรีร้อยอสูร, สมัยเอโดะ /2020, ภาพม้วน (จำลอง)

ทั้งนี้ นิทรรรศการนี้จะแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1 : โลกอันตระการตาของภาพม้วนโยไค
นิทรรศการส่วนนี้จัดแสดงภาพม้วนโยไค ที่หลากชนิดในสมัยเอโดะ ชิ้นงานที่โดดเด่น คือ ภาพม้วนขบวนราตรีร้อยอสูร หรือ เฮียกกิ ยาเกียว เอมากิ ที่ดึงดูดความสนใจผู้คนทั่วโลก นอกจากนี้ยังนำเสนอผลงานที่หลากหลาย เช่น ภาพวาดโยไคที่ดูขบขันอันแสดงท่าทางเสมือนราวกับเป็นมนุษย์ หรือหนังสือภาพสารานุกรมที่แจกแจงโยไคแต่ละประเภทโดยสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการได้รับความนิยมที่กว้างขวางของภาพม้วนโยไคในสมัยนั้น

ภาพสึจิกุโมะจูโจม, อุตางาวะ คุนิโยชิ, สมัยเอโดะ

ส่วนที่ 2 : โลกที่เปี่ยมด้วยสีสันสดใสของเหล่าโยไค ส่วนนี้เป็นการมองผลกระทบของการเกิดภาพพิมพ์ไม้หลากสีที่มีต่อวัฒนธรรมโยไคโดยพัฒนาการภาพพิมพ์ไม้นี้ส่งผลให้ ไม่เพียงแต่การผลิตผลซ้ำของงานโยไคจะสามารถเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้นและราคาก็สามารถจับต้องได้ แต่ยังทำให้ผู้คนมีความคุ้นเคยกับโยไคมากขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิด นิชิกิ เอะ หรือภาพสอดสีทำให้เกิดอุปสงค์เพิ่มมากขึ้นและต้องการเนื้อหาที่หลากหลายขึ้น จนทำให้โยไค มีความใกล้ชิดกับผู้คนมากขึ้น

ส่วนที่ 3 : โยไคและเกม
เนื่องจากความนิยมที่เพิ่มมากขึ้นของโยไคในด้านงานพิมพ์ทำให้ช่องว่างระหว่างโยไคและผู้คนแคบลง คนรู้สึกเกรงกลัวโยไคน้อยลงและยังพัฒนาความรู้สึกใกล้ชิดหรือแม้กระทั่งความรักความเอ็นดูต่อโยไค ส่วนนี้จะชี้ให้เห็นถึงการกำเนิดโยไคที่ดูค่อนข้างเป็นมิตร ที่สามารถเห็นได้ผ่านเกมและของเล่นญี่ปุ่นต่างๆ นานา

รวมสารพัดภูตซุกซน ฉบับใหม่, ฮาเซงาวา โคโนบุ, สมัยเอโดะเป็นต้นไป
อามาบิโกะ, สมัยเอโดะ
ภาพวาดบนกระดาษ (จำลอง)

ส่วนที่ 4 : โยไคที่สืบทอดต่อมาในยุคปัจจุบัน
สมัยเมจิ โยไคกลายมาเป็นศาสตร์วิชาที่เป็นระบบโดยอิโนะอุเอะ เอ็นเรียว นักพุทธปรัชญาได้ก่อตั้ง “โยไคศึกษา” และยานางิตะ คุนิโอะ นักคติชนวิทยา ได้ศึกษาโยไคอย่างลึกซึ้งมากขึ้นผ่านความเชื่อและความคิดของชาวญี่ปุ่นและสภาพแวดล้อมที่อยู่เบื้องหลังของการสร้างสรรค์นั้น ถึงแม้ว่าวัฒนธรรมโยไคจะห่างหายไปช่วงเวลาหนึ่งในยุคสงคราม นิทรรศการส่วนสุดท้ายนี้จะแสดงให้เห็นถึงพลวัตรความนิยมของโยไค ที่เราสามารถเห็นได้จากของเล่นสะสมที่และภาพปรากฎที่ไม่ได้ดูน่ากลัวอีกต่อไปในมังงะ เอนิเมะ เกมต่าง ๆ ทั้งในญี่ปุ่น และการแพร่ขยายไปยังประเทศอื่น ๆ

เราหวังว่านิทรรศการนี้จะสร้างโอกาสให้ผู้เยี่ยมชมทุกท่านได้ร่วมค้นพบและเรียนรู้เข้าใจถึงการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมโยไค ที่มีความเชื่อมโยงแน่นแฟ้นและส่งอิทธิพลต่อศิลปวัฒนธรรมและสังคมญี่ปุ่นที่ข้ามผ่านกาลเวลามาจนถึงปัจจุบัน


รูปภาพประชาสัมพันธ์
ส่วนที่ 1 : โลกอันตระการตาของภาพม้วนโยไค

ภาพม้วนขบวนราตรีร้อยอสูร, สมัยเอโดะ / 2020, ภาพม้วน (จำลอง)
ภาพม้วนรวมสารพัดโยไค สมัยเอโดะ / 2020, ภาพม้วน (จำลอง)

ส่วนที่ 2 : โลกที่เปี่ยมด้วยสีสันสดใสของเหล่าโยไค

ภาพโยไคปรากฎตัวในฝันของอดีตจักรพรรดิโกะโทบะ
ชูไซ1865/2020
ภาพพิมพ์ไม้สี (จำลอง)
ตะกร้าหนัก (ภาพชุดสามสิบหกภูตรูปแบบใหม่)
สึกิโอกะ โยชิโทชิ 1892/2020
ภาพพิมพ์ไม้สี (จำลอง)
นิทานความฝันของโออิชิ เฮียวโรคุ
สมัยเอโดะ
หนังสือเล่มแบบญี่ปุ่น (จำลอง)

ส่วนที่ 3 : โยไคและเกม

ถนนสายโยไค 53 สถานี
โทโยฮาระ คุนิจิกะ
1866
ภาพพิมพ์ไม้สี
เมนโกะ โยไค (แบบเหลี่ยม)
สมัยโชวะ
การ์ด
เมนโกะ โยไค (แบบเหลี่ยม)
สมัยโชวะ
การ์ด

ส่วนที่ 4 : โยไคที่สืบทอดต่อมาในยุคปัจจุบัน                                                                                                    

หนังสือพิมพ์โอซาก้ารายวัน – หมายเลข 13
ฮาเซงาวะ ซาดะโนบุ รุ่นที่ 2 สมัยเมจิ
ภาพพิมพ์ไม้สี (จำลอง)
อามาบิเอะ ภูตจากท้องทะเลแคว้นฮิโกะ
1846/2020
ภาพวาดบนกระดาษ (จำลอง)
นางเต่า
สมัยเอโดะ
ภาพพิมพ์ไม้สี (จำลอง)

ร่วมจัดโดย:

สนับสนุนโดย:

พิธีเปิดนิทรรศการโยไคพาเหรด ขบวนภูตพิศวงจากญี่ปุ่น
วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2567
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ กรุงเทพฯ

ภาพเอื้อเฟื้อ โดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) กรุงเทพฯ

พิธีเปิดนิทรรศการโยไคพาเหรด ขบวนภูตพิศวงจากญี่ปุ่น
วันอังคารที่ 6 สิงหาคม 2567
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ขอนแก่น

ภาพเอื้อเฟื้อ โดย สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ขอนแก่น