The Rite of Spring: Concert and Dance

The Rite of Spring Concert and Dance

     
  [วันเวลา] 24 – 25 มิถุนายน 2567 | 19:30
  [ลงทะเบียน] ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ https://www.eventpop.me/s/theriteofspring
ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าชม
  [สถานที่] หอประชุมเล็กศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
[ผู้เข้าชม]   
วันจันทร์ที่ 24 มิถุนายน 2567 จำนวน 240 คน
วันอังคารที่ 25 มิถุนายน 2567 จำนวน 262 คน
รวมทั้งสิ้น 502 คน


The Rite of Spring Concert and Dance กำกับการแสดงโดยพิเชษฐ กลั่นชื่น เป็นการแสดงร่วมกันระหว่างนักเปียโนชาวญี่ปุ่น ทามาโยะ อิเคดะ และ นักเปียโนชาวฝรั่งเศสเกวนดัล กิเกอเลย์ พร้อมกับคณะพิเชษฐ กลั่นชื่น แดนซ์คอมพานี โครงการนี้ร่วมจัดโดยคณะพิเชษฐ กลั่นชื่น แดนซ์คอมพานี, สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย, เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพ ฯ, สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย และ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัท สยามดนตรียามาฮ่า, แม่โขง และ โก๋แก่ โดยมี บ้านและสวน เป็น มีเดียพาร์ทเนอร์    

งานนี้เริ่มต้นด้วยการแสดงหนังใหญ่และโขนของไทย ตามด้วยการแสดงเปียโนชิ้นเอกของญี่ปุ่นและฝรั่งเศส และจบด้วยการแสดงการเต้นร่วมสมัยที่ได้รับแรงบันดาลใจจากผลงานชื่อ The Rite of Spring  โดยการเต้นนี้ถูกกำกับโดย พิเชษฐ กลั่นชื่น

โขน เป็นประเพณีการแสดงศิลปะของไทยที่มีการสวมหน้ากาก รวมองค์ประกอบดนตรี การร้อง วรรณกรรม การเต้น พิธีกรรม และงานช่างฝีมือเข้าด้วยกัน การแสดงโขนเป็นที่ได้รับการยกย่องจากการเคลื่อนไหวที่งดงามอ่อนช้อย การร้องที่มีความเชี่ยวชาญ ดนตรี และเครื่องแต่งกายที่สง่างาม การแสดงโขนได้มีการเล่าเรื่องราวจากในเรื่อง รามายณะเป็นเรื่องราวของพระราม ร่างอวตารของวิษณุ ผู้ที่นำความเรียบร้อยและความยุติธรรมมาสู่โลก  ซึ่งหลายตอนได้มีการเล่าเรื่องราวชีวิตของพระราม รวมถึงการเดินทางของพระรามฝ่าป่าดงพงไพร กองทัพลิงของพระราม และการต่อสู้กับกองทัพของราชาปีศาจทศกัณฐ์ โดยประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณีวิถีแบบดั้งเดิมแล้ว โขนจะแสดงในราชสำนักและราชวงศ์เท่านั้นโดยนักเต้นไทยดั้งเดิมระดับผู้เชี่ยวชาญ

ทาเคมิทสึ นักประพันธ์เพลงผู้เรียนรู้ด้วยตนเอง เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1930 ที่โตเกียว ได้รับการค้นพบโดยอีกอร์ สตราวินสกีในช่วงที่เขามาที่ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นผู้ช่วยให้เขาได้รับการยอมรับจากทั่วโลก  ในช่วงเวลาที่พบเขาที่ชิคาโก้ ทาเคมิทสึได้พบภาพวาด ‘Les Yeux Clos  ของศิลปินฝรั่งเศส ออดีลอง เรดอง ซึ่งได้เป็นแรงบันดาลใจให้เขาแต่งเพลงชิ้นหนึ่งโดยใช้ชื่อเดียวกัน ซึ่งสร้างความทรงจำถึงการรวมกันของแนวความคิดเกี่ยวกับเวลาและพื้นที่ ที่แปลงเป็นภาษาญี่ปุ่นด้วยคำว่า ‘MA’

Epigraphes Antiques ของโกลด เดอบูว์ซี เป็นเพลงเปียโนแบบสี่มือ หกชิ้น ที่แต่งขึ้นระหว่างเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1914 และค.ศ. 1915 โดยตั้งใจที่จะใช้เป็นเพลงชุดสำหรับวงออร์เคสตรา การเขียนเพลงสำหรับเปียโนนี้ทำให้นึกถึงเสียงขลุ่ย พิณ และครอทาล (ฉาบโบราณ) เดอบูซีเล่นกับโทนเสียงที่คลุมเครือ ทำให้รู้สึกถึงความไม่ค่อยชัดเจนของโทนเสียง

The Triumph of Bacchus ของเดอบูว์ซี ถูกประพันธ์ขึ้นตอนต้นปี 1882 เมื่อสมัยเขายังเป็นนักเรียน และผลงานชิ้นนี้ได้รับแรงบันดาลใจจากบทกวีฝรั่งเศส โน้ตดนตรีชุดนี้ถูกระบุว่าเป็น Orchestral suites (ออร์เคสตราลสวีต) หรือ ชุดดนตรีสำหรับวงออร์เคสตรา ถึงแม้ว่าผลงานที่มีหลงเหลืออยู่ จะเป็นเวอร์ชันเปียโนสี่มือโดยผู้ประพันธ์เองเท่านั้น

The Rite of Spring เป็นผลงานบัลเลต์ที่ประพันธ์โดยอิกอร์ สตราวินสกี ผลงานนี้ถูกมองว่าเป็นพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ที่บอกเล่าเกี่ยวกับชุมชนที่เสียสละหญิงสาวเพื่อเทิดทูนความศักดิ์สิทธิ์ของฤดูใบไม้ผลิ  ถือเป็นผลงานแห่งยุคสมัยใหม่ชิ้นสำคัญทั้งด้านการเต้นและการดนตรี

โปรแกรมการแสดง
หนังใหญ่และโขน 
T. Takemitsu – Les Yeux Clos (1979 การแสดงเปียโนแบบเดี่ยว)
C. Debussy – 6 Epigraphes Antiques (1914-1915 สำหรับการแสดงเปียโนแบบสี่มือ)
C. Debussy – Le Triomphe de Bacchus (1882 สำหรับการแสดงเปียโนแบบสี่มือ)

พักครึ่ง

I. สตราวินสกี – The Rite of Spring (1913 เวอร์ชั่นเปียโนแบบสี่มือ) (38 นาที)
    I. Adoration of the Earth
    II. The Sacrifice

นักเปียโน:

โทมาโยะ อิเคดะ

เกิดในปีค.ศ. 1971 ที่ประเทศญี่ปุ่น โทมาโยะ อิเคดะ เริ่มเรียนดนตรีตั้งแต่อายุสามขวบ เธอเข้าเรียนที่ Toho Gakuen ในโตเกียวก่อนที่จะได้รับการตอบรับเข้าเรียนที่ Conservatoire National Supérieur de Musique ที่ปารีสในปีค.ศ. 1989 เธอได้รับรางวัลที่หนึ่งในสาขาเปียโนและดนตรีเชมเบอร์ก่อนที่จะเข้าสู่ระดับชั้นสูง เธอได้รับทุนการศึกษาจาก A.P.E.F. และ Société Générale และได้เรียนรู้จากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ เช่น Dimitri Bashkirov, Halina Czerny-Stefanska, Léon Fleisher และ Maria Joao Pirès

การแสดงที่น่าหลงใหลของเธอทำให้เธอได้รับรางวัลอันดับสองและรางวัลพิเศษ Special Claude Debussy Prize ที่การแข่งขัน Yvonne Lefébure International Competition (ไม่มีการมอบรางวัลที่หนึ่ง) รางวัลพิเศษ (Claude Debussy) ที่การแข่งขัน Porto International Competition และรางวัลที่หนึ่งที่การแข่งขัน Francis Poulenc International Competition ในปีค.ศ. 1999 (และรางวัลพิเศษ Casadessus)

โทมาโยะ อิเคดะ เคยแสดงในยุโรป นอร์เวย์ ฟินแลนด์ ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ และสหรัฐอเมริกา ในสถานที่มีชื่อเสียง เช่น Hamarikyu Hall (โตเกียว) และ Carnegie Hall (นิวยอร์ก) เธอปรากฏตัวเป็นประจำในสถานีวิทยุ France-Musique และร่วมงานกับศิลปินเดี่ยวและวาทยกรที่มีชื่อเสียงเช่น Gérard Poulet, Régis Pasquier, Roland Daugareil, Naoto Otomo, Dominique de Williencourt ฯลฯ

ผลงานเพลงของเธอนั้น มีทั้งการบันทึกผลงานของ Poulenc และ Fauré เธอยังได้บันทึกดีวีดีที่อุทิศให้กับผลงานของ Ravel และ ผลงานของ Stravinsky สำหรับเปียโนสี่มือ ร่วมเล่นกับ Duo YKEDA ซึ่งเธอเคยได้บันทึกซีดี Schubert (Warner Music) ร่วมกัน และออกเผยแพร่ในเดือนมิถุนายน 2009  อีกทั้งยังมี Piano Dance disc (Harmonia Mundi) ที่ออกในปีค.ศ. 2015 ซึ่งได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์ ผลงานของเธอที่อุทิศให้กับ Schubert-Liszt ที่ออกในปลายปีค.ศ. 2022 ได้รับการยกย่องจากนักวิจารณ์และได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในซีดีที่ดีที่สุดของปีในแคนาดาโดยนิตยสาร Textura เธอได้บันทึกเพลง Fauré Chopin โดยเปียโน Pleyel ที่มีกลไกดับเบิลเอสเคปเมนต์จากคอลเล็กชัน Balleron ที่บูรณะโดย Sylvie Fouanon ซึ่งจะออกเผยแพร่ในปี ค.ศ. 2024

โทมาโยะยังเป็นผู้ก่อตั้งเทศกาล Festiv’ des Musiques of the Entre-Deux-Mers ในเมืองฌีรงด์ และในโยโกฮามาที่ญี่ปุ่น  (2006) และดูแลกำกับศิลป์สำหรับมูลนิธิ Honganji Cercle Âme du Japon foundation (เกียวโต) เธอสอนที่ École Normale de Musique ในปารีส และเป็นกรรมการตัดสินในหลายการแข่งขันนานาชาติ ผู้ถือใบรับรอง Certificate of Aptitude ปัจจุบันเธอสอนอยู่ที่โรงเรียนดนตรีของเมืองปารีส

เกวนดัล กิเกอเลย์

เกวนดัล กิเกอเลย์ เป็นนักเปียโนที่มีเชื้อสายเบรอตง ได้รับการฝึกฝนที่โรงเรียนสอนดนตรีของเมืองปารีส ลียง และแรนส์ เขาได้รับรางวัล Scaramuzza Prize ที่การแข่งขัน Les Corts ในบาร์เซโลนา (2008) และรางวัล Musiciens entre guerre et paix ที่ Académie Ravel ใน แซ็ง-ฌอง-เดอ-ลูซ (2010) เขาทำการแสดงเดี่ยวในฝรั่งเศสและต่างประเทศ และได้บันทึก 24 Études opus 10 และ 25 โดยโชแปง ให้กับค่าย BY Classique (2022)

เกวนดัล เป็นนักดนตรีเชมเบอร์ที่น่าสนใจและยังได้ร่วมงานกับนักเชลโลที่ชื่อ Louis Rodde ซึ่งเขาได้บันทึกซีดี Sonates (Fauré, Ropartz) ร่วมกัน และออกเผยแพร่โดยค่าย NoMadMusic (2016)

เกวนดัล เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการด้นสด เขามักจะเล่นเปียโนประกอบภาพยนตร์เงียบ และยังเข้าร่วมในกิจกรรมศิลปะต่าง ๆ เช่นการแสดงคอนเสิร์ตหนังสือการ์ตูน การแสดงที่ Venice Biennale หรือแม้แต่ภาพยนตร์ เขาได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในภาพยนตร์ Noces โดย Philippe Béziat (2011) อีกด้วย

เกวนดัล ยังเป็นที่รู้จักในโลกของการเต้น เขาได้ร่วมงานกับหลายคอมพานีและสถาบัน เช่น Paris Opera Ballet, Alvin Ailey American Dance Theater หรือ Centre National de la Danse

เกวนดัล จบการศึกษาปริญญาโทด้านการเรียนการสอน เขาสอนการเล่นเปียโน และมักจะได้รับเชิญเป็นผู้สอนในเอเชียและแอฟริกา ในปีค.ศ. 2016 เขาได้รับรางวัล Prix de l’Enseignement Musical จาก French Chambre Syndicale des Éditeurs de Musique

หนังสือสอนสามเล่มของเขาได้รับการตีพิมพ์ ได้แก่ First Editions: Improviser au piano pour les nuls (2017), Les Grands Classiques du piano pour les nuls (2018) และ Les Chefs-d’œuvre du classique au cinéma pour les nuls (2020)

ผู้กำกับการเต้น:  พิเชษฐ กลั่นชื่น

นักเต้นผู้เป็นตัวกลางในการเชื่อมภาษาของการรำไทยแบบดั้งเดิมกับการเต้นร่วมสมัย ในขณะที่ยังคงรักษาหัวใจของประเพณีเอาไว้   พิเชษฐเป็นนักเต้นร่วมสมัยที่ใช้ร่างกายในการเต้นและการสื่อสารในรูปแบบประเพณีและสากลได้อย่างลงตัว  ด้วยความสามารถทางด้านนาฏศิลป์ไทย และการเต้นแบบสากล พิเชษฐได้นำเสนอศิลปะการเต้นที่มีรากฐานจากรำไทย ผ่านศิลปะการเต้นแบบร่วมสมัยที่ถูกสร้างขึ้นใหม่เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมปัจจุบัน ที่มีรูปแบบเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว  เขามีผลงานทั้งทางด้านการกำกับการแสดง  การออกแบบท่าเต้นและการเต้น  นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา พิเชษฐเป็นศิลปินที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับระดับสากลและได้เข้าร่วมแสดงงานในเทศกาลศิลปะการเต้นในระดับนานาชาติทั่วโลกอย่างต่อเนื่องในฐานะศิลปินนักเต้นจากประเทศไทย

รางวัลที่ได้รับ

  • 2008:‘Routes’ ECF Princess Margriet Award for Cultural Diversity จาก European Cultural Foundation รางวัลนี้มอบให้แก่ศิลปินในสาขาวัฒนธรรมหลากหลาย ที่ช่วยส่งเสริมความหลากหลายทางวัฒนธรรมและเสริมสร้างความเข้าใจระหว่างผู้ที่มีพื้นฐานทางวัฒนธรรมที่แตกต่าง และให้ความช่วยเหลือในการต่อสู้กับความกลัวและการไม่เคารพต่อ ‘ผู้อื่น’
  • 2012: เครื่องราชอิสริยาภรณ์สาขาศิลปะและอักษรศาสตร์ ชั้นอัศวิน “Chevalier of the French Arts and Literature Order” จากกระทรวงวัฒนธรรมฝรั่งเศสสำหรับการสนับสนุนวัฒนธรรมในฝรั่งเศส ในประเทศไทย และทั่วโลก
  • 2014: John D. Rockefeller 3rd Award โดย Asian Cultural Council (รางวัลสำหรับบุคคลจากเอเชียหรือสหรัฐอเมริกาที่มีส่วนร่วมสำคัญต่อการสร้างความเข้าใจระหว่างประเทศ หรือการศึกษาในศิลปะการแสดงหรือทัศนศิลป์ของเอเชีย)

Co-organized by:

Supported by: