บรรยายพิเศษ
ทำไมต้อง Biennale/Triennale?
ศิลปะร่วมสมัยคืออะไร?
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมกับ หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ และ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย กระทรวงวัฒนธรรม ในการจัดบรรยายพิเศษ ’ทำไมต้อง Biennale/Triennale? ศิลปะร่วมสมัยคืออะไร?’ โดยคุณ Fram Kitagawa และคุณ Yuko Hasegawa ดำเนินรายการโดยคุณกฤติยา กาวีวงศ์ การบรรยายพิเศษได้มีขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2018 เวลา 13.30 – 15.30 น. ณ ออดิทอเรียม ชั้น M, ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ
หอศิลป์ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับงานศิลปะร่วมสมัยได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกรุงเทพฯในช่วงหลายปีที่ผ่านมาและในปี 2018 ได้มีการจัดงาน “Triennale” “Biennale” หรือ “Biennial” ของงานศิลปะร่วมสมัยอย่างน้อย 3 งานในประเทศไทย การเปลี่ยนแปลงสำคัญนี้ทำให้เห็นถึงการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและขยายตัวของศิลปะในประเทศไทย การบรรยายนี้สำรวจคำถามที่ว่า ทำไมต้อง Biennale/Triennale? และ ศิลปะร่วมสมัยคืออะไร? ผ่านการพูดคุยโดยผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะที่มีชื่อเสียงจากประเทศญี่ปุ่น คุณ Fram Kitagawa ผู้อำนวยการ Echigo-Tsumari Triennale และ Setouchi Triennale และ คุณ Yuko Hasegawa ผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยกรุงโตเกียวและอาจารย์ที่ Tokyo University of Arts และเพื่อให้การพูดคุยเหมาะสมกับบริบทของงานศิลปะในไทย เราได้เชิญคุณ กฤติยา กาวีวงศ์ ผู้อำนวยการศิลป์ หอศิลป์บ้านจิมทอมป์สันและภัณฑารักษ์นานาชาติแห่ง Gwangju Biennale 2018 มาเป็นผู้ดำเนินรายการ
[วันที่และเวลา]
เสาร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2018
เวลา 13.30 – 15.30 น.
[สถานที่]
ห้องออดิทอเรียม ชั้น M
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)
[จัดโดย]
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)
สำนักศิลปวัฒนธรรม ร่วมสมัย, กระทรวงวัฒนธรรม
[ผู้เข้าร่วม] 90 คน
Mr. Fram Kitagawa บรรยายเรื่อง “The Trend in Japan’s Bien/Triennale in the last decade and its future”
Ms. Yuko Hasegawa บรรยายเรื่อง “Ecology and Internet in contemporary Art”
คุณ กฤติยา กาวีวงศ์ ผู้อำนวยการศิลป์ หอศิลป์บ้านจิมทอมป์สันและภัณฑารักษ์นานาชาติแห่ง Gwangju Biennale 2018 มาเป็นผู้ดำเนินรายการ และร่วม
บรรยากาศในงาน
(จากซ้ายไปขวา) Mr. Fram Kitagawa, Ms. Yoko Hasegawa, H.E. Mr. Shiro Sadoshima, Dr. Apinan Poshyananda
ประวัติผู้บรรยายและผู้ดำเนินรายการ:
FRAM KITAGAWA
ผู้อำนวยการ Echigo-Tsumari Art Triennale
ผู้อำนวยการ Setouchi Triennale
Fram Kitagawa เกิดในจังหวัดนิกาตะ ในปี 1946 หลังจากจบการศึกษาจาก Tokyo University of the Arts เขาได้จัดแสดงผลงานศิลปะในญี่ปุ่นหลายครั้ง เพื่อแนะนำผลงานศิลปะที่ไม่ค่อยมีคนรู้จัก เขายังรับผิดชอบโครงการศิลปะอีกหลากหลายโครงการ อย่างเช่น นิทรรศการ Antoni Gaudi ที่ได้เดินทางไปถึง 11 เมืองในญี่ปุ่น ในปี 1978 -1979 และ นิทรรศการ Apartheid Non! International Art Festival ซึ่งถูกแสดงถึง 194 แห่งทั่วญี่ปุ่น ในปี 1988 – 1990
คุณ Kitagawa ได้รับการยกย่องอย่างสูงสุดสำหรับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่เกี่ยวกับการพัฒนาชุมชน อย่างเช่น บทบาทความเป็นผู้นำในการวางแผน Faret Tachikawa Art Project และกิจกรรมทางวัฒนธรรมในต่างประเทศที่ Daikanyama Hillside Terrace เขาเป็นผู้อำนวยการใหญ่ของ Echigo-Tsumari Art Triennale ตั้งแต่ปี 2000 และได้สร้างคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อการพัฒนาภูมิภาคนั้นผ่านศิลปะ เขายังเป็นผู้อำนวยการใหญ่ของ Setouchi Triennale ตั้งแต่ปี 2010, Japan Alps Art Festival และ Oku-Noto Triennale ตั้งแต่ปี 2017 นั่นทำให้เขาได้รับรางวัลอย่างมากมายรวมทั้ง Ordre des Arts et des Lettres จาก the French Republic, the Order of Culture from the Republic of Poland, รางวัลของกระทรวงศึกษาธิการญี่ปุ่น ปี 2006 สำหรับสาขาศิลปะและการโปรโมท, รางวัล the Order of Australia: Honorary Member (AO) ในสาขาทั่วไป ปี 2012 ล่าสุดเขาเพิ่งได้รับเหรียญเกียรติยศ (ญี่ปุ่น) แถบสีม่วง ในปี 2016 ซึ่งมอบแก่บุคคลที่ได้สนับสนุนต่อการพัฒนาและการปรับปรุงทางวิชาการและศิลปะจนประสบความสำเร็จ และรางวัล Asahi Prize ในปี 2018
YUKO HASEGAWA
ผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์
Museum of Contemporary Art, Tokyo
อาจารย์ที่ Tokyo University of the Arts
Yuko Hasegawa เป็นผู้อำนวยการฝ่ายสร้างสรรค์ของ Museum of Contemporary Art, Tokyo และยังเป็นอาจารย์ที่ Graduate School of Global Arts, Tokyo University of the Arts ตั้งแต่ปี 2016 ถึงปัจจุบัน เธอเคยเป็นหัวหน้าภัณฑารักษ์และ Founding Artistic Director ในปี 1999-2006 ของ 21st Century Museum of Contemporary Art, Kanazawa และเคยเป็นหัวหน้าภัณฑารักษ์ของ Museum of Contemporary Art, Tokyo ในปี 2006-2016 และปัจจุบันเธอยังเป็น Artistic Director ของ Inujima Art House Project ตั่งแต่ปี 2011 อีกด้วย
เธอได้รับการแต่งตั้งให้เป็นภัณฑารักษ์ของ 11th Sharjah Biennial ในปี 2013 เป็นภัณฑารักษ์ร่วมของ 29th São Paulo Biennial ในปี 2010 และเป็น Artistic Director ของ 7th International Istanbul Biennial ในปี 2001
โครงการล่าสุดของเธอคืองานนิทรรศการ Fukami ที่โรงแรม Salmon de Rothschild (ปี 2018) งาน 7th International Moscow Biennale of Contemporary Art: Clouds ⇄ Forests (กันยายน 2017) งาน Japanorama: NEW VISION ON ART SINCE 1970 ที่ Centre Pompidou-Metz (ตุลาคม 2017) งาน Kishio Suga: Situations at Pirelli HangarBicocca ที่มิลาน (2016) และงาน New Sensorium Exiting from Failures of Modernization at ZKM | Center for Art and Media Karlsruhe (2016).
เธอยังเคยเป็นกรรมการสำหรับ Nasher Prize Nasher Sculpture Center ที่เมืองดัลลัส (2015-2018); Premio MAXXI BULGARI ที่กรุงโรม (2017-2018); และ 48 Esposizione La Biennale di Venezia (1999) นอกจากนี้เธอยังเป็นหนึ่งในคณะกรรมการของ Hugo Boss Asia Art Award (2017, 2015, 2013).
กฤติยา กาวีวงศ์
ผู้อำนวยการศิลป์
หอศิลป์บ้านจิมทอมป์สัน
ภัณฑารักษ์นานาชาติของ
Gwangju Biennale 2018
กฤติยา กาวีวงศ์ เป็นผู้ก่อตั้งองค์กรศิลปะ Project 304 ขึ้นมาเมื่อปี 1996 และปัจจุบันทำงานเป็นผู้อำนวยการศิลป์ของหอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน ในกรุงเทพมหานคร โครงงานที่เธอเป็นภัณฑารักษ์จัดทำขึ้นมานั้นได้ปักหมุดหมายให้กับประเด็นความเปลี่ยนแปลงทางสังคมต่างๆ ตั้งแต่ยุคสงครามเย็นที่ศิลปินจากประเทศไทยและประเทศอื่นๆเผชิญ เธอได้จัดนิทรรศการและกิจกรรมมาแล้วมากมาย อย่างเช่น Underconstruction ที่กรุงโตเกียว (2000 – 2002), Politics of Fun ที่ Haus der Kulturen der Welt ในกรุงเบอร์ลิน (2005), Bangkok Experimental Film Festival (1997 – 2007) (ร่วมมือกันก่อตั้งขึ้นมากับคุณ อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล), Saigon Open City ที่นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม (2006 – 2007) (ร่วมมือกับคุณ ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช) และ Unreal Asia เทศกาลภาพยนตร์สั้นนานาชาติที่เมืองโอเบอร์เฮาเซิน ประเทศเยอรมนี (2010) คุณกฤติยา ยังเป็นหนึ่งในทีมภัณฑารักษ์ของเทศกาล Gwangju Biennale ครั้งที่ 12 Imagined Borders ในปี 2018 ด้วย
ตารางการบรรยาย: | ||
13:30 – 13:35 | ทักทาย | |
13:35 – 13:40 | กล่าวนำ โดย ผู้ดำเนินรายการ (กฤติยา กาวีวงศ์) |
|
13:40 – 14:10 | “The trend in Japan’s Bien/Triennale in the last decade and its future” โดย คุณ Fram Kitagawa |
|
14:10 – 14:15 | ความคิดเห็นจากผู้ดำเนินรายการ | |
14:15 – 14:45 | “Ecology and Internet in contemporary art” โดย คุณ Yuko Hasegawa |
|
14:45 – 15:15 | อภิปรายทั้งสองหัวข้อระหว่างวิทยากรและผู้ดำเนินรายการ | |
15:15 – 15:30 | ช่วงถามตอบ |
Articles: | ||
Online: | Bangkok Post TCDC Zipevent Maru Mura |
จัดโดย