การจัดแสดงศิลปะ “the play: space drawing” โดย พาราโมเดล

การจัดแสดงศิลปะในพื้นที่พิเศษ

the play: space drawing

โดย พาราโมเดล

 

 

ศิลปินคู่หูญี่ปุ่นผู้สร้างสรรค์งานผ่านของเล่น –

โลกของเล่นกับจินตนาการภาพพาราไดซ์

 

[งานเปิดนิทรรศการ] 17:00 วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2559

[ระยะเวลาจัดแสดง] เสาร์ที่ 26 พฤจิกายน – อาทิตย์ที่ 25 ธันวาคม 2559

[สถานที่จัดแสดง] ชั้น 1 ทองหล่อ อาร์ต สเปซ

[จัดโดย] เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
ทองหล่อ อาร์ต สเปซ

 


paramodelic-grafitti (2012)
Tokyo Station Gallery, Tokyo, Japan
©Paramodel

 

ความขัดแย้งของพาราไดซ์ในโลกคู่ขนาน

 

How  to make a paramodel. (2012), APT7
Queensland Art Gallery / Gallery of Modern Art Brisbane, Australia    © Paramodel

 

เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมด้วยทองหล่อ อาร์ต สเปซ ภูมิใจนำเสนอการจัดแสดงศิลปะอินสตอลเลชั่นที่ศิลปินเจาะจงออกแบบให้เหมาะสมกับพื้นที่โดยเฉพาะ the play: space drawing  (เดอะ เพลย์: สเปซ ดรอว์อิง) โดยศิลปินดูโอชาวญี่ปุ่น Paramodel (พาราโมเดล)

 

พาราโมเดลคือกลุ่มศิลปินที่ประกอบด้วย      ยาสุฮิโกะ ฮายาชิ (เกิด 1971) และ ยูสุเกะ นากาโนะ (เกิด 1976) รวมตัวกันขึ้นมาตั้งแต่ปี 2001 ชื่อกลุ่มของพวกเขาเปรียบได้กับการประกาศเจตนาในการทำงานศิลปะของพวกเขาไปในตัว Paramodel (พาราโมเดล) เป็นการสนธิคำว่า Paradise (สรวงสวรรค์) Paradox (ความขัดแย้ง) และ Model (โมเดล – แบบตัวอย่าง) เข้าด้วยกันอย่างลงตัวกลายมาเป็นคำว่า พาราโมเดล นอกจากนี้ ยังเป็นการเล่นเสียงให้คล้ายคลึงกับคำว่า Puramoderu ที่แปลว่า ของเล่นพลาสติกแบบสามมิติ ในภาษาญี่ปุ่นอีกด้วย งานศิลปะของพวกเขามักมีส่วนของงานภาพถ่าย งานปั้น ภาพวาด และงานวิดิทัศน์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นงานที่ถือกำเนิดมาจากการสร้างสรรค์งานศิลปะอินสตอลเลชั่นขนาดใหญ่ ที่ออกแบบมาเพื่อให้มีปฏิสัมพันธ์กับพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไปในแต่ละงาน และมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับขั้วต่างหลายประการที่เรามักพบเจอในชีวิตประจำวัน พวกเขามักใช้ของเล่นที่เป็นที่คุ้นตาของคนทั่วไปมาเป็นวัตถุดิบและแนวคิดหลักในการสร้างงาน เช่น รางรถไฟพลาสติกสีฟ้า รถของเล่นแบบย่อส่วน และโมเดลพลาสติก เป็นต้น ทั้งหมดนี้ก็เพื่อสรรค์สร้างพิมพ์เขียวของโลกพาราไดซ์ ในขณะเดียวกันก็เน้นย้ำถึงความขัดแย้งในชีวิตมนุษย์ สิ่งเหล่านี้ได้ถ่ายทอดออกมาให้เห็นในลักษณะความคิดที่ขนานกันอยู่ผ่านงานกราฟฟิติสามมิติ  ไดโอรามา ภาพวาด ศิลปะบนฝาผนัง หรือ ภาพภูมิทัศน์

 

ยาสุฮิโกะ ฮายาชิ หนึ่งในสมาชิกของคู่พาราโมเดล ได้มาพำนักที่กรุงเทพร่วมหนึ่งเดือนเพื่อออกแบบและสร้างสรรค์งานศิลปะแบบสามมิติให้กระจายไปทั่วพื้นที่ของสตูดิโอชั้น 1 ณ ทองหล่อ อาร์ต สเปซ วัสดุหลักที่เขาเลือกใช้และเป็นเอกลักษณ์ของพาราโมเดลคือ ท่อพลาสติกที่ใช้ในการก่อสร้าง (ท่อพีวีซี) และรางรถไฟพลาสติก       “พาราเรล” (plastic rails)  จำนวนมหาศาล ศิลปินได้นำวัสดุดังกล่าว ทั้งท่อพีวีซี และรางรถไฟพลาสติกมาจัดวางซ้ำๆกันเป็นจำนวนมาก วัสดุอันเป็นเอกลักษณ์นี้ได้ก่อให้เกิดภาพและบรรยากาศที่น่าอัศจรรย์ใจ สามารถชักจูงให้ผู้ชมใช้จินตนาการของตนได้อย่างโลดแล่น มองเผินๆอาจมีความคล้ายคลึงไซท์ก่อสร้าง แต่ในความขัดแย้งนั้นเองก็อาจมีภาพทับซ้อนของพาราไดซ์ได้อย่างน่าประหลาด เปรียบได้กับความซับซ้อนของสังคมที่สามารถมองและตีความได้หลากหลายชั้น เป็นงานที่ตีความได้หลากหลาย แต่ก็มีสีสันชวนสนุก ทำให้ผู้ชมทุกเพศทุกวัยสามารถสนุกสนานไปกับงานนี้ได้

 

ผลงานของพาราโมเดลนั้นเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวาง ทั้งในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี จีน ไต้หวัน สิงคโปร์ อินโดเนเซีย เวียดนาม ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และ ลิทัวเนีย และนี่เป็นครั้งแรกของการแสดงผลงานในประเทศไทย

 

ในงานเปิดนิทรรศการ “the play: space drawing” ยาสุฮิโกะ ฮายาชิ หนึ่งในสมาชิกของคู่พาราโมเดล ได้กล่าวบรรยายเกี่ยวกับการทำงานของเขาในการสร้างงานศิลปะแบบ site specific ที่เขาได้ใช้เวลาร่วมหนึ่งเดือนออกแบบและสรรค์สร้างให้เหมาะสมกับพื้นที่ของทองหล่อ อาร์ต สเปซโดยเฉพาะ ในระหว่างการบรรยายและเสวนา ทางเราก็ได้คุณแมรี่ ปานสง่า คิวเรเตอร์อิสระมาร่วมพูดคุยด้วยกัน จากนั้นทั้งศิลปินและผู้ชมก็ได้ร่วมชมงานนิทรรศการพร้อมกัน

 

ประวัติศิลปิน

– พาราโมเดล –

พวกเขาเป็นกลุ่มศิลปินที่ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2001 โดยการรวมตัวกันของ ยาสุฮิโกะ ฮายาชิ (จบการศึกษาสาขา Fine Arts จาก Kyoto City University of Arts) และ ยูสุเกะ นาคาโนะ (ศิลปินผู้เชี่ยวชาญงาน “นิฮงกะ” (ภาพวาดแนวญี่ปุ่น) จบการศึกษาจากสถาบันเดียวกัน) พวกเขาสร้างสรรค์งานและพำนักอยู่ที่เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น https://www.moriyu-gallery.com/artists/profile.html?artist_id=3&l=en

 

รายละเอียดการจัดแสดง

คืนเปิดงาน:
วันเสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2559

ลงทะเบียน  16:30 น.

เสวนากับศิลปินและทัวร์นิทรรศการ  17:00 น.

ระยะเวลาจัดแสดงงาน:
26 พฤจิกายน – 25 ธันวาคม 2559

เวลาทำการ:
14 – 21 นาฬิกา (ปิดทำการวันอังคารและพุธ)
*ไม่เสียค่าเข้าชม*

สถานที่จัดแสดง:
สตูดิโอชั้น 1 ทองหล่อ อาร์ต สเปซ

 

เวิร์คช็อปการสร้างงานศิลปะแบบ site-specific โดย paramodel

ยาสุฮิโกะ ฮายาชิ หนึ่งในสมาชิกของพาราโมเดล ได้กล่าวบรรยายและนำการเวิร์คช็อปเกี่ยวกับแนวคิด และวิธีการทำงานของเขาในการสร้างงานศิลปะแบบ site specific ให้แก่นักศึกษาจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม

วัน: พุธที่ 11 มกราคม 2560

สถานที่: คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

สัมภาษณ์ศิลปินในสื่อ:
https://www.facebook.com/ThaiPBSFan/videos/10157949955510085/?hc_ref=PAGES_TIMELINE
บทความเกี่ยวกับนิทรรศการ:
https://www.livingasean.com/explore/play-space-drawing-paramodel/
https://art4d.com/2016/11/play-space-drawing
https://artasiapacific.com/Magazine/WebExclusives/ThePlaySpaceDrawing

 

จัดโดย
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
และทองหล่อ อาร์ต สเปซ

          

 

สนับสนุนโดย
สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย

 

 

ผู้ชมเข้าลงทะเบียนในวันเปิดนิทรรศการ the play: space drawing ณ ทองหล่อ อาร์ต สเปซ

 

ยาสุฮิโกะ ฮายาชิ บรรยายเกี่ยวกับผลงานของตนในฐานะศิลปินกลุ่มพาราโมเดล โดยมีแมรี่ ปานสง่า เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

 

ยาสุฮิโกะ ฮายาชิ บรรยายเกี่ยวกับผลงานของตนในฐานะศิลปินกลุ่มพาราโมเดล

 

ผู้ชมเข้าร่วมชมนิทรรศการในวันเปิดงาน

 

ผู้ชมเข้าร่วมชมนิทรรศการในวันเปิดงาน

 

ภาพงาน the play: space drawing ณ ทองหล่อ อาร์ต สเปซ

 

ภาพงาน the play: space drawing ณ ทองหล่อ อาร์ต สเปซ

 

ภาพงาน the play: space drawing ณ ทองหล่อ อาร์ต สเปซ

 

ภาพงาน the play: space drawing ณ ทองหล่อ อาร์ต สเปซ

 

ภาพงาน the play: space drawing ณ ทองหล่อ อาร์ต สเปซ

 


ภาพงาน the play: space drawing ณ ทองหล่อ อาร์ต สเปซ

 


ภาพงาน the play: space drawing ณ ทองหล่อ อาร์ต สเปซ

 

ยาสุฮิโกะ ฮายาชิ หนึ่งในสมาชิกของพาราโมเดล กล่าวบรรยายและนำการเวิร์คช็อปเกี่ยวกับแนวคิด และวิธีการทำงานของเขาในการสร้างงานศิลปะแบบ site specific ณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

ยาสุฮิโกะ ฮายาชิ อธิบายการใช้รางรถไฟพลาสติก “พาราเรล” (plastic rails) ในงานของเขา

 

นักศึกษาทดลองสร้างงานของตนโดยใช้ “พาราเรล” (plastic rails)

 

การพูดคุยและออกความเห็นระหว่างกิจกรรมเวิร์คช็อป

 

ผลงานของนักศึกษาจากการทำเวิร์คช็อป

 

ผลงานของนักศึกษาจากการทำเวิร์คช็อป

 

กลไกพิเศษที่เป็นส่วนเพิ่มเติมให้งานศิลปะสมบูรณ์