การบรรยายและเวิร์คช็อปละครเวที โดย
โอริสะ ฮิราตะบทนำสู่ละครเวทีใหม่ “Bangkok Notes”
14:00 – 17:30 เสาร์ที่ 7 มกราคม 2560
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมด้วย ภาควิชาศิลปการละครคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภูมิใจนำเสนอ การบรรยายและเวิร์คช็อปละครเวที โดย โอริสะ ฮิราตะ หนึ่งในนักเขียนบทละคร/ ผู้กำกับละครเวทีผู้มีอิทธิพลและเป็นแรงบันดาลใจอย่างมากต่อวงการละครเวทีญี่ปุ่นและทั่วโลก กิจกรรมนี้จะเป็นบทนำไปสู่การร่วมมือสร้างละครเวที “Bangkok Notes” (บางกอก โน้ต) ในเดือนพฤษจิกายน 2560 อันจะเป็นหนึ่งในกิจกรรมเพื่อรำลึกถึงวาระครบรอบ 130 ปีความสัมพันธ์ไทยญี่ปุ่น
ในปี 2525 โอริสะ ฮิราตะ ได้ก่อตั้งคณะละคร “เซอิเนนดัง” และได้กลายเป็นคณะละครชั้นแนวหน้าของญี่ปุ่นด้วยการเผยแพร่ “ทฤษฎีละครพูดร่วมสมัย” ของโอริสะมาตลอดตั้งแต่ช่วงปีทศวรรษของค.ศ. 1990 โอริสะ ฮิราตะได้ร่วมงานกับศิลปินชั้นนำทั่วโลกมาแล้วมากมาย ไม่ว่าจะที่ประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี ไต้หวัน เกาหลี ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา ไอร์แลนด์ แคนาดา และประเทศไทย ละครคน-หุ่นยนต์ของเขาที่มาจัดแสดงในประเทศไทย ด้วยนักแสดงไทย เมื่อปี 2555 นั้นกลายเป็นละครที่โด่งดังและเป็นที่กล่าวขานทั่ววงการละครเวที
ในครั้งนี้ก็จะเป็นโอกาสอันดีงามที่เขาจะได้กลับมาทำงานร่วมกับศิลปิน และบุคคลทั่วไปชาวไทยที่สนใจแสดงละครเวทีอีกครั้ง เนื่องด้วยทางผู้จัดมีโครงการที่จะจัดสร้างละครเวทีเรื่องใหม่ ชื่อว่า “Bangkok Notes” (บางกอก โน้ต) ซึ่งเป็นบทละครที่ดัดแปลงจาก “Tokyo Notes” (โตเกียว โน้ต) ผลงานอันโด่งดังของโอริสะที่ได้รับรางวัลและจัดแสดงมาแล้วหลากหลายประเทศ ละครเวที “Bangkok Notes” (บางกอก โน้ต) จะเปิดการแสดงครั้งแรกเป็นเวิร์ลด พรีเมียร์ในเดือนพฤศจิกายน 2560 ในฐานะส่วนหนึ่งของเทศกาลละครกรุงเทพฯ
“Tokyo Notes” (โตเกียว โน้ต) เป็นละครเวทีที่บรรยายให้ผู้ชมได้เห็นภาพการค่อยๆสลายตัวของความสัมพันธ์ครอบครัว รวมไปถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคมผ่านการเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในล็อบบี้ของพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งหนึ่งในอนาคตอันใกล้ การบรรยายถึงประเด็นดังกล่าวทำให้ละครเรื่องนี้ได้รับเสียงวิจารณ์อันยอดเยี่ยมจากทั้งในญี่ปุ่นและนานาชาติ “Tokyo Notes” (โตเกียว โน้ต) ได้รับการแปลมาแล้ว 10 ภาษา และจัดแสดงมาแล้ว 23 เมือง ใน 16 ประเทศ รวมทั้งการจัดแสดง ณ กรุงเทพมหานครโดยนักแสดงดั้งเดิมจากคณะละครเซอิเนนดัง เมื่อปี 2549
ทางคณะผู้จัดงานหวังว่าการดัดแปลงบทละคร “Tokyo Notes” (โตเกียว โน้ต) เป็น“Bangkok Notes” (บางกอก โน้ต) ให้เข้ากับบริบทไทย จะเป็นผลงานชิ้นโบว์แดงอีกเรื่องที่จะไม่เป็นเพียงแค่แรงบันดาลใจให้กับผู้ชมชาวไทย แต่ยังจะเป็นการดึงดูดความสนใจจากสื่อและศิลปินมืออาชีพในระดับนานาชาติอีกด้วย
ก่อนการคัดเลือกนักแสดง (กำหนดการในเดือนมีนาคม 2560) ทางเราจึงต้องการเชิญโอริสะ ฮิราตะมาบรรยายและจัดกิจกรรมเวิร์คช็อป เพื่อแนะนำแนวคิด วิธีการทำงาน และแรงบันดาลใจของเขาในการสร้างสรรค์ “Bangkok Notes” (บางกอก โน้ต) ร่วมกับศิลปินไทย
กิจกรรมนี้จะจัดตั้งแต่เวลา 14.00 – 17.30 ในวันเสาร์ที่ 7 มกราคม 2560 ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วม อย่างไรก็ตาม เราแนะนำให้ท่านสำรองที่นั่งล่วงหน้าที่ 02-260-8560-4 หรือที่อีเมล์ acdstaff@ba.jpf.go.jp นอกจากนี้ท่านยังสามารถติดต่อและสำรองที่นั่งผ่านเพจเฟซบุ๊คของเราได้ด้วย สำหรับการสำรองที่นั่งเวิร์คช็อป กรุณาระบุว่าท่านต้องการ 1. เป็นผู้เข้าร่วมปฏิบัติ (ทดลองแสดงตามการกำกับของคุณ โอริสะ สามารถรองรับได้เพียง 10 ท่านตามลำดับการจอง) 2. เป็นผู้สังเกตการณ์ (เป็นผู้ชมการจัดเวิร์คช็อป) การบรรยายและเวิร์คช็อปจะเป็นภาษาญี่ปุ่น พร้อมล่ามแปลภาษาเป็นไทย |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
โอริสะ ฮิราตะ
เกิดเมื่อปี 2505 นักเขียนบทละครเวที
ปัจจุบัน โอริสะเป็นอาจารย์ฝ่ายวิจัยของสำนักงานส่งเสริมการวิจัย COI ณ มหาวัทยาลัยศิลปะแห่งโตเกียว เป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยโอซาก้าสำหรับการศึกษาในโครงการ Co* Design เป็นอาจารย์พิเศษและที่ปรึกษาพิเศษให้กับประธานบริหารมหาวิทยาลัยชิโคะขุ กักคุอิน และมหาวิทยาลัยเกียวโต บุงเกียว และยังเป็นผู้อำนวยการบริหารแห่งคิราริ ฟุจิมิ – ศูนย์วัฒนธรรมเมืองฟุจิมิ นอกจากนี้เขายังเป็นคณะกรรมการบริหารของเจแปนฟาวน์เดชั่น สำหรับโครงการศิลปะประจำภูมิภาค และสมาคมญี่ปุ่นสำหรับการวิจัยด้านศิลปะการละคร และที่ปรึกษาด้านการเมืองและวัฒนธรรมให้กับเมืองโทโยโอกะ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
เกี่ยวกับ “โตเกียว โน้ต” ข้อคิดเห็นจากโอริสะ ฮิราตะ:ดังที่เห็นได้จากชื่อเรื่อง ผมได้ความคิดเรื่อง “โตเกียว โน้ต” มาจากภาพยนตร์คลาสสิกเรื่อง “โตเกียว สตอรี่” ของ ยาสุจิโร โอสุ ในเรื่องของ โอสุนั้น แต่ละฉากในภาพยนตร์แสดงให้เห็นภาพพ่อแม่ที่มีอายุเข้ามาเยี่ยมลูกๆของตนในกรุงโตเกียว ในขณะที่ “โตเกียว โน้ต” แสดงให้เห็นถึงการมารวมตัวกันที่ล็อบบี้พิพิธภัณฑ์ศิลปะของพี่น้องที่แยกย้ายกันอาศัยในโตเกียว เมื่อพี่สาวที่ชื่นชอบศิลปะของพวกเขาเดินทางจากบ้านเกิดมาเยี่ยม ปกติแล้วพี่น้องแต่ละคนจะมีชีวิตและปัญหาต่างๆต่างกันไป แต่ตอนนี้สิ่งเดียวที่พวกเขากังวลร่วมกันก็คือการดูแลพ่อแม่ที่อายุมาก ในขณะที่เรื่องราวในหอศิลป์ดำเนินไป ก็มีการสอดแทรกเรื่องของสงครามใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นในยุโรป อย่างไรก็ตาม ผู้คนที่มาชมนิทรรศการที่นี่ต่างก็ดูเหมือนจะสนใจแต่ชีวิตและปัญหาของตนเองเท่านั้นละครได้มีการดัดแปลงให้สะท้อนภาวะไม่มั่นคงของจิตใจมนุษย์ ผลงานชิ้นนี้อาจจะเป็นความพยายามที่จะเปิดเผยช่วงเวลาของความรู้สึกนั้น ผมหวังจะเสนอให้ผู้ชมได้เห็นถึงแรงสั่นสะเทือนภายในของสองสิ่ง คือความขัดแย้งครั้งใหญ่ระหว่างประเทศ และความแตกแยกในครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของคนในยุค 90เรื่องย่อ:เรื่องราวทั้งหมดเกิดขึ้นในล็อบบี้ของพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งหนึ่ง สงครามใหญ่กำลังก่อตัวในยุโรป ที่นี่มีการแสดงภาพเขียนซึ่งย้ายมาจากยุโรปที่สถานการณ์บ้านเมืองกำลังระส่ำระสาย ครอบครัว เพื่อน และคู่รัก ผลัดกันเข้ามาชมนิทรรศการพลางสนทนาเกี่ยวกับการดูแลพ่อแม่ อาชีพในอนาคต ความรัก มรดก และเรื่องราวอื่นๆอีกมากมาย ด้วยฉากหลังที่เป็นสงครามครั้งใหญ่ ละครยังคงแสดงให้เห็นถึงชีวิตประจำวันของชาวญี่ปุ่นได้อย่างละเอียดอ่อน ละครค่อยๆคลี่คลายปัญหา ความกลัดกลุ้ม และเสียงร่ำร้องของสังคมสมัยใหม่ออกมาได้อย่างยอดเยี่ยม |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
รูปภาพสำหรับการอ้างอิง หากท่านต้องการภาพที่มีความชัดเจนสูงสำหรับลงสื่อของท่าน กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ของเราตามข้อมูลด้านล่าง ขอบคุณค่ะ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
ติดต่อสอบถามที่ สิรี ริ้วไพบูลย์ (siree@ba.jpf.go.jp) (ภาษาไทย/ อังกฤษ) คะซึเอะ ซูซุกิ (suzuki@ba.jpf.go.jp) (ภาษาญี่ปุ่น/ อังกฤษ) เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ชั้น 10 อาคารเสริมมิตร 159 ถ.สุขุมวิท 21 กรุงเทพฯ 10110 โทร. 02-260-8560~4 แฟกซ์: 02-260-8565 เฟซบุ๊ค: https://www.facebook.com/jfbangkok/ |
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||