เนื่องในโอกาสครบรอบ 130 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตไทย – ญี่ปุ่น
รยางค์สัมพันธ์
[ระยะเวลา]
31 มีนาคม – 9 กรกฎาคม 2560
[สถานที่]
ชั้น 8 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
(หอศิลปกรุงเทพฯ)
[ผู้เข้าชม] 49,910 คน
เจแปนฟาวน์เดชั่นเอเชียเซ็นเตอร์ ร่วมกับ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ได้รับการสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย นำเสนอนิทรรศการ “รยางค์สัมพันธ์ (Mode of Liaisons)” ซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของโครงการ “Condition Report” โครงการศิลปะเชิงปฏิบัติการร่วมกันระหว่างภัณฑารักษ์จากประเทศญี่ปุ่นและประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยมีจุดประสงค์เพื่อบ่มเพาะภัณฑารักษ์รุ่นใหม่ผ่านการทำงานร่วมกันกับภัณฑารักษ์ผู้มีประสบการณ์ “รยางค์สัมพันธ์ (Mode of Liaisons)” เป็นแนวคิดจากภัณฑารักษ์ผู้รับผิดชอบ พิชญา ศุภวานิช และได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 9 กรกฎาคม 2560 ณ ชั้น 8 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (หอศิลปกรุงเทพฯ) และพิธีเปิดจัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม 2560 เวลา 18:30 น. ณ บริเวณ ชั้น 8 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
โครงการ Condition Report ประกอบไปด้วยโครงงานของภัณฑารักษ์ 2 ส่วน ซึ่งดำเนินการภายใต้หัวข้อที่เป็นร่มใหญ่ คือ “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้คืออะไร?” ส่วนแรกเป็นนิทรรศการจัดขึ้นที่ 4 เมืองจาก 4 ประเทศ ได้แก่ จาการ์ตา กัวลาลัมเปอร์ มะนิลา และกรุงเทพฯ โดยภัณฑารักษ์รุ่นใหญ่นำเสนอแนวคิดและผลงานที่แสดงถึงปรากฏการณ์และเนื้อหาทางศิลปะในปัจจุบัน และในขณะเดียวกันได้ประยุกต์ใช้นิทรรศการดังกล่าวเป็น โอกาสในการฝึกการทำงานร่วมกับภัณฑารักษ์รุ่นใหม่ ส่วนที่สอง เป็นการจัดแสดงงานย่อย 14 โครงการโดยภัณฑารักษ์รุ่นใหม่ซึ่งจัดการและนำเสนอโครงการของตนต่อสาธารณะอย่างเป็นอิสระ นิทรรศการสุดท้ายโดยภัณฑารักษ์รุ่นใหญ่ได้จัดขึ้นในกรุงเทพฯ นำเสนอภายใต้ชื่อ “รยางค์สัมพันธ์ (Mode of Liaisons)” ซึ่งมีที่มาจากแนวความคิดเชิงชีววิทยา ปรับใช้เพื่อผสมผสานผลงานศิลปะและเนื้อหาจากภัณฑารักษ์ที่ได้จัดขึ้นในเมืองอื่นมาแล้วก่อนหน้า ผนวกเข้ากับการคัดสรรผลงานขึ้นมาใหม่ อันจะสะท้อนภาพรวมในการทำงานของภัณฑารักษ์และศิลปะในปัจจุบัน หัวข้อ “รยางค์สัมพันธ์ (Mode of Liaisons)”
นอกจากนี้ยังมีโครงการเฉพาะโดยภัณฑารักษ์รุ่นใหม่ 4 ท่าน นากามูระ ฟูมิโกะ, ออง หมัด เทม, บายู เจนี คริสบี้ และวิธวินท์ ลีลาวนาชัย ซึ่งนำเสนอผ่านรูปแบบของปฏิบัติการเสวนา ข้อเขียน และการบรรยายในรูปแบบการแสดงสด ในระหว่างที่นิทรรศการจัดแสดง
ภัณฑารักษ์
พิชญา ศุภวานิช
ภัณฑารักษ์ร่วม
ออง หมัด เทม, บายู เจนี คริสบี้, นากามูระ ฟูมิโกะ, วิธวินท์ ลีลาวนาชัย
ศิลปิน
กรกฤต อรุณานนท์ชัย, ซูซีอะดี วิโบโว – แล็บทันยา, ไซ คุนิง, ณัฐพล สวัสดี, ธนภณ อินทร์ทอง, บูกะ วะรัง, ฟิลิปปินส์ เอ็ดดูเคชั่นแนล เธียเตอร์ แอสโซซิเอท (PETA), มิยางิ ฟุโตชิ, มาร์ค เทห์, ยิ่งยศ เย็นอาคาร, ยูนิเวิร์ส บัลโดซ่า, ทามูระ ยูอิชิโระ, รอสลิแซม อิสมาอิลล์ (อิเสะ) ร่วมกับ ปาร์คกิ้ง โปรเจค ซุปเปอร์เฟรนด์ส, ฤกษ์ฤทธิ์ ตีระวนิช, อาเรีย ซารีฟูดิง, อัลเบิร์ต สัมเรท, อุกฤษณ์ สงวนให้, เอา โซว-ยี, โฮ รุย อัน
[30 มีนาคม 2560]
พิธีเปิดงาน: Mode of Liaisons
ชั้น 8 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
กิจกรรมในนิทรรศการ
[1 เมษายน 2560]
ฟอรั่มภัณฑารักษ์ (หลัง) เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: สถานเพื่อทบทวนและเพ่งพินิศ
ผู้บรรยายหลัก: แพททริค ฟลอเรส ผู้อภิปราย: อาเด ดาร์มาวาน, ยาพ เซา บิน, ชิโฮโกะ อีดะ, วิภาช ภูริชานนท์, ฮิโรยูกิ ฮัตโตริ, ลิโน วุธ, คยองฟา เช, ฟาน ชอง ฮู
ดำเนินการโดย: อะหมัด มาชาดี, รูเบน คีฮาน, พิชญา ศุภวานิช
จากทัศนะของโครงการ Condition Report ซึ่งได้เปิดช่องทางให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้สร้างฉากในฐานะภูมิหลัง ขับเน้นให้เห็นพื้นที่กายภาพและจินตภาพของเหล่าภัณฑารักษ์ที่ทำงานกระจัดกระจายอยู่ทั่วทั้งภูมิภาค สภาภัณฑารักษ์ (Curator Forum) คราวนี้เปิดให้มีการแลกเปลี่ยนทางความคิดและเงื่อนไขในการทำงาน บนพื้นฐานวาระท้องถิ่นที่ดำเนินควบคู่ไปกับสภาวะการณ์ของโลก ซึ่งทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางศิลปะและการทำงานอันย้อนแย้งในรูปแบบต่างๆ การประชุมภัณฑารักษ์คราวนี้เป็นความคาดหวังที่จะนำมุมมองสดใหม่มายังประเด็นที่เผชิญร่วมกันในแวดวงของภัณฑารักษ์ ซึ่งที่ผ่านมาได้สร้างจุดเชื่อมโยงเพื่อก้าวข้ามเขตแดนแห่งพื้นที่โดยใช้โครงการ Condition Report เป็นจุดเริ่มต้น
[ตลอดงานนิทรรศการ]
ปาร์คกิ้ง โปรเจค สาขากรุงเทพฯ
ศิลปิน: รอสลิแซม อิสมาอิลล์ (อิเสะ) ร่วมกับ ปาร์คกิ้ง โปรเจค ซุปเปอร์เฟรนด์ส
มิตรภาพ สัมพันธภาพ และเครือข่าย เกิดขึ้นบนพื้นที่อิสระระหว่างเพื่อนเพื่อแลกเปลี่ยน และพบปะ ผ่านกิจกรรมทั้งกินและดื่ม ถกเถียง แลกเปลี่ยน เพื่อกระตุ้นความคิด และส่งต่อแรงบันดาลใจ จากประวัติศาสตร์ 10 ปี ของปาร์คกิ้ง โปรเจค (Parking Project) ที่เริ่มต้นบนพื้นที่ดัดแปลงเล็กๆ ในโรงรถของศิลปิน รอสลิแซม อิสมาอิลล์ (อิเสะ) ในมาเลเซียกลายเป็นกลไกขับเคลื่อนเพื่อเชื่อมงานศิลปะ ดนตรี ออกแบบ ภาพถ่าย และวรรณกรรม อย่างไร้พรมแดน ปาร์คกิ้ง โปรเจค ในคราวนี้ที่กรุงเทพฯ บนชั้นนิทรรศการ ได้เกิดจากความร่วมมือกันระหว่างศิลปินและเหล่าเพื่อนพ้อง มองหาความน่าสนใจใหม่ๆ ในอนาคตผ่านกิจกรรมหลากรูปแบบ ART ACTIVITY
[ตลอดงานนิทรรศการ]
Nid Noi Tan (Campursari in Bangkok)
ศิลปิน: ซินดิแคท แคมเพอซารี (ซูซีอะดี วิโบโว – แล็บทันยา, ณัฐพล สวัสดี, ธนภณ อินทร์ทอง, บูกะ วะรุง, ยิ่งยศ เย็นอาคาร, อาเรีย ซารีฟูดิง)
นิด หน่อย ตัน (Nid Noi Tan) ชื่อที่เรียกกลับด้านของ Nation Din ซึ่งเป็นผลจากการทำงานในช่วงเวลาของการพำนัก 3 สัปดาห์ในกรุงเทพฯ ที่ทดลองภาวะของการอยู่ร่วมกันระหว่างศิลปินไทยและอินโดนีเซีย จากกระบวนการนี้นำมาซึ่งผลงานที่ตั้งคำถามถึงกลุ่มก้อนอันกระจัดกระจายของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก่อนการสร้างพรมแดน โดยการสร้างตำนานขึ้นมาใหม่ในความหมายของรัฐชาติที่อยู่ในจินตนาการ กิจกรรมต่างๆ ที่มาจากผลงานชิ้นนี้นำเสนอส่วนประกอบใหม่ที่งอกงามขึ้นจากการรวมกันระหว่างพันธุกรรมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
[7 เมษายน 2560]
PERFORMING LECTURE ฉากสีเขียว
ศิลปิน: โฮ รุย อัน
ผลงาน ฉากสีเขียว เป็นการค้นหาความเชื่อมโยงระหว่างการเมืองในการฉายภาพและการใช้สีเขียว โดยใช้คำว่า “ฉากสีเขียว” ในความหมายเชิงพฤกษศาสตร์ การบรรยายเริ่มจากสุนทรพจน์ของนายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีของสิงคโปร์ ที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ ตลอดการกล่าวสุนทรพจน์ เขาถูกถ่ายภาพโดยมีสีเขียวเป็นพื้นหลัง ซึ่งบังเอิญเป็นสีเดียวกับที่ใช้ในการสร้างเอฟเฟกต์พิเศษประกอบฉากหลัง ศิลปินเชื่อมโยง “ฉากสีเขียว” เข้ากับต้นไม้ที่ปกคลุมประเทศจนเกิดภูมิทัศน์ที่เขียวชอุ่ม นับได้ว่าพื้นที่สีเขียวหลายแห่งในสิงคโปร์ทำหน้านี่เป็นเหมือนสตูดิโอสีเขียวขนาดยักษ์ที่เชิญชวนให้ผู้คนเข้ามามีส่วนร่วมและสร้างจินตนาการ มีขึ้นเพียงเพื่อที่จะจำกัดและควบคุมการแสดงออกต่างๆ เท่านั้น
[3 มิถุนายน 2560]
WORKSHOP: Tran-Struction
วิทยากร: ออง หมัด เทม
ด้วยภาวะการณ์แห่งการเปลี่ยนผ่านจากการเติบโตของเมืองย่างกุ้งและพนมเปญ สองเมืองเพื่อนบ้านในปัจจุบัน กำลังกลายเป็นเมืองพี่เมืองน้องในแง่ของการเผชิญหน้าร่วมกันในกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงท่ามกลางข้อจำกัด อะไรคือปัจจัยที่ขับเคลื่อนการเปลี่ยนสภาพ อะไรคือความท้าทายของผู้ที่อยู่อาศัย อะไรคือนิยามความหมายใหม่ของเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเวิร์คชอปปฏิบัติการนี้เป็นการมองหาความหมายของเมืองที่กำลังเติบโตท่ามกลางปัจจัยทั้งจากประวัติศาสตร์และปัจจุบัน รวมถึงความหมายและบทบาทของศิลปะที่เข้าไปทำหน้าที่เพื่อเติมช่องว่างในการดำรงอยู่ของเมือง
[1 กรกฎาคม 2560]
EDUCATIONAL THEATER อโดโบ ไมค์เดี่ยว
ศิลปิน: ฟิลิปปินส์ เอ็ดดูเคชั่นแนล เธียเตอร์ แอสโซซิเอชั่น (PETA)
เมื่อศิลปะการแสดงทำหน้าที่เกินความเป็นศิลปะ และได้กลายเป็นเครื่องมือเพื่อสร้างการตระหนักรู้ต่อประเด็นที่เกิดขึ้นในสังคม อโดโบ ไมค์เดี่ยว: การแสดงสดสั้นๆ เกี่ยวกับเด็กผู้ชาย ความสัมพันธ์ของเขาและพ่อ และอาหารประจำชาติของประเทศฟิลิปปินส์ “Chicken Adobo” อโดโบ ไมค์เดี่ยว จึงเป็นศิลปะการแสดงที่แตกต่าง เริ่มการแสดงครั้งแรกที่โรงละคร PETA ผลงานชิ้นนี้เดินทางไปในหลายชุมชนเพื่อการส่งเสริมการสร้างวินัยต่อเด็กด้วยวิธีสร้างสรรค์ ส่วนหนึ่งในผลงานหลายชิ้นของ ฟิลิปปินส์ เอ็ดดูเคชั่นแนล เธียเตอร์ แอสโซซิเอชั่น (Philippine Educational Theater Association) – PETA ARTS Zone Project โครงการศิลปะการแสดงที่ก้าวพรมแดนสู่บทบาททางการศึกษาเพื่อส่งเสริมประเด็นทางสังคม
จัดโดย
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
เจแปนฟาวน์เดชั่นเอเชียเซ็นเตอร์
ร่วมสนับสนุนโดย
สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
ผู้สนับสนุนหลัก:
บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน)
ผู้สนับสนุนโครงการ:
บริษัทฟาย เปเปอร์ ทาเคโอะ (ประเทศไทย) จำกัดและ
บริษัทแคนนอน มาร์เก็ตติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด