หัตถกรรมพื้นเมืองอันวิจิตรงดงามแห่งภูมิภาคโทโฮขุ จากประเทศญี่ปุ่น

หัตถกรรมพื้นเมืองอันวิจิตรงดงาม
แห่งภูมิภาคโทโฮขุ จากประเทศญี่ปุ่น

 

ไหสาเก จาก คาวาทสึระ ยุซาวะ
จ.อากิตะ
ว่าว “คินทาโร่กับยามะอุบะ”
จากจ.อาโอโมริ
ตะกร้าสานไม้ไผ่
จากจ.อาโอโมริ

 

กำหนดการแสดงงาน
Shiko Munakata,
“The Cave of Lion”,
Colored, wood block print 1953
ชิโกะ มุนาคาตะ, “The Cave of Lion”, สี, ภาพพิมพ์แกะไม้,  2496
กรุงเทพ
สถานที่: นิทรรศสถาน อาคารศิลปวัฒนธรรม
สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วัน/เวลา: วันศุกร์ที่ 16 มกราคม – วันศุกร์ที่ 27 กุมภาพันธ์ 2558
ระหว่างเวลา 9.00 – 17.00 น.
(หยุดวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
พิธีเปิด: วันศุกร์ที่ 16 มกราคม 2558 เวลา 17.00
จำนวนผู้เข้าชม 1,103 คน
ข้อมูลประชาสัมพันธ์ในสื่อ N:2 AC Dept1 Arts and Cultural Projects
FY20141501 Beautiful Handicrafts of Tohoku,
JapanlllReport lllclippingTohoku C

 

เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมกับสำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดนิทรรศการ “ศิลปหัตถกรรมอันงดงามแห่งโทโฮขุ ญี่ปุ่น” นิทรรศการสัญจรจากประเทศญี่ปุ่นที่จัดเพื่อระลึกถึงโอกาสครบรอบเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิที่เกิดขึ้นที่โทโฮขุเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2554 เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ภูมิภาคโทโฮขุที่ขึ้นชื่อด้านความงดงามของทัศนียภาพตามธรรมชาติและอุดมไปด้วยวัฒนธรรมท้องถิ่น และประวัติศาสตร์ ได้รับความเสียหายอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม แม้ว่าผู้คนในท้องถิ่นต่างจะได้รับผลกระทบจากภัยธรรมชาติในครั้งนั้น แต่พวกเขาได้ร่วมมือร่วมใจสร้างสรรค์ และมุ่งมั่นสร้างความสงบและความปกติสุขให้กลับคืนมาสู่ชีวิตของพวกเขาโดยเร็วเท่าที่จะทำได้

เครื่องเขินอัปปิ จากจ.อิวาเตะ

ผลงานจัดแสดงนิทรรศการทั้ง 70 ชิ้นนี้แสดงถึงเทคนิคชั้นสูงทางด้านศิลปหัตถกรรมแบบดั้งเดิมที่ฟูมฟักกันมาในภูมิภาคโทโฮขุของญี่ปุ่น อันประกอบด้วย เครื่องเขิน เครื่องเคลือบดินเผา  งานปัก สิ่งทอ เครื่องจักสาน งานดัดไม้ เครื่องโลหะ และงานวาดระบายสี เป็นต้น ทั้งหมดล้วนเป็นอุปกรณ์เครื่องใช้สอยในชีวิตประจำวันที่ใช้กันมาในญี่ปุ่นตั้งแต่อดีตกาล ผู้ชมจะได้รับรู้ถึงมรดกทางศิลปะและหัตถกรรมอันเป็นเอกลักษณ์อันดึงดูดของโทโฮขุจากความความงามของ ผลงานศิลปหัตถกรรมเหล่านี้ และจะช่วยให้เข้าใจภูมิปัญญาชาวบ้านที่ได้มาจากการใช้ชีวิตอย่างใกล้ชิดกับธรรมชาติ รวมถึงทักษะฝีมือ และความชำนาญที่พัฒนาขึ้นจากภูมิปัญญาเหล่านั้นได้มากยิ่งขึ้น

 

นักศึกษาเข้าลงทะเบียนเพื่อร่วมงานเปิดงาน
 

แขกพิเศษเข้าร่วมพิธีเปิดงานเทศกาล

 
ภาพถ่ายรวม
 
ผู้ร่วมงานชมนิทรรศการและชมรายละเอียดชิ้นงานที่แสดง
ภาพถ่ายรวมบริเวณที่จัดงานนิทรรศการ
วงดนตรีจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยบรรเลงเพลงญี่ปุ่น
เพื่อสร้างบรรยากาศระหว่างที่มีการนำชมนิทรรศการ
จัดโดย:
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ สำนักบริหารศิลปวัฒนธรรม
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สนับสนุนโดย: สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น
ประจำประเทศไทย