รายงานสรุปการบรรยายพิเศษและเวทีสานเสวนา Dialogue for Our Future
เวทีสานเสวนา
เพื่อสร้างอนาคตร่วมกัน
“สังคมสูงวัยไทย – ญี่ปุ่น : สูงวัยอย่างมีพลังในโลกยุคดิจิทัล”
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย สมาคมญี่ปุ่นแห่งประเทศไทย และ SASAKAWA PEACE FOUNDATION จะจัดงานเสวนาสาธารณะ หัวข้อ “สังคมสูงวัยไทย – ญี่ปุ่น : สูงวัยอย่างมีพลังในโลกยุคดิจิทัล (Digital and Active Ageing in Japan and Thailand )” ในวันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562 ณ ห้องประชุม 201 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ตั้งแต่เวลา 9.00 น. – 13.00 น. โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมนำเสนอข้อมูล แนวทางเชิงนโยบาย ปัญหาและข้อจำกัดต่างๆ ต่อมาตราการในการเตรียมพร้อมรับมือ สังคมสูงวัยในไทย – ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ตลอดจนบทบาทสื่อ คนรุ่นใหม่ และศิลปินผู้สูงวัยที่มีพลังในการสร้างสรรค์ ศิลปะวัฒนธรรม ต่อการสร้างพลังบวก และการพัฒนานวัตกรรมทางสังคมและธุรกิจเพื่อสังคมไทยในโลกยุคดิจิทัล รวมทั้งร่วมสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ และแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการตระหนักรู้ และเตรียมพร้อมของสังคมไทย ต่อการเปลี่ยนผ่านสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ในอนาคต
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ มีความยินดีที่จะขอเชิญท่านที่สนใจ เข้าร่วมรับฟังข้อคิดเห็นต่างๆ จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งงานด้านนโยบาย งานวิชาการ งานพัฒนาสื่อสร้างสรรค์ ศิลปวัฒนธรรม และนวัตกรรมต่างๆ โดยถอดบทเรียนจากประเทศญี่ปุ่นสู่ประเทศไทย เพื่อเตรียมพร้อมเข้าสู่ สังคมสูงวัยในอนาคต ซึ่งทางเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเสวนาในครั้งนี้จะส่งเสริมให้เกิดความเข้าใจร่วมกันและสร้างมิตรภาพที่ยั่งยืนระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
|
กำหนดการ
08.30 – 09.00 | ลงทะเบียน | |
09.00 – 09.15 | พิธีเปิด | |
09.15 – 09.45 | บรรยายพิเศษ (1) โดย Dr. Keiichiro Oizumi, The Japan Research Institute Inc. หัวข้อ “ความเหมือนและความต่างของนโยบายและมาตราการต่างๆในการเตรียมพร้อมสำหรับสังคมสูงวัยในญี่ปุ่นและไทย” |
|
09.45 – 10.15 | บรรยายพิเศษ (2) โดย Dr. Kim Sung Won, University of Tokyo หัวข้อ “สถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตของสังคมสูงวัยในเกาหลีใต้” |
|
10.15 – 10.30 | ถาม-ตอบ อภิปรายและร่วมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมโดย ศ.ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการโดย คุณประสาน อิงคนันท์ ผู้ก่อตั้งบริษัท บุญมีฤทธิ์ จำกัด และผู้ผลิตรายการ “ลุยไม่รู้โรย สูงวัยดี๊ดี และ The Senior รุ่นใหญ่หัวใจไร้ขีดจำกัด” |
|
10.30 – 10.45 | พักรับประทานอาหารว่าง ชา-กาแฟ |
(เวทีสานเสวนา ไทย – ญี่ปุ่น : บทบาทคนรุ่นใหม่ในการสร้างนวัตกรรมทางสังคมและธุรกิจ เพื่อผู้สูงวัยในโลกยุคติจิตัล)
10.45 – 11.30 | ร่วมเสวนาโดย Mr. Yojiro Koshi ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัท TalentEX จำกัด และ คุณธนากร พรหมยศ (แก๊ป) ผู้ร่วมก่อตั้ง กลุ่มธุรกิจเพื่อสังคม Young Happy ดำเนินรายการ โดย คุณประสาน อิงคนันท์ |
(เวทีสานเสวนา 2 : บทบาทสื่อ ศิลปะวัฒนธรรม ต่อการสร้างพลังบวก และเติมเต็มพลังชีวิตให้กับสังคมไทย โดยผู้สูงวัยที่มีพลังในโลกยุคดิจิตัล)
11.30 – 12.30 | ร่วมเสวนาโดย คุณภัทราวดี มีชูธน (ครูเล็ก) ผู้ก่อตั้ง และประธานคณะกรรมการบริหาร โรงเรียนภัทราวดี หัวหิน และ คุณประสาน อิงคนันท์ ผู้ก่อตั้งบริษัท บุญมีฤทธิ์ จำกัด และผู้ผลิตรายการ “ลุยไม่รู้โรย สูงวัยดี๊ดี และ The Senior รุ่นใหญ่หัวใจไร้ขีดจำกัด” |
|
12.30 – 12.45 | ถาม-ตอบ | |
12.45 – 13.00 | กล่าวปิดการเสวนา และเวทีสาธารณะ โดย ศ.ดร.วรเวศม์ สุวรรณระดา คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ยูอิจิ มัตสึโอะ matsuo@ba.jpf.go.jp
(ภาษาญี่ปุ่นและอังกฤษ)
วัฒนา อ่อนพานิช wathana@ba.jpf.go.jp
(ภาษาไทยและอังกฤษ)
ทมวรรณ เพ็งสถิตย์ tamawan@ba.jpf.go.jp
(ภาษาไทยและอังกฤษ)
The Japan Foundation, Bangkok
10th Fl. Serm-Mit Tower,
Sukhumvit 21, Bangkok
(Tel: 02-260-8560~3)
Facebook: https://www.facebook.com/jfbangkok/
Website: https://ba.jpf.go.jp/
ประวัติวิทยากร
(1) คุณภัทราวดี มีชูธน (ครูเล็ก)
สำเร็จการศึกษาทางด้านศิลปะการแสดงจากประเทศสหรัฐอเมริกา เริ่มเข้าสู่วงการภาพยนตร์ จากเรื่อง “ไม่มีสวรรค์สำหรับคุณ” ออกฉายที่ศาลาเฉลิมกรุง ในปี 2516 และได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง จากนั้นมีผลงานละครอย่างต่อเนื่อง และประสบความสำเร็จมาโดยตลอด เช่น น้ำพุ” ภาพยนตร์ชื่อดังตลอดกาล ในปี 2527 ซึ่งครูเล็กรับบทเป็น “แม่ของน้ำพุ” และอีกหนึ่งเรื่องละครโทรทัศน์ฟอร์มยักษ์ “บัลลังก์เมฆ” รับบทเป็น “ปานรุ้ง” แม่ที่หวังดีอยากให้ลูกมีชีวิตที่ดี จนล่าสุดในปี 2561 กลับมารับงานละครอีกครั้งหลังห่างหายไป 10 ปี ในบทบาทของ “อาม่า” แห่งตระกูลจิระอนันต์ ซึ่งรักลูกหลานไม่เท่ากัน จนเกิดเหตุโศกนาฏกรรมที่แฟนละครร่วมไขปริศนาครั้งใหญ่ว่า “ใครฆ่าประเสริฐ” ในละคร “เลือดข้นคนจาง
ตลอดระยะเวลากว่า 4 ทศวรรษ ครูเล็ก เป็นผู้สร้างสรรค์งานละครโทรทัศน์มาแล้วมากมาย เป็นผู้ประพันธ์ กำกับการแสดง และเป็นนักแสดงให้กับช่อง 3 และช่อง 9 จนได้ก่อตั้ง คณะละครภัทราวดี เธียเตอร์ (Patravadi Theatre and Dance Company) เน้นการนำวรรณคดี วรรณกรรมไทย มานำเสนอในรูปแบบร่วมสมัยและสมัยใหม่ สร้างลูกศิษย์และบุคคลากรในวงการแสดงเป็นจำนวนมาก จนได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงประจำปี 2557
ปัจจุบัน ครูเล็กเป็นผู้อำนวยการและครูสอนการแสดงของโรงละครภัทราวดีเธียเตอร์ และยังเจียดเวลาไปสอนพิเศษและบรรยายวิชาศิลปะการแสดงที่ โรงเรียนภัทราวดีมัธยมศึกษา และโรงละครวิกหัวหิน ซึ่งครูเล็ก เป็นผู้ก่อตั้งด้วยสถาปัตยกรรมแบบโมเดิร์น ที่พรั่งพร้อมไปด้วยระบบเทคนิคแสงเสียงที่ได้มาตรฐาน ระดับสากล ที่มีพื้นที่กว่า 30 ไร่
(2) ศาสตราจารย์ ดร. วรเวศม์ สุวรรณระดา
จบการศึกษาระดับปริญญาเอกทางด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น ท่านมีความเชี่ยวชาญทางด้าน Public Economics และ Labor and Demographic Economics โดยมีผลงานวิจัยที่น่าสนใจ เช่น “Wages, Land Prices and Local Public Goods in Thailand” (2548) “การออกแบบระบบบำนาญแห่งชาติ (ระยะที่ 1)” (2552) “ระบบการดูแลระยะยาวเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงเพื่อวัยสูงอายุ” (2553) ฯลฯ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเศรษฐศาสตร์ ประจำปี พ.ศ. 2562 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
(3) คุณประสาน อิงคนันท์
จบการศึกษาจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และปริญญาโท สาขา Interactive Multimedia, จาก สถาบัน London Institute (London College of Printing) ประเทศอังกฤษ อดีตโปรดิวเซอร์ และคนเดินเรื่อง รายการ “คนค้นคน” บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการบริษัท บุญมีฤทธิ์ จำกัด ผู้ผลิตรายการโทรทัศน์ สารคดี และสื่อสุขภาวะในเชิงสร้างสรรค์ ถอดกลยุทธ์การสร้างคอนเทนท์ให้น่าสนใจ วิธีย่อยข้อมูลเชิงลึกให้ง่ายตีโจทย์ประเด็นสังคม สุขภาพ ผู้สูงอายุ และสิ่งแวดล้อมด้วยมุมมองใหม่ รวมถึงการนำเสนออย่างแตกต่าง และไม่จำกัดอยู่ในแพลตฟอร์มที่ตายตัวเพื่อให้ผู้ชมวัยไหนๆ ก็ดูได้ และดูดี โดยเฉพาะเป็นผู้ผลิตรายการ “ลุยไม่รู้โรย สูงวัยดี๊ดี และ The Senior รุ่นใหญ่หัวใจไร้ขีดจำกัด” ทางสถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส
(4) คุณธนากร พรหมยศ (แก๊ป)
1 ในผู้ร่วมก่อตั้งเครือข่าย Young Happy ในรูปแบบของเอสอี-ธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise : SE) เพื่อสร้างสะพานเชื่อมระหว่างผู้สูงอายุกับเทคโนโลยี เพื่อให้กลุ่มปัจฉิมวัยที่กำลังจะเป็นกลุ่มประชากรที่มีจำนวนมากที่สุดในสังคมไทย ได้มีชีวิตที่ง่ายขึ้น มีคุณค่า มีความสุขยิ่งขึ้น
(5) Dr. Keiichiro OIZUMI
สำเร็จการศึกษาปริญญาเอกจากมหาวิทยาลัยเกียวโต ทางด้านอาณาบริเวณศึกษา เป็นนักเศรษฐกรอาวุโส ประจำสถาบันวิจัยแห่งประเทศญี่ปุ่น มีความเชี่ยวชาญเรื่องการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรและการเติบโตทางเศรษฐกินในภูมิภาคเอเชีย ตลอดจนประเด็นปัญหาทางสังคมต่างๆ อันเป็นผลมาจากการขยายตัวของเมืองใหญ่ โดยเฉพาะประเทศต่างๆ ในอาเซียน ในปี พ.ศ. 2550 หนังสือ The Ageing Asia (สังคมสูงวัยในเอเชีย) ได้รับรางวัลดีเด่นทางด้านการส่งเสริมการศึกษาวิจัยของประเทศกำลังพัฒนา จาก IDE-JETRO ปัจจุบัน Dr. OIZUMI เป็นผู้อำนวยการของสมาคมเอเชียศึกษา และสมาคมไทยศึกษาแห่งประเทศญี่ปุ่น
(6) Mr. Yojiro KOSHI
สำเร็จการศึกษาทางด้านจิตวิทยาสังคม มหาวิทยาลัยโตเกียว เริ่มทำงานกับบริษัทที่ปรึกษา JMA และบริษัทโทรคมนาคมของญี่ปุ่น KDDI ก่อนจะก่อตั้งบริษัทของตัวเองชื่อ TalentEX ในปีพ.ศ. 2556 โดยริเริ่มการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆมาเพื่อตอบโจทย์ในงานด้านทรัพยากรบุคคล ที่รวบรวมเว็บไซด์จัดหางานของเครือข่ายบริษัทญี่ปุ่นในเมืองไทยมากที่สุด เช่น Waku Waku และ Happy HR
(7) Assoc. Prof. Dr. Kim Sung Won
สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาสวัสดิการสังคม จากมหาวิทยาลัยยอนเซ ประเทศเกาหลีใต้ และระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ทางด้านสังคมวิทยา จากมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น หลังจากนั้นทำงานสอนหนังสือที่คณะสังคมวิทยาและสังคมสงเคราะห์ มหาวิทยาลัยเมจิ กะกุอิน ก่อนจะย้ายมาเป็นอาจารย์ที่สำนักบัณฑิตวิทยาลัยทางด้านมนุษยศาสตร์และสังคมวิทยา ควบคู่กับการเป็นนักวิจัยให้กับสถาบันสังคมศาสตร์แห่งมหาวิทยาโตเกียว ท่านมีความรู้ ความเชี่ยวชาญทางด้านการศึกษาเปรียบเทียบเกี่ยวกับ “รัฐสวัสดิการ” และ “สังคมวิทยาสวัสดิการ” โดยเฉพาะผลงานวิชาการอันโดดเด่นได้แก่ หนังสือการศึกษาเปรียบเทียบรัฐสวัสดิการในญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ : ระบบการจ้างงาน และประกันสังคม ในประเทศที่พัฒนาแล้ว” เป็นต้น