“เอเชียเซ็นเตอร์ ครอสทอล์ก”
ซีรี่ย์สนทนาออนไลน์ระหว่างศิลปินและผู้เชี่ยวชาญวัฒนธรรม
จากญี่ปุ่นและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
[ชื่องาน] | เอเชียเซ็นเตอร์ ครอสทอล์ก: เส้นทางวัฒนธรรมหลังสถานการณ์โควิด-19 |
[จัดทำวิดีโอ] | เจแปนฟาวน์เดชั่น เอเชียนเซ็นเตอร์ |
[กำหนดการ] | ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม เป็นต้นไป |
[ช่องทางรับชม] | https://youtube.com/playlist?list=PLR82S6MFHeImFtHyer3qxcR-L-bj3X0uZ |
[จำนวนวิดีโอ] | 10 วิดีโอ (ความยาวประมาณ 30 นาทีต่อวิดีโอ) |
[หัวข้อ] | ศิลปะการแสดง, การเต้นร่วมสมัย, การออกแบบอย่างยั่งยืน, งานฝีมือ, ศิลปะร่วมสมัย, การแสดงศิลปะพื้นบ้าน, เทศกาลและชุมชน, ออเครสตร้า, สถาปัตยกรรม |
[คำบรรยาย] | ญี่ปุ่น, อังกฤษ (และบางภาษาที่จำเป็นของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้) |
[จัดทำวิดีโอ] | Ennet, Inc. |
เจแปนฟาวน์เดชั่น นำเสนอซีรี่ย์สนทนาออนไลน์ระหว่างศิลปินและผู้เชี่ยวชาญวัฒนธรรมจากญี่ปุ่นและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ชื่อ “เอเชียเซ็นเตอร์ ครอสทอล์ก: เส้นทางวัฒนธรรมหลังสถานการณ์โควิด-19” สามารถรับชมวิดีโอได้ฟรีบนช่องยูทูปทางการของ เจแปนฟาวน์เดชั่น (สำนักงานใหญ่) ในระหว่างที่การข้ามชายแดนแลกเปลี่ยนยังคงถูกจำกัดเนื่องด้วยสถานการณ์โควิด-19 ซีรี่ย์นี้ได้เชิญบุคคลที่ทำงานอยู่ในแวดวงวัฒนธรรม ตั้งแต่ ศิลปะพื้นบ้าน จนถึง ศิลปะร่วมสมัย เพื่อที่จะได้พบปะและสนทนาออนไลน์กัน
โควิด-19 มีผลกระทบต่อศิลปะและวัฒนธรรมทุกประเทศต่างกันไป ศิลปินและผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมต่างต้องทำงานภายใต้ข้อจำกัดใหม่ด้วยวิธีแสนสร้างสรรค์ของตนเอง วิดีโอสนทนาทั้ง 10 ชิ้นในซีรี่ย์นี้เต็มไปด้วยรายละเอียดน่าสนใจถึงวิธีการที่พวกเขาเหล่านักสร้างสรรค์จะกำหนดทิศทางโลกหลังวิกฤตการระบาด ผู้เสวนาจะมาร่วมอภิปรายหลากหลายหัวข้อ รวมถึงความท้าทายในการดำเนินการโปรเจคและสร้างมรดกทางศิลปะและวัฒนธรรม พวกเขายังแตะประเด็นกลับไปพิจารณางานตัวเองกับสังคมพร้อมแชร์ไอเดียและจุดมุ่งหมายใหม่ วิดีโอสนทนาแต่ละชิ้นจะเกริ่นนำด้วยการแนะนำผลงานของผู้ร่วมเสวนาและถ่ายทำที่ประเทศตน ทำให้ผู้ชมได้มีส่วนร่วมและเรียนรู้ไปด้วยกัน แม้ไม่ได้คุ้นเคยกับผู้พูดก็ตาม
แนะนำเนื้อหา และ ผู้พูด:
■ ศิลปะการแสดง <ลาว กับ ญี่ปุ่น>
เราได้เชิญนักศิลปะการแสดงจากญี่ปุ่นและลาวที่ต้องการถ่ายทอดการเต้นและ object theatre สองศิลปินได้มีส่วนร่วมในธีม “สิ่งของและร่างกาย” โดยจะมาอภิปรายมุมมองและความหมายของงานพวกเขาในบริบทที่กว้างขึ้นของศิลปะการแสดง
คำบรรยาย: ภาษาอังกฤษ / ภาษาญี่ปุ่น / ภาษาลาว
ลัทธนโขน อินสิเสียงเมย์
ผู้กำกับ / นักแสดง
ชิรางะ โมะโมะโกะ
นักออกแบบท่าเต้น / ผู้กำกับ / นักเต้น
ผู้ดำเนินรายการ:
เซ็นโทขุ มิโฮะ
ผู้ประสานงานกิจกรรมวัฒนธรรม
■ การเต้นร่วมสมัย <มาเลเซีย กับ ญี่ปุ่น>
นักเต้นร่วมสมัยจากมาเลเซียและญี่ปุ่นจะมาแลกเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับการเต้นในประเทศและต่างประเทศรวมถึงข้อแตกต่างระหว่างประเทศ และ อนาคตของการเต้น
คำบรรยาย: ภาษาอังกฤษ / ภาษาญี่ปุ่น
มาริออง ดี’ครูซ
นักเต้น / นักออกแบบท่าเต้น / โปรดิวเซอร์ / ครู
โมริยามะ ไคจิ
นักเต้น / นักออกแบบท่าเต้น / ผู้กำกับ
ผู้ดำเนินรายการ:
โนริโคชิ ทาคาโอะ
นักเขียน / นักวิจารณ์การเต้น
■ การออกแบบอย่างยั่งยืน <อินโดนีเซีย กับ ญี่ปุ่น>
เพื่อที่จะตระหนักถึงความท้าทายปัจจุบันในการบริโภคและผลิตจำนวนมาก เราได้เชิญผู้เชี่ยวชาญที่วิจัยและพัฒนาวัสดุสิ่งทอที่สามารถนำกลับมาหมุนเวียนในอุตสาหกรรมแฟชั่นได้ เพื่อสำรวจไอเดียงานออกแบบอย่างยั่งยืนใหม่ๆ
คำบรรยาย: ภาษาอังกฤษ / ภาษาญี่ปุ่น / ภาษาอินโดเนเซีย
อันนิสา วิบิ
ผู้ร่วมก่อตั้ง, ประธานฝ่ายปฎิบัติการ
MYCL (Mycotech Lab)
มิสุโนะ ไดจิโระ
นักวิจัยการออกแบบ
ผู้ดำเนินรายการ:
ยามาซากิ เรียว
นักออกแบบชุมชน
■ งานฝีมือ <ไทย กับ ญี่ปุ่น>
จาก Japan Folk Crafts Museum และ TCDC (ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ) ซึ่งรวบรวมงานออกแบบอุตสาหกรรม เราเชิญผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาและโปรโมตงานฝีมือและหัตถศิลป์พื้นบ้านในประเทศมาร่วมกันสำรวจพื้นเพประวัติศาสตร์ ความท้าทายในปัจจุบันและงานฝีมือในอุดมคติของแต่ละชาติ
คำบรรยาย: ภาษาอังกฤษ / ภาษาญี่ปุ่น / ภาษาไทย
ชุตยาเวศ สินธุพันธุ์
ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ขอนแก่น
ฟุรุยะ มายุมิ
ภัณฑารักษ์
The Japan Folk Crafts Museum
ผู้ดำเนินรายการ:
อุชิโระโชจิ มาซาฮิโระ
นักประวัติศาสตร์ศิลปะ / ผู้อำนวยการ Kitakyushu Municipal Museum of Art
■ ศิลปะร่วมสมัย <สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ กับ ญี่ปุ่น>
เราเชิญศิลปินที่ใช้เรือนร่างเป็นสื่อกลาง อย่างเช่นในการบรรยายหรือการเต้น และเลือกกลุ่มชุมชนเพื่อการสื่อสารทางศิลปะ พวกเขาจะแชร์ความเห็นถึงการใช้ลักษณะทางกายภาพที่เป็นเอกลักษณ์ในงานของตน ความแตกต่างในงานวิดีโอและโปรเจคที่โฟกัสที่ประเทศหรือภูมิภาค
คำบรรยาย: ภาษาอังกฤษ / ภาษาญี่ปุ่น
โฮ รุย อัน
ศิลปิน / นักเขียน
เอย์ซ่า จอคสัน
ศิลปิน / นักออกแบบท่าเต้น / นักเต้น
คาโต้ ทซึบาสะ
ศิลปิน
ผู้ดำเนินรายการ:
ฮาชิโมโตะ อาทซึสะ
ภัณฑารักษ์ The National Museum of Art, Osaka
■ ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน 1 <เวียดนาม มาเลเซีย กับ ญี่ปุ่น>
การสนทนาสามทางระหว่างนักเชิดหุ่นกระบอกน้ำชาวเวียดนาม, นักเชิดหุ่นวายัง กูลิต ชาวมาเลย์เซีย และ นักเชิดหุ่น
บุนราขุ ชาวญีปุ่น รวมอภิปรายความหมายในการเลือกศิลปะพื้นบ้านเป็นอาชีพ การส่งต่อวัฒนธรรมที่รุ่มรวยไปด้วยประวัตินี้สู่อีกรุ่นขณะที่แนะนำศิลปะพื้นบ้านของตนไปด้วย
คำบรรยาย: ภาษาอังกฤษ / ภาษาญี่ปุ่น / ภาษาเวียดนาม / ภาษามาเลเซีย
ทราน เคว ควอค
นักเชิดหุ่นกระบอกน้ำ
Thang Long Water Puppet Theatre
คำรูล ฮัซซิน
นักเชิดหุ่น วายัง กูลิต / นักดนตรี
โยชิดะ มิโนชิโระ
นักเชิดหุ่นบุนราขุ
ผู้ดำเนินรายการ:
ทาบาตะ โนริโกะ
ประธานกรรมการบริหาร Adventure Japan Co., Ltd
■ ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน 2 <กัมพูชา กับ ญี่ปุ่น>
จากศูนย์กลางจักรวรรดิเขมรในอดีตที่กัมพูชา กับ หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ตีนเขาศักดิ์สิทธิ์ ยอดเขาฮาคุซังในญี่ปุ่น เราได้เชิญผู้สืบสานศิลปะพื้นบ้านที่รุ่มรวยความปัจเจก มาพูดคุยถึงหัวข้อต่างๆเช่น ความน่าประหลาดใจที่ค้นพบลักษณะคล้ายคลึงกันในรากการแสดง และ ความยากลำบากในการทำให้ประเพณียังคงอยู่
คำบรรยาย: ภาษาอังกฤษ / ภาษาญี่ปุ่น
เชียน โซพัน
ผู้อำนวยการคณะหนังใหญ่โลกตาตีเชียน
Sbek Thom Ty Chean’s Troupe
โรงละครหุ่น ฮิงาชิ ฟุตาคุจิ
โดอิชิตะ ซาโตชิ
นักเชิดหุ่น / เลขาธิการใหญ่
โรงละครหุ่น ฮิงาชิ ฟุตาคุจิ
ยามางุจิ ฮิซาฮิโตะ
นักเชิดหุ่น จูเนียร์
ผู้ดำเนินรายการ:
ทซึคาดะ ชิเอมิ
กรรมการ Foundation Modern Puppet Center / โปรดิวเซอร์โรงละครหุ่น
■ เทศกาล และ ชุมชน <กัมพูชา กับ ญี่ปุ่น>
เทศกาลท้องถิ่น และ เทศกาลยุคใหม่ล้วนถูกคุกคามจากโควิด-19 การสนทนานี้จะร่วมสำรวจแก่นของ “เทศกาล” และหัวใจหลักซึ่งคือการได้รวมตัวกันโดยอ้างอิงจากชุมชนและตัวตนทางวัฒนธรรม
คำบรรยาย: ภาษาอังกฤษ / ภาษาญี่ปุ่น / ภาษาเขมร
ฤทธี โลมอปิช
ผู้กำกับภาพยนตร์ / ผู้อำนวยการเทศกาล
เนงิ ริวอิจิ
ตัวแทน microAction / ผู้จัดงาน SOUL BEAT ASIA / ผู้กำกับ STONE’S co,ltd
ผู้ดำเนินรายการ:
โออิชิ ฮะจิเมะ
นักเขียน / นักคัดเลือกเพลง
■ ออเครสตร้า <ไทย เวียดนาม กับ ญี่ปุ่น>
วัฒนธรรมของซิมโฟนิคออเครสร้าซึ่งนำเข้าจากฟากตะวันตกได้ฝังรากและพัฒนาในเอเชียอย่างไร? ผู้ร่วมอภิปรายจะมาเล่าถึงสถานการณ์ปัจจุบันและอนาคตในประเทศไทย เวียดนาม และญี่ปุ่น รวมถึงความเป็นไปได้ของวัฒนธรรมใหม่ที่อาจเกิดในเอเชีย
คำบรรยาย: ภาษาอังกฤษ / ภาษาญี่ปุ่น / ภาษาไทย
วันชัย ญาณอุบล
ผู้จัดการ RBSO
เหงียน หมาน ดุย หลิน
นักประพันธ์ และ หัวหน้าแผนก Performing Arts Department ของ HBSO
อิโซเบะ ซิวเฮย์
นักดนตรีคลาริเน็ต / ศาสตราจารย์พิเศษ Toho College of Music
ผู้ดำเนินรายการ:
คาคิทซึกะ ทาคุมะ
ผู้จัดการ KOBE Cultural Foundation
■ สถาปัตยกรรม <อินโดนีเซีย และ เวียดนาม/ญี่ปุ่น>
สนทนาระหว่างสถาปนิกชื่อดังในอินโดนีเซียและสถาปนิกญีปุ่นที่อาศัยอยู่ในเวียดนาม พวกเขาจะมาแชร์ความเห็นเกี่ยวกับงานออกแบบสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่ครอบคลุมถึงภูมิประเทศและวัฒนธรรมส่วนต่างๆของเอเชีย รวมถึงแลกเปลี่ยนความเห็นเกี่ยวกับอนาคตของงานสถาปัตยกรรม
คำบรรยาย: ภาษาอังกฤษ / ภาษาญี่ปุ่น / ภาษาอินโดเนเซีย
อันดรา มาติน
สถาปนิก
นิชิซาวะ ชุนริ
สถาปนิก
ผู้ดำเนินรายการ:
อิงะระชิ ทาโระ
นักวิจารณ์สถาปัตย์ /
นักประวัติศาสตร์สถาปัตย์
แนะนำฟีเจอร์อื่น:
1. แอนิเมชันเปิด
ภาพแอนิชันเปิดของแต่ละวิดีโอนั้นสร้างสรรค์โดยศิลปินชาวอินโดเนเซีย คลาร่า คริสทีน วิจายา เธอเคยเดินทางมาญี่ปุ่น และได้ใส่สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์อ้างอิงจากสนทนาแต่ละวิดีโอเข้าไปในภาพ องค์ประกอบอันโดดเด่น สีฉูดฉาด และแพทเทิร์นทำให้เป็นวิดีโอเปิดที่น่าดึงดูดสำหรับซีรี่ย์นี้
2. เพลงประกอบ “การเดินทาง (Journey)” และองค์ประกอบวิดีโอ
ซีรี่ย์นี้มีธีมร่วมกันคือ “การเดินทาง” เพื่อให้เข้ากับสนทนาวิดีโอรวมฟุตเทจจากญี่ปุ่นและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นำเสนอผลงานของผู้เสวนา
ติดต่อเรา: เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
ชั้น 10 อาคารเสริมมิตร ทาวเวอร์ 159 ถ.สุขุมวิท 21
กรุงทพฯ 10110 ประเทศไทย
โทร 02-260-8560-4 แฟกซ์ 02-260-8565
อีเมล acdept@arisa
เฟสบุ๊ค: jfbangkok เว็บไซต์: www.ba.jpf.go.jp
จัดโดย