J-Talk: Diggin’ Culture #04
คอสเพลย์และอิทธิพลในการนำเสนออัตลักษณ์
โดย ดร.มิกิ โอคุโบะ
อาจารย์ประจำคณะศิลปะและการออกแบบแห่งมหาวิทยาลัยปารีส 8
(Faculty of Art and Design, University of Paris 8)
Photo: Yanphon Singhaseni |
|
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ กลับมาอีกครั้งกับการจัดงานเสวนาในบรรยากาศเป็นกันเองภายใต้ชื่อ “J-Talk: Diggin’ Culture #4” ที่จะนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสังคมของประเทศญี่ปุ่น เพื่อให้คนไทยที่มีความสนใจได้พัฒนาความรู้และสร้างความเข้าใจในวัฒนธรรมและสังคมของประเทศญี่ปุ่นได้มากยิ่งขึ้น J-Talkเป็นการเสวนาที่มุ่งให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้และเปิดรับมุมมองอื่นๆเกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมญี่ปุ่น พร้อมกับสนุกไปกับสาระความรู้แบบเต็มอิ่ม ดังนั้น ผู้ที่สนใจสามารถเข้าร่วมได้โดยไม่ต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องที่เกี่ยวข้อง
J-Talk ในครั้งที่ 4 นี้ เป็นหัวข้อเรื่อง “คอสเพลย์และอิทธิพลในการนำเสนออัตลักษณ์” คอสเพลย์ (Cosplay) เป็นหนึ่งในป๊อปคัลเจอร์ ของญี่ปุ่นที่ได้รับความสนใจอย่างมากในช่วงปี 2000 เมื่อภาพของกลุ่มเด็กวัยรุ่นแต่งกายเลียนแบบตัวละครจากเกมส์หรือมังงะเดินกันขวักไขว่ในย่านอากิฮาบาระถูกนำเสนอผ่านสื่อต่างประเทศทั้งในยุโรปและหลายประเทศในเอเชีย คำว่าคอสเพลย์จึงกลายเป็นสัญลักษณ์ที่นำเสนอประเทศญี่ปุ่นในฐานะ “Cool Japan” และยังหยิบยื่นความมีตัวตนของวัยรุ่นทั่วโลกที่หลงใหลการ์ตูนและอนิเมชั่น ในกลุ่มผู้แต่งคอสเพลย์ นอกจากการได้พบปะกันตามงานอีเวนท์ต่างๆแล้ว คอสเพลย์ไม่ได้เป็นเพียงแค่การแต่งกายเลียนแบบ แต่ทำให้เกิดการรวมกลุ่มเป็นสังคมบนโลกอินเตอร์เน็ตและนำไปสู่กิจกรรมที่ส่งเสริมจินตนาการในรูปแบบอื่นๆ เช่นกัน หากมองคอสเพลย์ในแง่มุมทางสังคมแล้วนั้น “การแต่งให้ต่าง” นับเป็นอีกวิธีหนึ่งในการแก้ปัญหาต่างๆผ่านการนำเสนอตัวตนของผู้แต่งและการแต่งกายเลียนแบบยังนำไปสู่การออกจากวิถีชีวิตแบบเดิมซึ่งส่งผลต่อจิตวิญญาณของผู้แต่งเช่นกัน
การบรรยายในครั้งนี้ จะนำเสนอเรื่องราวการแต่งคอสเพลย์ในแบบ Takenoko-zoku (1980s)*1, Yankee (1980-90s)*2, Gyaru (1990-2000s)*3 และ Gothic & Lolita (2000s) ตั้งแต่ภูมิหลังในเชิงประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ซึ่งจะนำไปสู่เรื่องราวความหมายของการนำเสนอตัวตนและอัตลักษณ์ของผู้แต่งคอสเพลย์ รวมไปถึงแก่นของคอสเพลย์ในฐานะ “การแต่งให้ต่าง” เพื่อออกจากกรอบเดิมๆ พร้อมกับนำเสนอพัฒนาการของวัฒนธรรมคอสเพลย์ทั้งในไทยและฝรั่งเศส เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และประเมินเส้นทางในอนาคตของวัฒนธรรมคอสเพลย์
*1 กลุ่มนักเต้นที่แต่งกายสีสันสดใสและทำกิจกรรมแถวฮาราจูกุ
*2 กลุ่มนักเรียนม.ปลายของญี่ปุ่น ที่มีพฤติกรรมแบบหัวโจกในโรงเรียน *3 กลุ่มเด็กสาวที่ชื่นชอบสตรีทแฟชั่น และมีสไตล์การแต่งหน้าที่เป็นเอกลักษณ์ |
วิทยากร ดร.มิกิ โอคุโบะ – อาจารย์โอคุโบะเกิดเมื่อปี 1984 ที่เมืองซัปโปโร ปัจจุบันเป็นอาจารย์ที่คณะศิลปะและการออกแบบแห่งมหาวิทยาลัยปารีส 8 และรับหน้าที่เป็นภัณฑารักษ์ สาขาวิชาที่เชี่ยวชาญคือศิลปะร่วมสมัย, Self-representation theory, ทฤษฎีป๊อปคัลเจอร์ และทฤษฎีแฟชั่น ผลงานการเขียนได้แก่ Exposition de soi à l’époque mobile/liquide (Contemporary Representations of the Self Characterized by Mobility and Liquidity) และ Arts Awareness
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
ยูอิจิ มัตสึโอะ matsuo@ba.jpf.go.jp
(ภาษาญี่ปุ่นและอังกฤษ)
วัฒนา อ่อนพานิช wathana@ba.jpf.go.jp
(ภาษาไทยและอังกฤษ)
ทมวรรณ เพ็งสถิตย์ tamawan@ba.jpf.go.jp
(ภาษาไทยและอังกฤษ)
สนับสนุนโดย
สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
The Japan Foundation, Bangkok
10th Fl. Serm-Mit Tower, Sukhumvit 21,
Bangkok (Tel: 02-260-8560~3)
Facebook: https://www.facebook.com/jfbangkok/
Website: https://ba.jpf.go.jp/