เสวนาเกี่ยวกับแนวคิดมิงเก “Everyday Contem: โอกาสในการยกระดับและขับเคลื่อนงานหัตถศิลป์”

เสวนาเกี่ยวกับแนวคิดมิงเก

Everyday Contem: โอกาสในการยกระดับและขับเคลื่อนงานหัตถศิลป์

     
  วัน วันอาทิตย์ที่  3 ธันวาคม 2566
  เวลา 13.30 – 14.30
  สถานที่ สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีล้านนา  เชียงใหม่ ติดกับ
ศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเชียงใหม่ (TCDC Chiang Mai)
  จำนวนผู้ร่วมงาน: 35 คน
  ภาษา: เสวนาเป็นภาษาอังกฤษ

เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมกับศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเชียงใหม่ภายใต้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) จัดงานเสวนาพิเศษ “Everyday Contem: โอกาสในการยกระดับและขับเคลื่อนงานหัตถศิลป์” วันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม 2565 เวลา 13.30 – 14.30 น. ณ ศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเชียงใหม่

งานเสวนานี้มีจุดประสงค์เพื่อสะท้อนถึงแนวทางว่าเราสามารถเรียนรู้และปรับใช้แนวคิดเรื่องมิงเกกับสิ่งท้าทายต่างๆที่ช่างฝีมือพื้นบ้านในภาคเหนือและภูมิภาคอื่นๆของประเทศไทยกำลังประสบได้อย่างไรในสถานการณ์ปัจจุบันที่คุณค่าดั้งเดิมของงานหัตถศิลป์และช่างฝีมือถูกบดบัง หรือถ้าไม่ได้ถูกลดทอนในโลกที่กำลังเปลี่ยนไปนี้ แต่เดิมนั้น มิงเก (民芸) แปลว่า “งานฝีมือพื้นบ้าน” หรือ “ศิลปะพื้นบ้าน” ที่เป็นคำที่สร้างขึ้นโดย ยานางิ โซเอ็ทสึ (ค.ศ. 1889-1961) และเหล่าผองเพื่อนช่างปั้น ฮามาดะ โชจิ (ค.ศ. 1984 -1978) และคาวาอิ คังจิโระ (ค.ศ. 1890-1966) แนวคิดมิงเกนั้นก่อกำเนิดขึ้นมาท่ามกลางช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงที่เกิดการทำให้เป็นตะวันตกและการทำให้เป็นอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่นในฐานะเป็นความพยายามที่จะยืนหยัดเน้นย้ำเรื่องความงามที่เรียบง่ายและใช้ประโยชน์ได้ของวัตถุที่ใช้ในชีวิตประจำวันที่สร้างสรรค์โดยช่างฝีมือนิรนาม มิงเกจึงถูกมองว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นท่ามกลางฉากหลังของรูปแบบศิลปะชั้นสูงอื่นๆที่รังสรรค์โดยศิลปินผู้มีชื่อเสียง แนวคิดมิงเกให้ความสำคัญกับความงาม “ที่เกิด”ในสังคม “ชุมชน” ที่ผู้คนไม่เพียงแต่ร่วมมือกันแต่ยังสอดคล้องกับธรรมชาติรอบตัวอีกด้วย  เมื่อเราหันกลับมามองสถานการณ์งานหัตถศิลป์พื้นบ้านของไทยในปัจจุบัน มันถึงเวลาแล้วหรือไม่ที่เราจะทบทวนเกี่ยวกับเส้นทางที่เดินต่อไปข้างหน้าที่จะทำให้ช่างฝีมือและงานฝีมือสามารถอยู่รอดผ่านความร่วมมือเครือข่ายที่สร้างสรรค์ในขณะที่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ดั้งเดิมไว้กับทรัพยากรธรรมชาติที่มีในท้องถิ่น

ในโอกาสนี้เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ จึงเชิญชวนสานเสวนากับคุณโยชิซาว่า โทะโมะที่มีความรู้เรื่อง            มิงเกอย่างกว้างขวางเพื่อบอกเล่าแลกเปลี่ยนกับผู้ฟังถึงต้นกำเนิดมิงเกในประเทศญี่ปุ่นตลอดจนเส้นทางพัฒนาในปัจจุบันโดยจะเผยถึงเหตุปัจจัยสำคัญที่ทำให้แก่นแท้ของมิงเกยังคงเกี่ยวข้องอย่างขาดไม่ได้กับหัตถศิลป์ญี่ปุ่นจวบจนทุกวันนี้ผ่านมุมมองและประสบการณ์ที่สะสมมา โดยเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการเสวนานี้จะนำไปสู่การเรียนรู้และความเข้าใจร่วมกันถึงวิธีการที่จะเน้นย้ำความเป็นตัวตนของงานฝีมือพื้นบ้านของไทยโดยเกิดจากความร่วมมือระหว่างช่างฝีมือและนักออกแบบ เพื่อก้าวไปข้างหน้าโดยอาศัยคุณค่าและประสบการณ์ที่เรียนรู้ได้จากมิงเกของประเทศญี่ปุ่น

เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมจัดงานนี้ในเชียงใหม่กับศูนย์สร้างสรรค์การออกแบบเชียงใหม่ภายใต้สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลงานออกแบบเชียงใหม่ 2556 TRANS – FORMING LOCAL ปรับตัว ต่อยอด ท้องถิ่น เติบโต

ตารางกิจกรรม
เชียงใหม่
สถานที่ สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีลานนา เชียงใหม่
วันอาทิตย์ที่ 3 ธันวาคม 2566
13.00 – 13.30       ลงทะเบียน
13.30 – 14.15       เสวนาโดยคุณโยชิซาว่า โทโมะ
14.15 – 14.30       ถาม-ตอบ

เกี่ยวกับวิทยากร

Photo courtesy of Yoshizawa Tomo

คุณโยชิซาว่า โทะโมะ
Cultural translator

เกิดในครอบครัวช่างฝีมือ มารดาเป็นช่างทอผ้าไหม ในขณะที่บิดาเป็นช่างทำโกโตะซึ่งเป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งของญี่ปุ่นที่ทำมาจากไม้พอโลเนีย ปู่ของเธอได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติทางด้านเทคนิครูปแบบการทอ

หลังจากจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัย Surrey ที่สหราชอาณาจักร โทโมะทำงานที่ MTV ญี่ปุ่นและตามด้วยการผกผันเข้าสู่โลกของงานฝีมือญี่ปุ่นในตำแหน่งผู้จัดการร้าน และจากงานในตำแหน่งต่างๆ ที่ผ่านมาทำให้เธอเห็นความสำคัญของการสื่อสาร เธอได้รับการแต่งตั้งในฐานะผู้ประชาสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมจากเทศบาลเมืองโตเกียวอันนำไปสู่การจัดงานโตเกียวโอลิมปิก 2020

โยชิซาว่าทำงานใกล้ชิดกับ William Morris Gallery ที่ลอนดอน สหราชอาณาจักรเพื่อเตรียมนิทรรศการ “Mingei/ Art Without Heroes” ที่จะเริ่มต้นเดือนมีนาคม ค.ศ. 2024 และเขียนคอลัมน์ทุกสองอาทิตย์เกี่ยวกับผู้คนรอบข้างที่เกี่ยวข้องกับมิงเกในปัจจุบันในหนังสือพิมพ์ญี่ปุ่น Shinano Mainichi Shinbun  งานแปลล่าสุดของเธอ “Kawai Kanjiro’s House” เป็นการรำลึกถึงการครบรอบ 50 ปีของสถานที่ หลังการจากไปของสมาชิกผู้ก่อตั้งในขบวนการมิงเก นอกจากนี้ เธอพยายามจะส่งต่อความรู้ที่เธอมีทางด้านวัฒนธรรมญี่ปุ่น หัตถกรรมและปรัชญา ผ่านช่องทางที่เธอสร้างขึ้นที่เรียกว่า Wisdom Toolkit

ในปัจจุบันนี้เธอเขียน แปล และสัมภาษณ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับงานฝีมือและวัฒนธรรมญี่ปุ่นเพื่อสร้างความเข้าใจที่แท้จริงด้วยแง่มุมที่มีความน่าเชื่อถือในบริบทสมัยใหม่

ร่วมจัดโดย

ภาพถ่ายงานเสวนาเกี่ยวกับแนวคิดมิงเก
“Everyday Contem: โอกาสในการยกระดับและขับเคลื่อนงานหัตถศิลป์”
สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีล้านนา เชียงใหม่

พิธีเปิดงาน Chiang Mai Design Week 2023
และ นิทรรศการ“ Everyday Contem”
ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบเชียงใหม่

เยี่ยมชมดูงาน Mitt Studio

เยี่ยมชมดูงานแสดง ณ ศุขโข

เยี่ยมชมดูงาน ณ Mango Art Fest @ ดี สยาม

เยี่ยมชมดูงาน POP Market

เยี่ยมชมดูงาน ณ Inclay Studio