
|
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ และหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ได้ร่วมกันจัดทำโปรแกรมพิเศษ “Japanese & Thai Prewar Talkies” จัดฉายภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกในประวัติศาสตร์วงการภาพยนตร์ของญี่ปุ่นและไทย ในวันศุกร์ที่ 6 – วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน 2568 ณ หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) จังหวัดนครปฐม โปรแกรมพิเศษนี้เกิดขึ้นจากการอบรมเชิงปฏิบัติการ Professional Development and Networking Initiatives for ASEAN – Japan Film Programmers and Curators ที่จัดขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างเจแปนฟาวน์เดชั่น และ TIFF Lounge (ร่วมเสนอโดยเจแปนฟาวน์เดชั่นและเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติโตเกียว – Tokyo International Film Festival หรือ TIFF) ระหว่างวันที่ 28 ตุลาคม – 4 พฤศจิกายน 2567 โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมเครือข่าย และสนับสนุนให้เกิด ‘การค้นพบใหม่’ และ ‘การประเมินคุณค่าใหม่’ ของภาพยนตร์ญี่ปุ่น ผ่านมุมมองของผู้จัดโปรแกรมภาพยนตร์และภัณฑารักษ์จากอาเซียนและญี่ปุ่น
ประวัติศาสตร์วงการภาพยนตร์ของญี่ปุ่นและไทยมีความเชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ้ง ตั้งแต่ยุคหนังเงียบ ปี พ.ศ. 2448 ในตอนที่ โทโมโยริ วาตานาเบะ ก่อตั้ง “โรงหนังญี่ปุ่น” ที่กรุงเทพ ซึ่งโรงภาพยนตร์แห่งแรกของไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2471 “เบนชิ” (ประเพณีของญี่ปุ่นที่ใช้ผู้บรรยายสดระหว่างฉายหนังเงียบ) ได้ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทยโดยคุณต่วน ยาวะประภาษ ก่อนที่พี่น้องวสุวัตจะสร้างภาพยนตร์เสียงเรื่อง “หลงทาง” ซึ่งเป็นภาพยนตร์เสียงไทยเรื่องแรกในปี พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นปีหลังจากการสร้างภาพยนตร์เสียงญี่ปุ่นเรื่องแรก ถัดมาในปี พ.ศ. 2478 พี่น้องวสุวัตได้เปิดดำเนินการสตูดิโอหนังเสียงศรีกรุง ซึ่งเป็นสตูดิโอหนังเสียงแห่งแรกของไทย นับเป็นจุดเริ่มต้นของการแลกเปลี่ยนการเยี่ยมชมระหว่างทีมงานสตูดิโอภาพยนตร์ญี่ปุ่นในเวลาต่อมา
อย่างไรก็ตาม แม้การสร้างภาพยนตร์เสียงของไทยจะเริ่มหลังญี่ปุ่นได้ไม่นานก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ภาพยนตร์เสียงของไทยกลับสูญหายไปจนเกือบหมด ในขณะที่ภาพยนตร์เสียงของญี่ปุ่นถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีให้เยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาและชื่นชมจนถึงปัจจุบัน ดังนั้น โปรแกรมพิเศษ Japanese & Thai Prewar Talkies ของเรา จึงมีเป้าหมายเพื่อฟื้นคืนช่วงเวลาอันรุ่งเรืองในช่วงการเปลี่ยนผ่านของประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ญี่ปุ่นและไทย ผ่านการนำเสนอผลงานชิ้นเอกจากผู้กำกับชื่อดัง ประกอบไปด้วย หนังเสียงเรื่องแรกของญี่ปุ่น The Neighbor’s Wife and Mine (2474) หนังมิวสิคัลเรื่องแรกของญี่ปุ่น Tipsy Life (2476) ผลงานของผู้กำกับ มิกิโอะ นารุเสะ Wife! Be Like a Rose! (2478) ผลงานของผู้กำกับ ยาสุจิโร โอสุ The Only Son (2479) รวมไปถึง Final Take (2529) กำกับโดย โยจิ ยามาดะ ที่ช่วยถ่ายทอดช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนแปลงของวงการภาพยนตร์ ในขณะเดียวกันจะมีการฉายเศษหนังเสียงไทย 2 เรื่อง ได้แก่ เลือดชาวนา (2479) ปิดทองหลังพระ (2482) และ คล้องช้าง (2481) หนังเสียงสารคดีญี่ปุ่นที่เข้ามาถ่ายทำการคล้องช้างที่ลพบุรี
ในโอกาสนี้ คุณมาซายูกิ อุเอดะ ผู้อำนวยการจัดโปรแกรมภาพยนตร์จากวาเซดะโชชิคุ (Wasedashochiku) ที่เป็นโรงหนังอิสระเก่าแก่ในโตเกียว และคุณพุทธพงษ์ เจียมรัตตัญญู ภัณฑารักษ์ภาพยนตร์จากหอภาพยนตร์ จะมาร่วมแบ่งปันเกร็ดความรู้เกี่ยวกับภาพยนตร์แต่ละเรื่อง ในช่วงการบรรยายก่อนการฉายภาพยนตร์ โดยเราคาดหวังว่า กิจกรรมนี้จะช่วยเพิ่มความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ของญี่ปุ่นและไทย เพื่อนำไปสู่ความร่วมมือในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของทั้งสองประเทศในอนาคตสืบต่อไป
กำหนดการ
สถานที่: หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) นครปฐม
วันศุกร์ที่ 6 มิถุนายน 2568
15:00 พิธีเปิด
15:15 การบรรยายก่อนการฉายภาพยนตร์ โดยคุณพุทธพงษ์ เจียมรัตตัญญู
15:30 เลือดชาวนา (2479) และ ปิดทองหลังพระ (2482)
16:00 การบรรยายก่อนการฉายภาพยนตร์ โดยคุณมาซายูกิ อุเอดะ
16:15 Wife! Be Like a Rose! (2478)
17:30 งานเลี้ยงต้อนรับการเปิดงาน
วันเสาร์ที่ 7 มิถุนายน 2568
13:00 การบรรยายก่อนการฉายภาพยนตร์ โดยคุณพุทธพงษ์ เจียมรัตตัญญู
13:15 คล้องช้าง (2481)
14:30 การบรรยายก่อนการฉายภาพยนตร์ โดยคุณมาซายูกิ อุเอดะ
14:45 The Neighbor’s Wife and Mine (2474)
16:00 การบรรยายก่อนการฉายภาพยนตร์ โดยคุณมาซายูกิ อุเอดะ
16:15 Tipsy Life (2476)
วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน 2568
13:00 การบรรยายก่อนการฉายภาพยนตร์ โดยคุณมาซายูกิ อุเอดะ
13:15 Final Take (2529)
15:30 การบรรยายก่อนการฉายภาพยนตร์ โดยคุณมาซายูกิ อุเอดะ
15:45 The Only Son (2479)
ลงทะเบียน: หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) | Japanese & Thai Prewar Talkies
เกี่ยวกับคุณมาซายูกิ อุเอดะ
![]() |
ภาพเอื้อเฟื้อโดยคุณอุเอดะ มาซายูกิ |
คุณมาซายูกิ อุเอดะ ผู้อำนวยการจัดโปรแกรมภาพยนตร์จาก Wasedachochiku (โรงหนังอิสระเก่าแก่ในโตเกียว) อีกทั้งเขายังทำหน้าที่เป็นผู้เขียนบท ผู้กำกับ และผู้จัดจำหน่ายภาพยนตร์อีกด้วย ผลงานที่โดดเด่นของเขา ได้แก่ การเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง “Tales of Iya” (2556) “The Night I Swam” (2560) ในตำแหน่งผู้ช่วยผู้กำกับ “SUPER HAPPY FOREVER” (2567) ในตำแหน่งผู้จัดการกองถ่าย และ การเขียนบทภาพยนตร์เรื่อง “Black Ox” (2567)
นอกจากนี้ เขายังเจัดโปรแกรมรมการฉายภาพยนตร์ สองเรื่องต่อสัปดาห์ ที่โรงภาพยนตร์วาเซดะโชชิคุ (Wasedashochiku) โดยโปรแกรมของเขามีการผสมผสานหนังเก่าและหนังใหม่จากทั่วโลก จนกลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในกลุ่มคนที่ชื่นชอบหนังในโตเกียว
ติดต่อสอบถาม
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
ชั้น 10 อาคารเสริมมิตร ทาวเวอร์ 159 ถ.สุขุมวิท 21 (อโศกมนตรี) กรุงเทพฯ 10110
โทร. +66-2-260-8560~3
อีเมล: acdept_jfbkk@jpf.go.jp
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
The Japan Foundation, Bangkok Facebook Page
โดยความร่วมมือระหว่าง
