Short Circuit – Lunartic Dream and Princess Kaguya
รายละเอียดกิจกรรม
[วันและเวลา] | 1-15 มีนาคม 2021 วันธรรมดา: 12.00-18.00 น. วันเสาร์อาทิตย์: 19.00-21.00 น. *มีกิจกรรมเวิร์คชอปวันที่ 6, 7, 14 มีนาคม |
[สถานที่] | BASE Playhouse, สามย่านมิตรทาวน์ ชั้น 2 โซน 24 ชม. |
[ค่าเข้าชม] | สำรองที่นั่งได้ฟรี |
[ภาษา] | ไทย และ อังกฤษ |
[ลงทะเบียน] | สำรองที่นั่งล่วงหน้าได้ทางแบบฟอร์มออนไลน์ |
[จำนวนผู้เข้าชม] | วันเปิดงาน 1 มีนาคม – 30 คน ตลอดช่วงเวลาจัดงาน – 67 คน เวิร์คชอปวันที่ 6 มีนาคม – 42 คน เวิร์คชอปวันที่ 7 มีนาคม – 18 คน เวิร์คชอปวันที่ 14 มีนาคม – 10 คน |
[วิดีโอนิทรรศการ] | https://www.facebook.com/henryandpartners |
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมกับ BASE Playhouse พร้อมด้วยการสนับสนุนจาก FREAK Lab Thailand และ Fablab Hamamatsu / TAKE-SPACE ภูมิใจนำเสนอนิทรรศการ “Short Circuit – Lunartic Dream and Princess Kaguya” นิทรรศการที่มุ่งทดลองการสื่อสารและการโต้ตอบผ่านเวอร์ชวลเรียลลิตี้และคลื่นสมอง ในช่วงเวลาที่มนุษย์เราถูกจำกัดการเดินทาง ทำไมเราไม่บินไปดวงจันทร์กันล่ะ!? เราขอเชิญชวนทุกท่านมาท่องโลกดิจิทัลอันน่าตื่นตาสร้างจากความร่วมมือของศิลปินชาวไทยและญี่ปุ่น
ได้รับแรงบันดาลใจจากตำนานญี่ปุ่นเรื่อง “เจ้าหญิงคางุยะ” เจ้าหญิงงามจากดวงจันทร์ที่ถูกเลี้ยงดูบนดาวโลก ความงามของเธอเป็นที่เลื่องลือและดึงดูดกระทั่งจักรพรรดิญี่ปุ่น หลังจากที่ทราบต้นกำเนิดของตนว่ามาจากดวงจันทร์เธอจึงต้องกลับไป ณ วอนคาร์มานด้านมืดของดวงจันทร์ เจ้าหญิงเข้าสู่ห้วงนิทราทิ้งให้ความทรงจำของเธอกลายเป็นเพียงหินดวงจันทร์ การปรับสภาพหินดวงจันทร์เหล่านี้ให้เป็นน้ำซุปแห่งชีวิต (Primordial soup) คือหนทางเดียวที่จะดึงเจ้าหญิงกลับมามีชีวิต ผู้เข้าร่วมนิทรรศการจะได้ร่วมผจญภัยและวางแผนร่วมกับเพื่อนๆผ่านเวอร์ชวลเรียลลิตี้ และปรับพื้นผิวดินโดยใช้เทคโนโลยีอักเมนต์เรียลลิตี้บนกระบะทราย ท้ายสุดถ่ายทอดความทรงจำผ่านคลื่นสมองจากหินดวงจันทร์ด้วยเครื่องปริ้นท์สามมิติ ตัวอย่างการทดลองพืชกับหินดวงจันทร์และไพรมอร์เดียลซุปถูกนำมาจัดแสดงในนิทรรศการอีกด้วย
นิทรรศการเปิดให้เข้าชมวันธรรมดาตั้งแต่เวลา 12.00-18.00 น. และวันเสาร์อาทิตย์ เวลา19.00-21.00 น. ที่ BASE Playhouse สามย่านมิตรทาวน์ชั้น 2 โซน 24 ชม.
บันทึกวิดีโอสามารถชมได้ที่เพจ https://www.facebook.com/henryandpartners
เวิร์คชอป
1. The moon represents my mind: 3D Print memory from brain waves.
วันเสาร์ที่ 6 มีนาคม 2021 เวลา 19.00-20.30 น.
จัดโดย:
นุชนาถ นาอาจ, พยาบาลวิชาชีพระดับบปฏิบัติการด้านประสาทจิตเวชศาสตร์,
สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา
จุฑามาศ ธรรมธรสิริ, ศิลปิน, นักเทคโนโลยี
ธนิษฐ์ พงศ์พิศาลธรรม, วิศวกรการบินและอวกาศ
มาซาโตะ ทาเคมูระ, Fablab Hamamatsu / TAKE-SPACE
Spaceth.co
SEEN คือ แพลตฟอร์มที่เชื่อว่าความสามารถทุกระดับของมนุษย์นั้นสามารถวัดได้ เราช่วยให้ผู้สมัครค้นพบศักยภาพที่แท้จริงของตนเองด้วยการเชื่อมโยงพวกเขาเข้ากับองค์กรผ่านการใช้เครื่องมือประเมินสมรรถนะบุคคลเพื่อประเมิน Hard Skill และ Soft Skill โดยไม่ต้องใช้ CV แบบเดิมๆ มาร่วมค้นหา SEEN ของคุณผ่านกิจกรรมการเอาตัวรอดบนดวงจันทร์ ด้วยการสำรวจประสาทวิทยาทางความทรงจำ ระบบประสาท การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองและสรรค์สร้างงานศิลปะจากคลื่นสมอง
2. How to survive on any side of The Moon? : Terraforming the Moon
วันอาทิตย์ที่ 7 มีนาคม 2021 เวลา 19.00-20.30 น.
จัดโดย:
พร้อม เสือทิม, นักชีววิทยา, FREAK lab Thailand
ธมน ศิริไกร, นักเรียน JSTP
Spaceth.co
ปี 2021, อาเทมิสได้ส่งมนุษย์ไปยังดวงจันทร์ ทว่าต้องทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างอาณานิคมบนดวงจันทร์ได้ล่ะ? เวิร์คชอปหนึ่งชั่วโมงครึ่งจะพาคุณไปเจาะลึก ความรู้เทคโนโลยีเกี่ยวกับการสำรวจดวงจันทร์ และค้นพบทักษะที่จำเป็นต่อการปรับสภาพดวงจันทร์
3. Dancing in the (Primordial) Soup: Mix Reality Dance on Moon and Mars Gravity
วันอาทิตย์ที่ 14 มีนาคม 2021 เวลา 19.00-20.30 น.
จัดโดย:
ซูฟี ยามา, ศิลปินด้าน เวอร์ชวลเรียลลิตี้ และ มิกส์เรียลลิตี้
กรกนก รุ่งสว่าง, นักออกแบบท่าเต้นและนักเต้น
มัตสึมูระ โทโมกิ, metaPhorest
Spaceth.co
จินตนาการถึงการเคลื่อนไหวของคุณในแรงโน้มถ่วงที่แตกต่างบนมิกส์เรียลลิตี้ เรียนรู้การเคลื่อนไหวของจุลินทรีย์ในพื้นที่และสภาวะต่างๆ การออกกำลังกาย และการทำอักเม้นต์เรียลลิตี้ด้วยตนเองที่บ้าน
เกี่ยวกับผู้จัดงาน
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
เจแปนฟาวน์เดชั่นเป็นสถาบันที่อุทิศให้กับการดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศอย่างครอบคลุมทั่วโลก เจแปนฟาวน์เดชั่นสร้างสรรค์โอกาสต่างๆในการฟูมฟักรักษามิตรภาพ ความไว้วางใจและความเข้าใจซึ่งกันและกันผ่านวัฒนธรรม ภาษาและการสนทนาเพื่อปลูกฝังมิตรภาพและความผูกพันระหว่างประเทศญี่ปุ่นและประเทศต่างๆทั่วโลก
BASE Playhouse
BASE Playhouse คือ กลุ่มคนที่เชื่อว่าการเรียนรู้ที่ดีสามารถออกแบบได้ และการเรียนรู้ที่ใช่จะทำให้มนุษย์ก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเอง เราออกแบบกระบวนการเรียนรู้ให้กับ คนรุ่นใหม่ โรงเรียน และองค์กร ต่างๆ ในรูปแบบของ เวิร์คชอป หลักสูตร และนวัตกรรมการสอนในรูปแบบใหม่ ที่ใช้ได้จริง ผ่านทฤษฎีการออกแบบที่สนุกและใช้ได้จริง
เกี่ยวกับผู้สนับสนุน
FabLab Hamamatsu / TAKE-SPACE
ห้องเวิร์กชอปงานฝีมือที่คุณทาเคมูระก่อตั้งในปี 2012 ที่เมืองฮามามัตซี ประเทศญี่ปุ่น เขาเปลี่ยนคอกเล็กๆ ที่ใช้สำหรับทำฟาร์มให้กลายเป็นห้องเวิร์กชอปที่เพรียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์ดิจิตอลสำหรับงานผลิตต่างๆ เช่น ปริ้นท์เตอร์สามมิติ คัทเตอร์เลเซอร์ และเราท์เตอร์ CNC ขนาดใหญ่พร้อมด้วยอุปกรณ์สำหรับงานไม้และงานเหล็กที่จะให้คนได้เพลิดเพลินกับการผลิตงานออกมา ต่อมาห้องเวิร์กชอปแห่งนี้ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกโครงข่ายห้องแลประดับโลกชื่อ Fablab ในปี 2014
FREAK Lab, Thailand
FREAK Lab หรือ (Futuristic Research on Enigmatic and Aesthetic Knowledge) ก่อตั้งเมื่อปี 2018 เป็นกลุ่มวิจัย Anti-disciplinary ที่ประกอบไปด้วย นักวิทยาศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญ จากหลากหลายสาขา อาทิเช่น (ชีววิทยา,ฟิสิกส์,เคมี,วิศกรรมอวกาศ,ศิลปิน,นักสังคมศาสตร์,นักเศรษฐศาสตร์) เพื่อสร้างงานวิจัย prototype เเละไอเดียที่เกิดจากการจินตนาการถึงอนาคต และสร้างองค์ความรู้และผลกระทบต่อสังคมในวงกว้าง
ศิลปิน :
เฮนรี่ แทน
ทาเคมูระ มาซาโตะ
ศิลปิน VR:
ซูฟี ยามา
ออกแบบเสียง:
มาซาฮิโกะ ฮาเซเบะ
ผู้ร่วมงาน:
จุฑามาศ ธรรมธรสิริ (โปรแกรมมิ่ง และ แซนด์บ๊อกส์)
ธนิษฐ์ พงศ์พิศาลธรรม (3D ปริ้นท์)
พร้อม เสือทิม (ออกแบบไบโอ)
ธมน ศิริไกร (ออกแบบไบโอ)
วิจัยและประสานงาน:
คาซึเอะ ซูสุกิ
ขอขอบคุณเป็นพิเศษ:
ทีมปฎิบัติการ ผศ.ดร. ป๋วย อุ่นใจ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, ธนัชกรณ์ อัศวศรีวรนันท์, ศิรวัจน์ อิทธิภูริพัฒน์, พลวุฒิ รักสัตย์, แก่นพงศ์ บุญถาวร, พรพรรณ สุทธิประภา, สถาบันเกอเธ่ ประเทศไทย, Spacezab company, Spaceth.co, MakerStation
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
ชั้น 10 อาคารเสริมมิตรทาวเวอร์ 159 ถนนอโศกมนตรี กรุงเทพฯ 10110
โทร: 02-260-8560-3
เฟซบุ๊ค: https://www.facebook.com/jfbangkok/
เว็บไซต์: https://ba.jpf.go.jp