เปิดมุมมองศักยภาพและตัวตนของมังงะ
เสวนาออนไลน์และเวิร์กชอปตัวต่อตัว
เสวนาออนไลน์และเวิร์กชอปตัวต่อตัว
วัน | วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม 2564 |
เวลา | 16:00 – 18:15 น. (เวลาประเทศไทย, UTC+7) |
ค่าเข้าชม | ไม่เสียค่าใช้จ่าย |
ภาษา | ญี่ปุ่น แปลไทย |
สถานที่จัด
ยอดผู้เข้าร่วมกิจกรรม |
รับชมทางการถ่ายทอดสดออนไลน์บนยูทูปของเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ The Japan Foundation, Bangkok YouTube Channel และ ห้อง 501 ชั้น 5 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 8 ท่าน |
นิทรรศการการ์ตูนมังงะเงียบ Together for Peace
วัน | วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน – วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม 2564 |
เวลา | 10:00 – 19:00 น. ทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์ |
ค่าเข้าชม | ไม่เสียค่าใช้จ่าย |
สถานที่จัด ยอดผู้ชมงาน |
ณ ผนังโค้ง ชั้น 3 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร 63,255 คน |
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมกับสำนักงานยูเนสโกเพื่อการศึกษาส่วนภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิก (ยูเนสโก กรุงเทพฯ), SILENT MANGA AUDITION® (SMA) และ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ภูมิใจนำเสนอการเสวนาออนไลน์และเวิร์กชอปตัวต่อตัวในหัวข้อ “เปิดมุมมองศักยภาพและตัวตนของมังงะ (Enlighten Manga Characteristics and Possibilities)”
มังงะเป็นที่รู้จักกันในหมู่นักอ่านทั่วโลกในฐานะป๊อปคัลเจอร์สื่อบันเทิงรูปแบบหนึ่งจากญี่ปุ่น อีกทั้งอยู่ถูกใช้เป็นสื่อกลางในการสื่อสารเรื่องราวมานานหลายศตวรรษ เสวนาออนไลน์และเวิร์กชอปตัวต่อตัวหัวข้อ “เปิดมุมมองศักยภาพและตัวตนของมังงะ (Enlighten Manga Characteristics and Possibilities)” ในครั้งนี้ จะมาสำรวจคุณลักษณะรวมถึงประวัติศาสตร์ของมังงะญี่ปุ่น และเอกลักษณ์ของมังงะเงียบ บรรยายโดย รองศาสตราจารย์ โองาวะ ทซึโยชิ จากมหาวิทยาลัยเกียวโตเซย์กะ พร้อมทั้งเวิร์กชอปตัวต่อตัวที่เปิดรับพอร์ทโฟลิโอผู้สมัคร 6 ท่าน ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกจะได้มีโอกาสรับคำแนะนำจากอาจารย์และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการวาดมังงะกับมืออาชีพอย่าง อาจารย์โองาวะ สึโยชิ โดยตรง ทั้งสองกิจกรรมจะถูกถ่ายทอดสดบนยูทูปของเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ในวันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม 2564 เวลา 16:00 – 18:15 น. (เวลาประเทศไทย)
ยิ่งไปกว่านั้นยังมีการจัดแสดง งานนิทรรศการการ์ตูนมังงะเงียบ Together for Peace รวบรวม 15 ผลงาน จาก 274 ผลงาน ของผู้แข่งขันจากหลายประเทศทั่วโลกในงาน SILENT MANGA AUDITION® (SMA) ครั้งที่ 13 จัดแสดงตั้งแต่ วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน จนถึง วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม 2564 ณ ชั้น 3 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) ตั้งแต่เวลา 10:00 – 19:00 น. ทุกวัน ยกเว้นวันจันทร์ ในช่วงระยะเวลาการจัดแสดงนิทรรศการมีกิจกรรมพิเศษอีก 2 กิจกรรมด้วยกัน ได้แก่ วันพุธที่ 24 พฤศจิกายน 2564 เวลา 13:00, กิจกรรมการฉายภาพยนตร์สั้น เรื่อง SKY SKY กำกับโดยคุณนนทรี นิมิบุตร ผู้กำกับภาพยนต์ชื่อดังชาวไทย และ กิจกรรมสาธิตวาดภาพโดย KP Learning Space ในวันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม เวลา 14:00 – 16:00 น. และ วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม 2564 เวลา 14:00 – 18:00 น.
คุณสมบัติของผู้สนใจเข้าร่วมเวิร์กชอปตัวต่อตัว
- ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมกิจกรรม
- ไม่จำกัดอายุ วุฒิการศึกษา และ ประสบการณ์
- ผู้ที่สนใจเข้าร่วมจะต้องยินยอมให้ทางเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ เผยแพร่ผลงานของท่านและตัวท่านระหว่างถ่ายทอดสดได้ และสะดวกเดินทางมาร่วมงานได้ด้วยตนเองที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC) วันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม 2564 เวลา 15:30 น. – 18:15 น. (เวลาประเทศไทย)
วิธีการเข้าร่วมเวิร์กชอปตัวต่อตัว
- เขียนอธิบายเกี่ยวกับพอร์ตฟอลิโอของท่านเป็นภาษาไทย ไม่เกิน 5 บรรทัด ไว้ที่หน้าแรกของพอร์ตฟอลิโอรวบรวมผลงาน กรุณาแนบไฟล์ในรูปแบบ PDF ไม่เกิน 8 หน้า และ ขนาดไฟล์ไม่เกิน 10MB เนื้อหาภายในพอร์ตสามารถประกอบด้วยงานศิลปะแขนงใดก็ได้ตั้งแต่ มังงะเรื่องสั้น ออกแบบตัวละคร หรือ ภาพประกอบ
- กรอกแบบฟอร์มรับสมัคร และ กดยินยอมเผยแพร่ผลงานของท่านและตัวท่านระหว่างการถ่ายทอดสด พร้อมแนบไฟล์พอร์ตฟอลิโอ ไปที่ลิงค์ https://forms.gle/4aHM8uWKqMmAuwtL9 แบบฟอร์มจะปิดรับสมัครใน วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2564 เวลา 12:00 น. หรือ อาจปิดรับแบบฟอร์มก่อนกำหนดหากได้รับผู้สมัครครบจำนวนแล้ว การปิดรับสมัครจะประกาศบนเฟซบุ๊กเพจ และ เว็บไซต์ ของเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
- ผู้เข้าร่วม 6 ท่านแรกที่มีคุณสมบัติครบถ้วน ทางเราจะติดต่อกลับไปทางอีเมลล์เพื่อแจ้งเรื่องผลการคัดเลือก
- กรุณายืนยันการเข้าร่วมงานภายในวันที่ 1 ธันวาคม 2564 และในวันงานรบกวนผู้เข้าร่วมอ่านคำอธิบายพอร์ตฟอลิโอในหน้าแรกของท่านให้อาจารย์โองาวะฟังก่อนรับคำแนะนำ
เกี่ยวกับวิทยากร
รองศาสตราจารย์ โองาวะ ทซึโยชิ
(หลักสูตรการออกแบบตัวละครมังงะ คณะมังงะ มหาวิทยาลัยเกียวโตเซกะ)
ในฐานะที่เป็นภัณฑารักษ์ เขาได้ออกงานนิทรรศการ และ อีเวนต์ ที่เกี่ยวกับการผลิตมังงะ เช่นที่พิพิธภัณฑ์มังงะนานาชาติเคียวโตะ, ศูนย์ศิลปะและวัฒนธรรมปงปิดู ประเทศฝรั่งเศส, Japan creative center สิงคโปร์, Contemporary Art Museum คุมะโมะโตะ ญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมีส่วนร่วมในการวางแผนงานนิทรรศการที่พิพิธภัณฑ์ยูโนะมาเอะมังงะ อีกทั้งยังก่อตั้งพิพิธภัณฑ์โคจิมังงะ และ โคจิมังงะ BASE อีกด้วย ส่วนในด้านการศึกษานั้นเขาได้เป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนโครงสร้างการสอนมังงะ, วิชามังงะ, และจัด Work-shopเกี่ยวกับศิลปะ นอกจากนี้เขายังรับคำเรียกร้องจากบริษัท และ รัฐบาลท้องถิ่นที่เกี่ยวกับคีย์เวิร์ด “การแสดงท่าทางของตัวละครในมังงะ และ การออกแบบ” และเขายังออกแบบภาพประกอบ ออกแบบตัวละคร ออกแบบบรรจุภัณฑ์ และ อื่น ๆ
เกี่ยวกับล่าม
มัชฌิมา โตจิราการ
(อาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยไอจิชูกุโทกุ)
เกิดเมื่อปีพ.ศ. 2527 ที่กรุงเทพมหานคร นักศึกษาปริญญาเอกอักษรศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตมหาวิทยาลัยเกียวโต เคยทำงานเป็นนักวิจัยและอาจารย์พิเศษที่บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกียวโตปัจจุบันทำงานเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยไอจิชูกุโทกุ (“ประวัติศาสตร์มังงะและอนิเมะ” “ทฤษฎีเกี่ยวกับมังงะ”)
ภาพบรรยากาศกิจกรรมวันเสาร์ที่ 4 ธันวาคม 2564
ภาพบรรยากาศนิทรรศการ Together For Peace
ติดต่อสอบถาม
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
ชั้น 10 อาคารเสริมมิตร ทาวเวอร์ 159 ถ.สุขุมวิท 21
กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย
Tel: 02-260-8560~4, Email : acdept@ba.jpf.go.jp
ร่วมจัดโดย