งานเสวนาเรื่อง
“ย้อนรอยโยไคญี่ปุ่น และภูตผีไทย-อีสาน
: ผ่านมุมมองศิลปะ วัฒนธรรม และความเชื่อ”
|
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) ภูมิใจนำเสนอการเสวนาพิเศษหัวข้อ “ย้อนรอยโยไคญี่ปุ่น และภูตผีไทย-อีสาน : ผ่านมุมมองศิลปะ วัฒนธรรม และความเชื่อ” ในวันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2567 เวลา 14.00 – 17.00 น. ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 1 TCDC ขอนเเก่น
งานในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ “โยไคพาเหรด: ขบวนภูตพิศวงจากญี่ปุ่น (Yokai Parade: Supernatural Monsters from Japan)” ที่กำลังจัดแสดงอยู่ที่ TCDC ขอนเเก่น จนถึงวันที่ 8 กันยายน 2567 นี้ วัตถุประสงค์ของงานเสวนานี้เพื่อสร้างเสริมและสนับสนุนความเข้าใจอย่างลึกซึ้งระหว่างวัฒนธรรม โยไค ภูตผีไทยและอีสานบ้านผีป๊อป พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานทุกคนได้เรียนรู้และชื่นชมมรดกทางวัฒนธรรมอันรุ่มรวย รวมไปถึงแง่มุมทางศิลปะและวัฒนธรรมโยไคญี่ปุ่นและทางจิตวิญญาณในไทย โดยมุ่งเน้นสรรพสิ่งเหนือธรรมชาติทั้งสองประเทศ
ในโอกาสนี้คุณคิคคาวะ นาโอโกะ (เข้าร่วมทางออนไลน์) ภัณฑารักษ์ของพิพิธภัณฑ์มิโยชิ โมโนโนเกะ จากญี่ปุ่น จะแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับต้นกําเนิดและความสําคัญทางวัฒนธรรมของโยไคในประเทศญี่ปุ่น รวมถึงแนะนําเรื่องเล่าของภูตโยไคบางตนให้ผู้เข้าร่วมได้ฟัง นอกจากนี้เธอก็จะเปิดเผยบริบททางประวัติศาสตร์และพัฒนาการทางศิลปะและวัฒนธรรมของโยไคในยุคสมัยปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นองค์ประกอบที่ทำให้ญี่ปุ่นยังสามารถรักษาแก่นแท้ของโยไคให้คงไว้ในเรื่องเล่านิทานพื้นบ้านและศิลปะของญี่ปุ่นได้สำเร็จอย่างยั่งยืน โดยหวังว่าข้อมูลเชิงลึกและประสบการณ์ของเธอจะช่วยก่อให้เกิดการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจร่วมกันได้ว่า วัฒนธรรมโยไคได้บ่งบอกและช่วยสร้างเสริมแรงบันดาลใจให้กับเรื่องเล่าทางวัฒนธรรมอย่างกว้างขวางได้อย่างไร
ในขณะเดียวกัน รองศาสตราจารย์ ดร. อภิลักษณ์ เกษมผลกูล จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะบรรยายเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องภูตผีของไทย โดยจะเจาะลึกถึงต้นกําเนิดและมุมมองทางศิลปะและวัฒนธรรมของสิ่งเหนือธรรมชาติเหล่านี้ในนิทานพื้นบ้านของไทย รวมถึงการมองผลกระทบที่มีต่ออัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมรวมไปถึงประเพณีท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจุดประกายบทสนทนาที่ว่า ภูตผีและสัตว์ประหลาดของไทยนั้น ได้สะท้อนถึงคุณค่าโดยเนื้อแท้ของวัฒนธรรมไทยอย่างไร และเราจะสามารถรักษาและส่งเสริมคุณค่าเหล่านี้ให้คงอยู่ไว้ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้อย่างไร
และพิเศษเฉพาะที่ TCDC ขอนแก่น ผศ.ดร. ขาม จาตุรงคกุล อาจารย์คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้จัดทำ นิทรรศการ ‘อีสานบ้านผี Pop’ เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งกับการเสวนาในครั้งนี้ ร่วมเเบ่งปันเรื่องราวของอีสานบ้านผีป็อป ความเชื่อของผีในภูมิภาคอีสานผ่านผลงานเเละธุรกิจสร้างสรรค์
งานเสวนาครั้งนี้จะอภิปรายร่วมกันถึงความเหมือนและความแตกต่างระหว่างภูตผีของญี่ปุ่น-ไทย และอีสานบ้านผีป๊อป ในบริบทภูมิหลังทางสังคมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของทั้งสองประเทศ โดยเราจะสำรวจภาพสะท้อนอันเหมือนและแตกต่างนี้ผ่านมุมมองของนิทานพื้นบ้าน เรื่องเล่า ศิลปะ วัฒนธรรม เเละการต่อยอดสู่ธุรกิจสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นว่าประเพณีเหล่านี้ สามารถอยู่รอดเเละเติบโตขึ้นในสังคมได้อย่างไร ในขณะที่ยังสามารถรักษาเเก่นเเท้ในเชิงอัตลักษณ์เเละวัฒนธรรมดั้งเดิมเอาไว้ได้
กำหนดการ
13.30 – 14.00 | ลงทะเบียน |
14:00 – 14.50 | – การบรรยายโดย คุณคิคคาวะ นาโอโกะ (Kikkawa Naoko) ภัณฑารักษ์ของ พิพิธภัณฑ์โยไคญี่ปุ่น เพื่อเป็นเกียรติแก่ ยุโมโตะ โคอิจิ (พิพิธภัณฑ์มิโยชิ โมโนโนเกะ) |
14.50 – 15.20 | – การบรรยายโดย รองศาสตราจารย์ ดร. อภิลักษณ์ เกษมผลกูล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
15.20 – 15.35 | พัก 15 นาที |
15.35 – 16.00 | – การบรรยายโดย ผศ. ดร. ขาม จาตุรงคกุล |
16.00 – 17.00 | อภิปรายเเละถาม-ตอบ |
17.00 | สรุป เเละจบกิจกรรม |
ข้อมูลวิทยากร
คุณคิคคาวะ นาโอโกะ (เข้าร่วมทางออนไลน์)
เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1982 ในเมืองฮิโรชิม่า เธอเรียนจบปริญญาโทในสาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะญี่ปุ่นร่วมสมัยจากมหาวิทยาลัยสตรีโชวะ (Showa Women University) ปัจจุบันเธอทำงานเป็นภัณฑารักษ์และรับผิดชอบนิทรรศการมากมายที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมโยไค ไม่ว่าจะเป็น นิทรรศการโยไค พาเหรด และ นิทรรศการภูตพยากรณ์อามาบิเอะ และ อามาบิโกะ ที่ พิพิธภัณฑ์โยไคญี่ปุ่นเพื่อเป็นกียรติแก่ยุโมโตะ โคอิจิ (พิพิธภัณฑ์มิโยชิ โมโนโนเกะ)
รองศาสตราจารย์ ดร. อภิลักษณ์ เกษมผลกูล
อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาวรรณคดีไทย จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2552 โดยทำวิทยานิพนธ์ด้านคติชนวิทยา สนใจเกี่ยวกับคติชนวิทยา – มานุษยวิทยาวัฒนธรรม นิทานและตำนานพื้นบ้าน ประเพณีพิธีกรรม วรรณคดีท้องถิ่น เพลงพื้นบ้าน การท่องเที่ยวชุมชน การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น ปัจจุบันเป็นกรรมการวรรณคดีแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม และเป็นกรรมการด้านมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในภูมิภาคและระดับชาติ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ขาม จาตุรงคกุล
อาจารย์ประจำคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนเเก่น เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพาณิชย์ศิลป์ ออกเเบบกราฟิก การออกเเบบ เเบรนด์สินค้า บรรจุภัณฑ์ การออกเเบบผลิตภัณฑ์เชิงวัฒนธรรม ปัจจุบันกำลังให้ความสนใจเเละศึกษา ต่อยอดงานออกเเบบเเละผลงานสร้างสรรค์ ไปพร้อมกับความเชื่อของผีในภูมิภาคอีสาน
ผู้แปล
อาจารย์สิริพร ด่านสกุล (เข้าร่วมทางออนไลน์)
สําเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาสถาปัตยกรรมและการออกแบบอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยชิบะ และปริญญาโท สาขาการวางแผนสถาปัตยกรรม บัณฑิตวิทยาลัยวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ปัจจุบันทํางานเป็นอาจารย์ประจําคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เธอได้ร่วมงานกับเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ตั้งแต่ปี 2018 และได้ช่วยเหลือในโครงการต่างๆ เช่น เป็นล่ามแปลแผ่นพับสําหรับนิทรรศการเรื่อง “Struggling Cities: from Japanese Urban Projects in the 1960s” และล่ามสําหรับการเสวนาเกี่ยวกับภาพยนตร์สารคดี “Mlabri in the Woods”
ร่วมจัดโดย: