การแลกเปลี่ยนคณะละครหุ่นเอเชีย : การสาธิตและเวิร์คช็อป บุนราขุ

การแลกเปลี่ยนคณะละครหุ่นเอเชีย
–การสาธิตและเวิร์คช็อป บุนราขุ–

 

 

เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมกับกรมส่งเสริมวัฒนธรรม ขอเชิญชวนทุกท่านมาร่วมสัมผัสศิลปะละครหุ่น  จากบุนราขุ คณะหุ่นละครแบบดั้งเดิมจากประเทศญี่ปุ่น  และคณะหุ่นละครอีก 3 คณะจากประเทศไทย

 

นับเป็นโอกาสที่หายากที่ทุกท่านจะได้ร่วมเพลิดเพลินไปกับการสาธิตการเชิดหุ่นจากแต่ละคณะ  และเต็มอิ่มไปกับการแสดงขนาดสั้นจากคณะหุ่นบุนราขุและนาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์)

 

(ภาพ: NPO Bunrakuza)

 

วัน อังคารที่ 26 สิงหาคม 2557
สถานที่ หอประชุมเล็ก ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย
บัตรเข้าชม ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ
 

■ กำหนดการ
**
มีล่ามภาษาญี่ปุ่น-ไทยทั้งสองช่วง

 [ช่วงที่ 1] 

*เหมาะสำหรับนักเชิดหุ่นและนักเรียนนักศึกษาด้านการแสดง แต่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าชมได้

12.45 น. ประตูเปิด
13.00-14.30 น. เวิร์คช็อปบุนราขุ 1
-การสาธิตการเชิดหุ่น
-บรรยายข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับบุนราขุ
-การแสดงขนาดสั้น
14.30-15.30 น. เวิร์คช็อปคณะละครหุ่นไทย
-นาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์)
-บ้านตุ๊กตุ่นหุ่นกระบอกไทย
-มูลนิธิหุ่นสายเสมา ศิลปะเพื่อสังคม
15.30-17.00 น. เสวนา / ช่วงถาม-ตอบ
ผู้ดำเนินรายการ
ผศ. วิลาวัณย์ เศวตเศรนี
ผู้อำนวยการ สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
 [ช่วงที่ 2] 
18.00-19.00 น. การแสดงหุ่นละครไทยและเวิร์คช็อปโดยนาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์)
19.00-20.30 น. เวิร์คช็อปบุนราขุ ช่วงที่ 2
20.30-21.00 น. เสวนา / ช่วงถาม-ตอบ
“การเปรียบเทียบระหว่างบุนราขุกับนาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์)”
ผู้ดำเนินรายการ ผศ.วิลาวัณย์ เศวตเศรนี
 บุนราขุคืออะไร?
Ningyo Johruri Bunraku นับว่าเป็นอีกหนึ่งในศิลปะการแสดงบทเวทีระดับแนวหน้าของญี่ปุ่น  เช่นเดียวกับโนห์และคาบูกิ บุนราขุผสมผสานด้วยการเล่าเรื่องด้วยการขับร้อง  ร่วมด้วยเครื่องดนตรี  และเรื่องราวของตัวหุ่น รูปแบบศิลปะการแสดงแบบนี้เกิดขึ้นในยุคเอโดะตอนต้น เมื่อการเชิดหุ่นกระบอกรวมตัวกับ Johruri ซึ่งเป็นวิธีการเล่าเรื่องที่โด่งดังในสมัยศตวรรษที่ 15 โครงเรื่องที่ของละครหุ่นนี้โดยหลักแล้วจะมาจาก  ละครแนวประวัติศาสตร์ซึ่งมีเรื่องราวอยู่ในสมัยศักดินา (Jidaimono) และเรื่องราวร่วมสมัยเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างความรักกับบทบาทหน้าที่ทางสังคม (Sewamono) ในปัจจุบัน มีนักแสดงรุ่นเยาว์จำนวนมาก  ความงดงามและเนื้อหาที่เร้าอารมณ์ทำให้การแสดงประเภทนี้ดึงดูดผู้ชมสมัยใหม่ได้ต่อไปเรื่อยๆ

 

(ภาพถ่าย: NPO Bunrakuza)

 


นาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์)
ศิลปะการแสดงหุ่นละครเล็กและนาฏศิลป์อันงดงาม  ที่สร้างสรรค์ขึ้นอย่างมีเอกลักษณ์หนึ่งเดียวในไทย  ไม่ซ้ำใครในโลก  เนรมิตรทุกชุดการแสดงอย่างประณีตบรรจง  ให้เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สามารถทำไปแสดงในวาระต่างๆได้อย่างภาคภูมิใจ (https://www.joelouistheatre.com)

 

(ภาพภ่าย: Joe Louis Theatre)

 

ผู้จัดหลัก          เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
ผู้ร่วมจัด           กรมส่งเสริมวัฒนธรรม

กล่าวเปิดงานโดยคาซึฮิโระ ฟุกุดะ (ผู้อำนวยการบริหารเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ)

 

ผู้ดำเนินรายการ/ การเสวนา: ผศ.วิลาวัณย์  เศวตเศรนี (ผู้อำนวยการ  สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

 

ช่วงบุนราขุ: การแสดงชุดแรก “Utanosuke’s Urgent Report”

 

ช่วงบุนราขุ: คำอธิบายจากผู้บรรยาย (ทายุ) และการบรรเลงชามิเซ็น

 

ช่วงบุนราขุ: การอธิบายถึงหุ่นเชิด

 

ช่วงบุนราขุ: สาธิตการเชิดหุ่น

 

ช่วงบุนราขุ: การแสดงชุดที่สอง “The Red-Hot Love-The Fire Watchtower”

 

ช่วงบุนราขุ: การแสดงชุดที่สอง “The Red-Hot Love-The Fire Watchtower”

 

ช่วงบุนราขุ: เชิญผู้ชมขึ้นมาร่วมลองเชิดหุ่นบนเวที

 

เวิร์คช็อปโดยคณะละครหุ่นไทย: มูลนิธิหุ่นสายเสมา ศิลปะเพื่อสังคม

 

การแสดงหุ่นละครไทยขนาดสั้นโดยนาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์) ชุด “ครุฑยุดนาค”

 

การสาธิตหุ่นละครไทยและเวิร์คช็อปโดยนาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์)

 

การสาธิต: วิธีการเชิดหุ่น

 

สมาชิกคณะบุนราขุร่วมเชิดหุ่นไทย

 

เสวนา / ช่วงถาม-ตอบ “การเปรียบเทียบระหว่างบุนราขุกับโจหลุยส์”

 

คณะหุ่นบุนราขุและคณะนาฏยศาลา หุ่นละครเล็ก (โจหลุยส์) ถ่ายรูปร่วมกัน