“การแข่งขันเริ่มขึ้นในป่า ทั้งผืนป่าเต็มไปด้วยสัตว์ ผมพยายามที่จะทำให้พวกมันเป็นระเบียบ”
ฟรานซ์ คาฟค่า, คุณพ่อที่รัก
– สวนสัตว์ คาฟค่า –
UNFOLDING KAFKA FESTIVAL 2019
26 ต.ค.– 15 ธ.ค. / กรุงเทพฯและเชียงใหม่
|
|
|
Unfolding Kafka Festival ถูกใช้เป็นพื้นที่ระดับโลกดึงดูดผลงานโดดเด่นของวงการศิลปะร่วมสมัยมาตั้งแต่ปี 2015 ในครั้งที่ 3 เรามุ่งไปที่ด้านป่าเถื่อนของเหล่าสัตว์คาฟค่าแลตัวละครข้ามสายพันพันธุ์ทั้งหลายที่ถูกปล่อยจากโลกอันเป็นระเบียบ ความประหลาดของจักรวาลคาฟค่าเบลอเส้นกั้นระหว่างคนกับสิ่งนอกเหนือด้วยการสะท้อนความเป็นอื่นผ่านสัตว์ที่กระทำแบบคน คล้ายคลึงกับที่เหล่าศิลปินได้รับแรงบันดาลใจจากความสุนทรีย์และการเคลื่อนไหวของสัตว์เพื่อสะท้อนความลังเลในอัตถิภาวะของเรา ยิ่งไปกว่านี้สภาพแวดล้อมมีผลต่อประสาทสัมผัสเรา เทศกาลนี้จะกระตุ้นให้คุณได้ชื่นชมหลากหลายประสบการณ์การเคลื่อนไหวและเรียนรู้ศิลปะอย่างเข้มข้นภายใต้สภาพแวดล้อมที่แปลกไปผ่านสิ่งที่จับต้องได้หรือชั้นแนวคิดที่ชวนตั้งคำถามความสัมพันธ์ระหว่างมุมมองของผู้กระทำและสิ่งของในแบบเดียวกับที่คนมองสัตว์ในสวนสัตว์ซึ่งต่างจากการเฝ้าดูพวกมันในธรรมชาติจริงๆ ด้วยเหตุนี้ จิตติ ชมพี ผู้อำนวยการโครงการล่าสุด แนวคิดสวนสัตว์คาฟค่า จะนำเสนอภูมิทัศน์ที่แตกต่างออกไปของงานศิลปะเชิงแนวคิดที่ชัดเจนในการนำเสนอ และปลดปล่อยความป่าเถื่อนเพื่อสร้างการถกเถียงประเด็นสังคมอย่างเรื่องเอกลักษณ์และเพศผ่านความเป็นสัตว์และการท้าทายมุมมอง
เนื่องในส่วนหนึ่งของเทศกาลนี่ เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯภูมิใจนำเสนอ ผลงานวิดีโอและงานศิลปะติดตั้งของ อัตซึโกะ นากามูระ พร้อมกับ งานภาพยนตร์ญี่ปุ่นสองเรื่อง ได้แก่ The Trial (2018) กำกับโดย จอห์น วิลเลี่ยมส์ และ Shinpan (The Trial) (1975) โดยชูจิ เทระยามะ
ทีกรุงเทพฯ | ||
|
||
|
||
|
||
|
||
ที่เชียงใหม่ | ||
|
||
|
อัตซึโกะ นากามูระ
สถานที่: โรงแรมโรส กรุงเทพฯ
“Arbitrary Notion”
(2013, สหราชอาณาจักร / วิดีโอศิลปะ)
“วันหนึ่ง ฉันเจอมดอาศัยอยู่ในบ้าน ประมาณ 30 ตัว เต็มทั้งขยะและตู้เก็บของ ในตอนนั้นเองฉันเริ่มฆ่าพวกมัน ฉันฆ่ามันมากขึ้นทุกวัน ทุกวัน แต่พวกมดก็ไม่เคยหมดสิ้นสักที ทันใดนั้นเองฉันตระหนักถึงความเลวร้ายที่ตัวได้ทำลงไป! ถ้ามันเป็นมดที่อยู่นอกบ้าน ฉันคงคิดว่ามันน่ารักแล้วก็คงไม่คิดที่จะกำจัดพวกมันทิ้งทั้งหมด แต่เมื่อพวกมันเข้ามาในพื้นที่ของฉัน จิตใต้สำนึกของฉันกลับตีตราพวกมันว่าเป็นผู้บุกรุกที่อันตรายแล้วเตรียมพร้อมที่ทำลายพวกมันทิ้ง ฉันช็อกกับความโหดร้ายของตัวเองแล้วได้แต่คิดถึงการกระทำต่างๆที่มนุษย์เคยทำตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาและในสังคมปัจุบัน วิดีโอนี้จะเป็นเหมือนหลักฐานหนึ่งของทั้งมนุษยชาติและของตัวฉันเองในความคิดที่ปราศจากเหตุผล”
“Invasion”
(2015, ไต้หวัน/วิดีโอศิลปะ)
“Invasion” เกี่ยวกับตัวตนที่ถูกทำให้ตกอยู่ในอันตรายจากผู้บุกรุก คุณนากามูระทำวิดีโอนี้โดยให้มดแทนสังคมมนุษย์ และตัวเธอในฐานะคนนอกที่บุกเข้าไปขอบเขตของมดอย่างกระทันหัน สร้างกำแพง สร้างประเทศและบังคับให้พวกมันตามเธอ
“Jigami Sound of Vitality”
(2005, ญี่ปุ่น/ศิลปะติดตั้ง)
ผลงานติดตั้งที่สะท้อนถึงความเชื่อเรื่องวิญญาณของคนญี่ปุ่น ผ่านการตีความของเธอที่โรสโฮเทล กองเศษไม้ขนาดใหญ่ที่จะทะลักจากห้องของโรงแรมไปโถงกลางที่จะกระตุ้นให้คุณคิดใหม่ถึงความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติและสภาพแวดล้อมเมืองใหญ่
“A metamorphosis of a man”
(2019, ศิลปะติดตั้ง)
สิ่งที่พบได้มากบนถนนเมืองไทยคือต้นไม้ที่ถูกบูชากราบไหว้ ผ้าสามสีถูกนำมาคาดรอบลำต้นซีดเยินไปตามกาลเวลาและระหว่างการเติบโตของต้นไม้ก็ถูกกลืนกินผสานไปเป็นส่วนหนึ่งกับลำต้นหรือกิ่งก้าน ภาพเหล่านี้ทำให้ฉันนึกถึงผลงานของฟรานซ์ คาฟค่า และตัวละครอย่าง เกร็กกอร์และเร้ดปีเตอร์ การที่ต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคม บางครั้งเราก็จำเป็นต้องค่อยปรับตัวระหว่างเนื้อแท้ตัวตนของเรากับเหตุผลภายนอก เราพยายามสร้างสมดุลซึ่งกันและกันแต่ในขณะเดียวกันก็ต้องทรมานกับความทุกข์ ความขัดแย้งและความเจ็บปวดข้างใน ในหลายครั้งสาธารณชนมิอาจเห็นหรือสัมผัสถึงสิ่งเหล่านี้ร่วมได้ มันเป็นสิ่งเกิดขึ้นภายในจิตใจคนอย่างเงียบเชียบเหมือนกับที่กำลังเกิดขึ้นในพื้นที่ส่วนตัวอย่างห้องโรงแรมแห่งนี้
เกี่ยวกับอัตซึโกะ นากามูระ
เธอเกิดที่อิชิคาว่าปี 1982 หลังจากจบการศึกษาสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยมุซาชิโนะและศิลปะการจัดดอกไม้แบบญี่ปุ่น หลังจากนั้นเธอได้สำเร็จการศึกษาต่อในสาขาประติมากรรมที่ UCL Slade School of Fine art ผลงานของเธอโฟกัสที่ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติโดยใช้วัสดุเช่นเศษไม้ เกลือ น้ำและ ปรากฏการณ์ต่างๆเช่น คลื่น อุณหภูมิ เพื่อถ่ายทอดหลังงานและเรื่องราวความทรงจำที่แฝงอยู่ในพื้นที่เคลื่อนเหนือกาลเวลาจากอดีตไปอนาคต เธอรวบรวมสิ่งเหล่านี้อย่างระมัดระวัง แยก “ส่วนที่ฉันสร้าง” และ “ส่วนที่ธรรมชาติสร้าง” แล้วแทรกแซงเข้าไปในพื้นที่เพื่อทำให้ปรากฏขึ้นมา ค้นหาความสัมพันธ์กับธรรมชาติทางกายภาพและจิตใจผ่านทางบทสนทนา
นิทรรศการเดี่ยว:
2015
The Border of Conscious and Unconscious, Kanazawa ARTGUMMI (คานาซาว่า, ญี่ปุ่น)
2011
The Pulsating Earth, Gallery LA CAJA BLANCA, (ปัลมาเดมายอร์กา, สเปน)
นิทรรศการกลุ่ม:
2019
Setouchi Triennale 2019 (คางาวะ, ญี่ปุ่น)
2019
On the verge of fiction, Kuandu Museum of Fine Art
(ไทเป, ไต้หวัน)
2017
MOT Satellite 2017 -Connecting Scapes-
The Contemporary Art Museum of Tokyo (โตเกียว, ญี่ปุ่น)
2017
Monologue Dialogue 4: Mysticism & Insecurity,
The Koppel Project (ลอนดอน, สหราชอาณาจักร)
2014
Monologue Dialogue 3 (curated by Andrew Stahl) (กรุงเทพฯ, ไทย)
“The Trial”
(2018, ญี่ปุ่น/ภาพยนตร์และพูดคุยกับผู้กำกับ)
จอห์น วิลเลี่ยมส์
หอประชุม Goethe Saal,
สถาบันเกอเธ่ กรุงเทพฯ
พิพิธภัณฑ์ใหม่เอี่ยม เชียงใหม่
พูดคุยกับผู้กำกับ
หอประชุม Goethe Saal,
สถาบันเกอเธ่ กรุงเทพฯ
ผลงานนิยายสุดคลาสสิคของฟรานซ์ คาฟค่าดำเนินเรื่องที่โตเกียวสมัยใหม่ ผู้กำกับชาวเวลส์-ญี่ปุ่น จอห์น วิลเลี่ยมส์ สับเปลี่ยนเรื่องราวของคาฟค่าเกี่ยวกับความพารานอย ความรู้สึกผิด และความกังวลในอัตถิภาวะของชาวญี่ปุ่นปัจุบัน เริ่มต้นโปรเจคนี้เติบโตมาจากการเวิร์คชอปละครของนักแสดงในปี 2015 หลังจากนั้นก็เป็นภาพยนตร์โดยใช้บทที่เปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงในปี 2017 ตามมาด้วยงานชิ้นสมบูรณ์ในปี 2018 ความดาร์คลดทอนอันลึกลับมาเจอกับการเสียดสีความไร้สาระของของระบบพิธีรีตรองคนญี่ปุ่นสามารถกล่าวได้ว่าผลงานนิยายของคาฟค่าคงเหมาะสมกับ ณ เวลานี้มากกว่าที่เคยเป็นเสียอีก ในยุคนี้ที่ถูกขนานนามว่าเป็นยุค “Post-truth” (ยุคไม่สนใจความจริง) เรื่องราวเกี่ยวของชายคนหนึ่งที่ตื่นมาพบว่าตนเองถูกจับกุมในอาชญากรรมที่สะท้อนสิ่งใหม่ออกมา ภาพยนตร์ยังคงธีมเรื่องอัตถิภาวะของคาฟค่าไว้โดยขณะเดียวกันก็เสียดสีระบบพิธีรีตรองของคนญี่ปุ่นและการเมืองขวาจัด ภาพยนตร์เรื่องนี้แสดงนำโดย ซรึโตมุ นิวะ ซึ่งเคยร่วมงานกับคุณวิลเลี่ยมส์มาแล้วสองเรื่อง และนอกจากนี้ยังมีนักแสดงหน้าใหม่ที่โดดเด่นเป็นที่รู้จักอันกว้างขวางอย่าง โทรุ ชินงาว่า และ โชเอย์ ทาคาฮาชิ นักแสดงคาบุกิ อย่างยาจุโร่ บันโดะ เองก็มาร่วมรับเชิญหลังห่างหายจากวงการไป 11 ปี
เกี่ยวกับจอห์น วิลเลี่ยมส์
จอห์น วิลเลี่ยมส์ โดยกำเนิดแล้วมาจากเวลส์แต่ได้ย้ายมาอาศัยที่ประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 1988 เขาเริ่มทำภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรกด้วยกล้อง 8 มม. ที่นาโกย่าในช่วงปี 90 ชื่อเรื่อง “Midnight spin” ปี1994 หลังจากนั้นเขาเขียนบทและกำกับภาพยนตร์ขนาดยาวสำหรับฉายโรงภาพยนตร์เรื่องแรก “Firefly dreams” ซึ่งออกฉายในปี 2001 หลังจากนั้นตามมาเรื่อยๆ “Starfish Hotel” (นำแสดงโดยโคอิจิ ซาโต้, คิมูระ ทาเอะม และคิคิ) ปี 2007, Sado Tempest ปี 2013 และ The trial ภาพยนตร์ของเขาทุกเรื่องชนะรางวัลภาพยนตร์ขนาดยาวตามเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศ รวมถึงผลงานกำกับและอำนวยการสร้างที่คนอื่นกำกับทั้งภาพยนตร์ขนาดสั้น, ขนาดยาว และ สารคดี นอกจากนี้เขายังสอนการผลิตภาพยนตร์ที่มหาวิทยาลัยโซเฟียอีกด้วย
“Shinpan (The Trial)”
(1975, ญี่ปุ่น/ภาพยนตร์)
ชูจิ เทรายามะ
หอประชุม Goethe Saal,
สถาบันเกอเธ่ กรุงเทพฯ/ 17 พ.ย. 13.00น.
พิพิธภัณฑ์ใหม่เอี่ยม เชียงใหม่ / 26 ต.ค. 15.00น.
พูดคุยกับประธานกรรมการบริหาร
Terayama World company.
หอประชุม Goethe Saal,
สถาบันเกอเธ่ กรุงเทพฯ/ 16 พ.ย. 15.00น.
The Trial (1975) เริ่มเรื่องที่ชายคนหนึ่งกำลังตอกตะปูในเมืองใหญ่ก่อนที่สังคมจะล่มสลายและ “ความโกลาหล” แพร่ขยายนำไปสู่ความรุนแรงต่อผู้ที่ร่วมรับชม เทรายามะสร้างผลงานนี้สำหรับการฉายเฉพาะบนจอที่ทำขึ้นมาเฉพาะและเตรียมคนนำไว้ท้ายเรื่องที่จะเชื้อเชิญให้คนดูลุกจากที่นั่งเปลี่ยนจากผู้สังเกตุการณ์มาเป็นผู้กระทำ แล้วหยิบตะปูตอกลงไปที่พื้นผิวของภาพ การตั้งคำถามคือส่วนสำคัญของผลงานชูจิ เทรายามะ ผู้ซึ่งผลงานของรังสรรค์อยู่ระหว่างความจริงกับจินตนาการ งานของเขาทำให้นึกถึงเทพนิยายพื้นบ้านญี่ปุ่นซึ่งถูกเปลี่ยนต่างจากเดิมไปเป็นอีกโฉมหน้า เขาเป็นทั้งผู้กำกับชื่อดัง นักกวี ผู้จัดรายการ ผู้จัดเวที นักประพันธ์เรียงความ ช่างถ่ายภาพ นักพากษ์การแข่งม้า(ไม่น้อยกว่ากว่าแปดครั้งที่เป็นผลงานของเขา), อากิฮิโกะ เซ็นดะนักวิจารณ์ละครเวทีเคยกล่าวว่าผลงานของเขานั้นเป็น “อาวองการ์ดนิรันดร์” เทรายามะมักสร้างแต่ผลงานที่สัมพันธ์กับวิสัยทัศน์และให้ผลลัพธ์ที่คาดไม่ถึงไม่ว่ากับงานรูปแบบใดก็ตาม
เกี่ยวกับชูจิ เทรายามะ
ชูจิ เทระยาม เกิดปี 1935 เมืองฮิโรซากิ จังหวัดอาโอโมริ ตลอดช่วงชีวิตของเขา เขานำเสนอตัวเองในฐานะคนที่สามารถทำงานได้หลากหลายข้ามรูปแบบกัน ทั้งงานภาพยนตร์ งานละคร งานวรรณกรรม โฆษกกีฬา(ช่วงสั้นๆ) และนักกวีโดยเป็นผลงานรูปแบบแรกที่ขนานนามให้เขาว่าเป็นนักเขียนเวอร์ชั่นเซอร์เรียลของงานกลอนญี่ปุ่นดั้งเดิมทังกะ ในปี 1967 เขาตั้งทีมละครเวทีสำหรับงานทดลองชื่อ เทนโจ ไซจิคิ ขึ้นชื่อเรื่อง ความกวน อีโรติค และ การเมือง โดยดำเนินการจนกระทั่งเทระยามะเสียชีวิตในปี 1983 ในช่วงเวลาเดียวกันเขายังตั้ง โรงภาพยนตร์โปรเกรสสีฟและพื้นที่แกเลอรี่ขณะที่เวลาเดียวกันเขาก็ทำภาพยนตร์เรื่องแรก หนังสั้นแฝงนัยยะชื่อ “The Emperor Tomato Ketchup” ปี1971 ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้าความตกใจให้หมู่ผู้ชมในเรื่องความท้ายของการเล่าเรื่อง เป็นงานสร้างที่เล่นสดไม่ได้เตรียมการในสเกลใหญ่เล่าเกี่ยวกับกลุ่มเด็กที่วางแผนจะล้มล้างการปกครองของผู้ใหญ่ และในปีเดียวกันนั้นเอง เขาทำภาพยนตร์ขนาดยาวเรื่องแรก “Throw away your books”, “Let’s go into the streets” งานอุปมาอุปไมยเกี่ยวกับกระแสวัตถุนิยมที่เติบโตในญี่ปุ่น หนังแนวนี้ของเขาถูกนำไปเปรียบเทียบกับงานของเร็นฮางซึ่งทั้งคู่ต่างท้ายทายเรื่องอำนาจและล้มธรรมเนียนรากฐานเดิมพร้อมก้าวข้ามขอบเขตไปอีกขั้น
ภาพบรรยากาศวันเปิดงาน
Unfolding Kafka Festival ที่เชียงใหม่
วันที่ 26 ตุลาคม 2019
ภาพบรรยากาศวันเปิดงาน
Unfolding Kafka Festival ที่โรงแรมโรส
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2019
ภาพบรรยากาศงาน Unfolding Kafka Festival ที่สถาบันเกอเธ่ กรุงเทพฯ
เสวนาหลังการฉายภาพยนตร์ วันที่ 16 พฤศจิกายน 2019
ภาพบรรยากาศงาน Unfolding Kafka Festival ที่สถาบันเกอเธ่ กรุงเทพฯ
เสวนาหลังการฉายภาพยนตร์ วันที่ 17 พฤศจิกายน 2019
จัดร่วมกันระหว่าง เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ กับ Unfolding Kafka Festival 2019