การเสวนาพิเศษเกี่ยวกับสิ่งทอไทยและญี่ปุ่น
ผ่านเส้นสายและลายผ้า จากโอกินาว่าถึงอีสาน
Traversing across Isan and Okinawan Textiles
ถ่ายทอดผ่านช่องทางออนไลน์
ขอนแก่น
วัน | พุธที่ 11 สิงหาคม 2564 |
เวลา | 14.00 น. – 17.00 น. (เวลาในประเทศไทย UTC+7) 16.00 น. – 19.00 น. (เวลาในประเทศญี่ปุ่น UTC+9) |
จำนวนผู้เข้าชม | Facebook of the Japan Foundation, Bangkok 26 คน Youtube of the Japan Foundation, Bangkok 30 คน Facebook of Isan Creative Festival 59 คน |
ถ่ายทอดสด ผ่านช่องทาง | |
ภาษาไทย: | รับชมออนไลน์ทางหน้าเพจเฟซบุ๊กของ เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ และTCDCขอนแก่น |
ภาษาไทย: | รับชมออนไลน์ทางลิงก์ยูทูปของ เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ |
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมกับเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2021 ภายใต้ความร่วมมือของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์(องค์การมหาชน) และศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ ขอนแก่น (TCDC ขอนแก่น) ภูมิใจนำเสนอการเสวนาพิเศษในหัวข้อ “ผ่านเส้นสายและลายผ้า จากโอกินาว่าถึงอีสาน (Traversing across Isan and Okinawan Textiles)” ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 11 สิงหาคม 2564
หลายคนอาจจะนึกไม่ถึงว่าภูมิภาคอีสานของประเทศไทย และจังหวัดโอกินาว่าของประเทศญี่ปุ่นนั้นมีความเชื่อมโยงกันอย่างไร แม้จะเป็นพื้นที่ที่ห่างไกลกัน กลับมีสิ่งที่ “คือกัน”อยู่ นั่นคือความพรั่งพร้อมด้วยความงดงามทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ที่ผ่านมาเรารู้จักโอกินาว่าและอีสานในด้านการท่องเที่ยว แต่นอกจากการท่องเที่ยวแล้ว งานฝีมือจากภูมิปัญญาชาวบ้าน อย่างผ้าอีสานและผ้าโอกินาว่าก็โดดเด่นไม่แพ้ใครเช่นกัน ลักษณะงานฝีมือของทั้งสองพื้นที่มีความสวยงามเฉพาะตัวและมีจุดคล้ายคลึงกันอยู่ ที่สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิตและความผูกพันกับธรรมชาติของคนในท้องที่ ทั้งการใช้วัสดุในการย้อมผ้าจากใบและดอกจากพืชท้องถิ่น หรือการใช้สีจากแร่ธาตุธรรมชาติ การเสวนาในครั้งนี้จะพาเราเดินทางข้ามเขตแดนไปสู่อาณาจักรริวกิวของโอกินาว่าจนถึงอีสาน เมืองดอกคูณเสียงแคน เพื่อช่วยให้เราเข้าใจความเหมือนและความต่างในงานหัตถกรรมจากทั้งสองวัฒนธรรม
การเสวนาพิเศษ “ผ่านเส้นสายและลายผ้า จากโอกินาว่าถึงอีสาน (Traversing across Isan and Okinawan Textiles)” ในครั้งนี้จะช่วยถ่ายทอดมุมมองทางด้านสิ่งทองานและฝีมือออกมาเป็นภาพที่ชัดเจนมากขึ้น รวมถึงร่วมกันแลกเปลี่ยนว่าเราควรทำอย่างไรให้งานหัตถกรรมจากภูมิปัญญาชาวบ้านได้รับการเผยแพร่ออกไปสู่สายตาชาวโลก ขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสในการเรียนรู้และการแลกเปลี่ยนความคิดและประสบการณ์เรื่องอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ผ่านสิ่งทอในแต่ละพื้นที่เพื่อร่วมแบ่งปันแนวคิดและวิธีการที่จะเป็นการต่อยอดต้นทุนทางวัฒนธรรมจากทั้งสองพื้นที่ไปสู่ระดับประเทศและระดับสากลในโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
เพื่อที่จะสร้างความเข้าใจอย่างลึกซึ้งและต่อยอดการเสวนาในหัวข้อที่กล่าวไปนั้น เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ มีความยินดียิ่งในการเชิญวิทยากร 5 ท่านมาแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และความคิดเห็นร่วมกันในงานเสวนาครั้งนี้
วิทยากรรับเชิญ 5 ท่าน คือ
ผศ.ดร.วาริน บุญญาพุทธิพงศ์
อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรม
มหาวิทยาลัยขอนแก่น
คุณมิยากิ นานา
นักวิจัยสังกัดศูนย์วิจัยทรัพยากรทางวัฒนธรรม
แห่งริวกิวของมูลนิธิโอกินาวา ชูระชิมะ (Research Center of Ryukyu Cultural Asset at Okinawa Churashima Foundation Research Center)
คุณซุซุกิ ชูจิ
ประธานและผู้บริหารของยุอิมารุ โอกินาวา (YUIMARLU OKINAWA)
คุณกาญจนา ชนาเทพาพร
ผู้ก่อตั้ง BWILD byHeart
คุณขนิษฐา นวลตรณี
นักออกแบบสิ่งทอ
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมพระราชูปถัมภ์
โดย ผศ.ดร.วัชรา สุยะรา อาจารย์จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้ดำเนินรายการและแปลภาษาจากญี่ปุ่นเป็นภาษาไทย
ประวัติวิทยากร
ผศ.ดร.วาริน บุญญาพุทธิพงศ์
(คณะสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
ผศ.ดร.วาริน บุญญาพุทธิพงศ์ เป็นชาวเชียงใหม่แต่กำเนิด จบการศึกษาสูงสุดปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ขอนแก่น มีความชำนาญพิเศษด้านการออกแบบสิ่งทอ และมีประสบการณ์ทั้งด้านงานสอนวิชาภายในคณะ งานวิจัย ผลงานออกแบบสิ่งพิมพ์และนิทรรศการที่เกี่ยวกับผ้า รวมถึงงานบริการวิชาการ เช่น โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการต่างๆ ที่ช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์ของชุมชน นอกจากนี้ยังเคยได้รับทุนฝึกอบรมและวิจัยต่างประเทศ หนึ่งในนั้นเป็นทุนศึกษาดูงานเปรียบเทียบสิ่งทอโอกินาว่าและอีสานของเจแปนฟาวน์เดชั่น เอเชียเซ็นเตอร์ที่โอกินาว่า ประเทศญี่ปุ่น ในปี 2016
คุณมิยางิ นานะ
นักวิจัยสังกัดศูนย์วิจัยทรัพยากรทางวัฒนธรรมแห่งริวกิวของมูลนิธิ โอกินาว่า ชูระชิมะ (Research Center of Ryukyu Cultural Asset at Okinawa Churashima Foundation Research Center)
คุณมิยางิเติบโตมาท่ามกลางสวนอิโตะบะโช (ต้นกล้วยของโอกินาว่า) ของคุณยาย
ตั้งแต่เด็กจนถึงชั้นมัธยมต้น เธอเฝ้าดูคุณยายของเธอใช้ทักษะงานฝีมือถักทอเส้นใยจากต้นกลัวยเหล่านั้นอย่างใกล้ชิน ตั้งแต่ขั้นตอนการลอกเปลือก การต้มและปั่นด้าย ภาพของคุณยาย สัมผัสผิวใบ กลิ่นในตอนที่ต้มเส้นใย ทุกช่วงเวลาที่เธอได้ใช้ร่วมกับคุณยายของเธอ รวมถึงการเปิดรับสัมผัสของพื้นผิวและกลิ่นหอมภายใต้แสงแดดของโอกินาว่ายังคงชัดเจนในความทรงจำ ประสบการณ์ในวัยเด็กได้กลายมาเป็นจุดเริ่มต้นในเส้นทางอาชีพในการทอผ้า
เธอรู้สึกหลงใหลในเนื้อผ้าที่เรียบหรู สัมผัสโปร่งใสและมิติของลวดลายบนเครื่องแต่งกายสมัยริวกิว เธอได้เริ่มสำรวจและวิจัยการย้อมและทอผ้าแบบดั้งเดิม ขณะที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาโท จนปัจจุบัน เธอรับผิดชอบการสร้างแบบผ้าถึง 29 ชิ้น ให้กับพิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดโอกินาวาและโครงการฟื้นฟูวัฒนธรรมสมัยอาณาจักรริวกิวของพิพิธภัณฑ์ศิลปะ ตอนนี้เธอกำลังวิจัยอันสืบเนื่องมาจากความสนใจของเธอเอง เกี่ยวกับผิวสัมผัสและลวดลายแบบมิเอซุ (Miezu) โดยใช้บันทึกทางประวัติศาสตร์ หลักฐานเชิงประจักษ์และการศึกษาขั้นตอนการผลิต
คุณซุซุกิ ชูจิ
ประธานและผู้บริหารของยุอิมารุ โอกินาวา (YUIMARLU OKINAWA)
คุณซุซุกิ ได้เข้าทำงานที่บริษัทยุอิมารุ โอกินาว่า ในปี 1988 และดำรงตำแหน่งประธานบริหาร ตั้งแต่ปี 2010 และเริ่มก่อตั้งแบรนด์งานหัตถกรรมต่างๆ อาทิ แบรนด์เครื่องแก้วริวกิวและเครื่องปั้นดินเผา นอกจากนี้ยังได้สร้างธุรกิจแบรนด์ที่ออกแบบร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปะประจำจังหวัดโอกินาว่า ทุกวันนี้ได้ทุ่มเทให้กับการช่วยหาทางออกด้านประเด็นหัตถกรรมของโอกินาว่า เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของโอกินาว่าและการบริหารโปรเจกต์พัฒนาฝีมือช่างทอผ้า เป็นต้น
คุณกาญจนา ชนาเทพาพร
ผู้ก่อตั้ง BWILD byHeart
คุณกาญจนา จบการศึกษาปริญญาโท ทางด้านบริหารธุรกิจ จากวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (College of Graduate Study in Management majoring in Business Administration, Khon Kaen University) ในปี 2546 เธอได้เข้ามาช่วยกิจการร้านขายผ้าของครอบครัวในจังหวัดขอนแก่น จึงได้ไปเรียนการตัดเย็บเสื้อผ้า จนเกิดเป็นความรักในสิ่งที่ทำ และได้เปิดห้องเสื้อของตัวเองที่มีชื่อว่า by Heart
กระทั่งในปี 2562 คุณกาญจนาได้ก่อตั้ง BWILD byHeart ขึ้นมาเพื่อเปิดโอกาสให้นักออกแบบรุ่นใหม่และช่างฝีมือในท้องถิ่น ได้สร้างผลงานดีๆ ร่วมกัน โดยเป็นการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือ “อีสาน” ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มาสร้างสรรค์งานศิลปะและงานฝีมือ ที่สะท้อนถึงความคิดริเริ่มจากเรื่องใกล้ตัวในอีสาน เป็นการรวมกลุ่ม เพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กันและกัน เพื่อให้ทุกคนมีรายได้เพียงพอสำหรับดูแลครอบครัว ไม่ต้องย้ายถิ่นฐาน สามารถทำงานด้วยความสุข อย่างมีคุณค่าที่บ้านเกิดของตนได้
คุณขนิษฐา นวลตรณี นักออกแบบสิ่งทอ
มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมพระราชูปถัมภ์
คุณขนิษฐาเป็นนักออกแบบและศิลปินสิ่งทอ เธอจบการศึกษาปริญญาตรีทางด้านการออกแบบอุตสาหกรรมจากมหาวิทยาลัยในไทย เธอมีความสนใจเป็นพิเศษในด้านศิลปะสิ่งทอและหัตถกรรม โดยได้ศึกษาต่อทางด้านการออกแบบและศิลปะสิ่งทอจากคณะศิลปะ การออกแบบและสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยอัลโต ที่เฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ ผลงานของเธอโดดเด่นจากการใช้เทคนิคที่ซับซ้อนและวัสดุที่หลายหลากในการแสดงให้เห็นถึงความงามของสิ่งทอโบราณโดยการตีความใหม่ในเข้ากับบริบทร่วมสมัย ปัจจุบันนี้ คุณขนิษฐาเป็นหัวหน้านักออกแบบสิ่งทอของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์และเป็นผู้ก่อตั้งสตูดิโอ “Kanitt.Textile” ที่สร้างสรรค์โครงการทดลองต่างๆ
ดำเนินรายการและล่ามแปลภาษาจากไทยเป็นญี่ปุ่น
ผศ.ดร.วัชรา สุยะรา
(คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สาขาการสอนภาษาญี่ปุ่น)
ผศ.ดร.วัชรา สุยะราเป็นคนจังหวัดอุบลราชธานีโดยกำเนิด อดีตนักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น จบปริญญาเอกด้าน Comparative Culture & Area Studies จากมหาวิทยาลัยริวกิว และมีโอกาสได้เรียนและใช้ชีวิตที่โอกินาว่าร่วม 7 ปี ในปัจจุบัน เป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาการสอนภาษาญี่ปุ่น คณะศึกษาศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น
Isan Creative Festival 2021 (ISANCF2021) หรือ เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2564 จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในระหว่างวันที่ 9 กรกฎาคม – 15 สิงหาคม 2564 ภายใต้ธีม “ISAN CROSSING: อีสาน โคตรซิ่ง” ที่สะท้อนความร่วมมือระหว่างเครือข่าย (crossover) เพื่อก้าวข้ามความท้าทายสู่จุดหมาย (crossing) โดยเน้นนำเสนอโครงการและกิจกรรมจากความสร้างสรรค์อันหลากหลายของถิ่นอีสาน (diversity) ในฐานะแพลตฟอร์มกลางที่สร้างโอกาสในการแสดงศักยภาพอย่างมีส่วนร่วมและเท่าเทียม (inclusivity) พร้อมสร้างความเข้มแข็งเพื่อก้าวผ่านและเติบโตต่อไปในอนาคต โดยเทศกาลฯ จะจัดขึ้นในพื้นที่ย่านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy District) ที่อยู่ในจังหวัดขอนแก่น อาทิ กังสดาล ศรีจันทร์ และพื้นที่อื่นๆ อีก 19 จังหวัดในภาคอีสาน ชมเว็บไซต์ได้ที่ https://www.isancreativefestival.com/
ร่วมจัดโดย
ภาพงานเสวนาพิเศษออนไลน์
ผ่านเส้นสายและลายผ้า จากโอกินาว่าถึงอีสาน
https://bit.ly/3hCm7uT