สัมมนาการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์ ประจำปี 2564

สัมมนาการเรียนการสอน
ภาษาญี่ปุ่นออนไลน์ ประจำปี 2564

จุดประสงค์: เพื่อส่งเสริมความรู้ความสามารถทางด้าน ICT ของครูสอนภาษาญี่ปุ่นจากการทบทวนการสอนออนไลน์ที่ผ่านมา
ผู้จัด: เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
วันและเวลา: วันเสาร์ที่ 25 กันยายน 2564 เวลา 10.00 -12.00 น.
ช่วงเวลารับสมัคร: วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2564 – วันศุกร์ที่ 3 กันยายน 2564 (12.00 น.)
สมัครทาง Google Form: https://forms.gle/nrRLsGY1vv8T7ope6
※ แจ้งผลการสมัครทางอีเมลภายในวันศุกร์ที่ 10 กันยายน 2564
จำนวนผู้เข้าร่วม: 150 คน (คัดเลือกตามลำดับการสมัคร)
※ หากมีจำนวนผู้สมัครเกินกว่าที่กำหนดจะขอสงวนสิทธิ์ให้แก่ผู้สอนภาษาญี่ปุ่นในประเทศไทยก่อน
ภาษาที่ใช้ในการบรรยาย: ภาษาญี่ปุ่น
ลักษณะการบรรยาย: ผ่านโปรแกรม Zoom
Meeting ID และรหัสผ่าน จะส่งให้ผู้เข้าร่วมทางอีเมลในวันศุกร์ที่ 24 กันยายน 2564
หมายเหตุ: ขอความกรุณาเปิดกล้องและไมค์ ขณะพูดคุยแสดงความคิดเห็นในกลุ่มย่อย (Breakout room)

กำหนดการ

  9.30 เข้าห้องประชุมออนไลน์
  10.00-10.05 กล่าวเปิดการงานสัมมนา
  10.05-11.50 การบรรยายพิเศษ หัวข้อ: “ปัญหาการสอนออนไลน์และวิธีการปรับปรุงแก้ไข-โดยใช้รูปแบบARCS” วิทยากร: Asst. Prof. Dr. ITO Hideaki (Tsukuba University)
  11.50-12.00 ประชาสัมพันธ์เรื่อง “สู้ ๆ ไอเดียสแควร์”  จาก JFBKK  และการกล่าวสรุป
ITO, Hideaki (Dr.)

This image has an empty alt attribute; its file name is image002.png
  筑波大学人文社会系助教。筑波大学より博士号(国際日本研究)を取得。2017年より現職。
  研究領域は、日本語教育学、日本語教育方法論、学習環境、CALL、協働学習、CEFR。
  数多くの日本語学習サイト(「Kanji Animation」「まるごと+初級2」「まるごとのことば 初級2(A2)」「ひろがる もっといろんな日本と日本語」等)作成に携わる。 主な著書に、『日本語の教科書がめざすもの』(編著、凡人社、2019)、『オンライン授業を考えるー日本語教師のためのICTリテラシー』(編著、くろしお出版、2021年刊行予定)等が

ในยุคที่ไวรัสโควิด19 ยังคงแพร่ระบาด คิดว่าอาจารย์หลายท่านคงคุ้นเคยกับการสอนออนไลน์กันบ้างแล้ว แต่ขณะเดียวกันพอประสบการณ์สอนออนไลน์เพิ่มขึ้น ก็เริ่มเห็นโจทย์หรือปัญหาที่ว่า “เมื่อเกิดกรณีเช่นนี้จะทำอย่างไรดีนะ” การค้นหาหนทางแก้ไขในชั้นเรียนของตนเองก็เป็นสิ่งสำคัญ  แต่บ่อยครั้งไอเดียใหม่ ๆ ก็เกิดจากการร่วมกันขบคิดกับอาจารย์ท่านอื่น ๆ

สัมมนาในครั้งนี้จะใช้ทฤษฎี “รูปแบบ ARCS” ที่เกี่ยวกับการเพิ่มแรงจูงใจในห้องเรียนมาร่วมกันขบคิดประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการสอนออนไลน์ที่ทุกท่านประสบอยู่ว่าจะทำอย่างไรถึงจะสามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกสนุกเพลิดเพลินและพึงพอใจ