สัมมนาออนไลน์เกี่ยวกับการทำงานในประเทศญี่ปุ่นด้วยระบบสถานะแรงงานทักษะเฉพาะทาง-ภาษาญี่ปุ่นที่จำเป็นสำหรับผู้ไปทำงานที่ญี่ปุ่น-

สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
และ เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ผู้จัดงาน

สัมมนาออนไลน์เกี่ยวกับการทำงานในประเทศญี่ปุ่นด้วยระบบสถานะแรงงานทักษะเฉพาะทาง
-ภาษาญี่ปุ่นที่จำเป็นสำหรับผู้ไปทำงานที่ญี่ปุ่น-

[วันเวลา] วันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2565
เวลา 9.00 – 17.00 น. (เวลาไทย)
[สถานที่จัด] รูปแบบออนไลน์(Zoom Webinar)
[ค่าใช้จ่าย] ไม่เสียค่าใช้จ่าย
[ภาษาที่ใช้]     ภาษาไทยและภาษาญี่ปุ่น
[การลงทะเบียนเข้าร่วม] https://bit.ly/34xG96e
กรุณาลงทะเบียนภายในวันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2565

กำหนดการ
* รายละเอียดของงานบางส่วนอาจมีการเปลี่ยนแปลง

เวลา กำหนดการ วิทยากร
ช่วงเช้า
ตั้งแต่
9.00 น.-12.30 น.
พิธีกล่าวเปิดงาน เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ และ
สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
 บรรยายพิเศษหัวข้อ “ช่องทางในการทำงานที่ญี่ปุ่นสำหรับชาวไทย” JEDUCATION
 บรรยายพิเศษหัวข้อ “ระบบวีซ่าทักษะเฉพาะทาง” สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
 บรรยายพิเศษหัวข้อ “ระบบการส่งเสริมและสนับสนุนของรัฐบาลไทยอันเกี่ยวเนื่องกับระบบของวีซ่าทักษะเฉพาะทาง” หน่วยงานราชการของไทย
(อยู่ระหว่างการประสานงาน)
 บรรยายพิเศษหัวข้อ “การสอบวัดระดับทักษะเฉพาะทาง” สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
 บรรยายพิเศษหัวข้อ “การสอบและประเมินผลทักษะเฉพาะทางสาขาการผลิต” สมาคมศิษย์เก่าศูนย์วัฒนธรรมเอเชียและทุนฝึกอบรมเทคนิคโพ้นทะเล (ประเทศไทย)  สำนักงานกรุงเทพฯ
 ช่วงอธิบายเกี่ยวกับการสอบ JFT-Basic เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
 ช่วงเสวนาหัวข้อ “ประสบการณ์การทำงานในประเทศญี่ปุ่น” ผู้มีประสบการณ์การทำงานที่ญี่ปุ่น
พักกลางวัน(12:30-13:30)
ช่วงบ่าย
ตั้งแต่
 13.30 น.-17.00 น.
 บรรยายพิเศษหัวข้อ “การศึกษาภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสาร จากรูปแบบไวยากรณ์ตามลำดับโดยไม่สามารถข้ามเนื้อหาส่วนใดได้ สู่รูปแบบปฏิบัติกิจกรรมให้สำเร็จลุล่วง” อาจารย์ Kojima Keiko
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
 บรรยายพิเศษหัวข้อ “ภาษาญี่ปุ่นเพื่อการทำงานในสายวิชาชีพการบริบาล” อาจารย์ Murakami Masami
สมาคมโรงพยาบาลแห่งญี่ปุ่น
 ช่วงเสวนา อาจารย์ Kojima Keiko
และ อาจารย์ Murakami Masami
 พิธีกล่าวปิดงาน เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ

เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯได้ร่วมกับ สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย จัดสัมมนาออนไลน์เกี่ยวกับการทำงานในประเทศญี่ปุ่นด้วยระบบสถานะแรงงานทักษะเฉพาะทาง-ภาษาญี่ปุ่นที่จำเป็นสำหรับผู้ไปทำงานที่ญี่ปุ่น- ในวันเสาร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2565

สัมมนาในครั้งนี้ เป็นสัมมนาที่จะพูดถึงข้อมูลโดยทั่วไปเกี่ยวกับสถานะการพำนัก “แรงงานทักษะเฉพาะทาง”  ระบบการสอบภาษาญี่ปุ่น ระบบการสอบทักษะเฉพาะทาง พร้อมทั้งภาษาญี่ปุ่นที่จำเป็นสำหรับผู้ที่จะไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นว่ามีลักษณะอย่างไร มีการจัดการเรียนการสอนอย่างไร สำหรับผู้ที่สนใจทั่วไป ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาภาษาญี่ปุ่นเท่านั้น แต่ยังรวมถึงชาวไทยที่ต้องการไปทำงานที่ญี่ปุ่น องค์กรผู้รับของญี่ปุ่นที่รับแรงงานจากไทย หรือองค์กรเอกชนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการสรรหาบุคคลากรให้แก่บริษัทต่างๆด้วย โดยสัมมนาจัดในรูปแบบออนไลน์ มีบรรยายภาษาญี่ปุ่น ภาษาไทย และมีล่ามแปลตลอดการสัมมนา

ช่วงครึ่งแรกของสัมมนาจะเป็นโปรแกรมเกี่ยวกับ “การทำงานในญี่ปุ่น” โดยจะเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับ “สถานะแรงงานทักษะเฉพาะทาง” บรรยายโดยสถานเอกอัคราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และวิธีการยื่นขอสถานะดังกล่าว รวมถึงระบบการส่งเสริมและสนับสนุนของรัฐบาลไทยอันเกี่ยวเนื่องกับสถานะแรงงานทักษะเฉพาะทาง” บรรยายโดย หน่วยงานราชการของไทย  นอกจากนี้ยังมีชาวไทยผู้ที่เคยไปทำงานที่ญี่ปุ่น มาร่วมบอกเล่าประสบการณ์ในการทำงานในญี่ปุ่นของตัวเองให้รับทราบด้วย

ส่วนช่วงครึ่งหลังของสัมมนาจะเป็นโปรแกรมเกี่ยวกับ “ภาษาญี่ปุ่นสำหรับผู้ที่จะไปทำงานที่ญี่ปุ่น” ซึ่งจะมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ  “การศึกษาภาษาญี่ปุ่นเพื่อการสื่อสาร จากรูปแบบไวยากรณ์ตามลำดับโดยไม่สามารถข้ามเนื้อหาส่วนใดได้ สู่รูปแบบการปฏิบัติกิจกรรมให้สำเร็จลุล่วง” โดยอาจารย์ Kojima Keiko ที่ปรึกษาการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นประจำเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ และการบรรยายพิเศษโดย อาจารย์ Murakami Masami อาจารย์พิเศษด้านภาษาญี่ปุ่นของสมาคมโรงพยาบาลแห่งญี่ปุ่น/อาจารย์พิเศษภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยฮิโตะทสึบะชิ และมหาวิทยาลัยวะเซะดะ ในหัวข้อ “ภาษาญี่ปุ่นเพื่อการทำงานในสายวิชาชีพการบริบาล” ซึ่งเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นที่จำเป็นต่อผู้ที่จะไปประกอบอาชีพด้านบริบาลที่ญี่ปุ่นว่ามีอะไรบ้าง

สถานะ “แรงงานทักษะเฉพาะทาง” นั้นเป็นสถานะการพำนักอาศัยที่กำหนดขึ้นมาใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแรงงานและบุคคลากรอย่างหนักในประเทศญี่ปุ่น โดยเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่เดือนเมษายนปี ค.ศ.2019 เป็นต้นมา เพื่อรองรับแรงงานต่างชาติที่มีฝีมือและทักษะเฉพาะ  “ทักษะเฉพาะทาง” แบ่งออกเป็น หมายเลข 1 และหมายเลข 2 โดยทักษะเฉพาะทางหมายเลข 1 ประกอบด้วยงานในหลากหลายสาขาอาชีพจำนวน 14 อาชีพ[1] การไปทำงานด้วยสถานะ “แรงงานทักษะเฉพาะทางหมายเลข 1” จำเป็นต้องมีผลสอบด้านทักษะของงานสาขาอาชีพนั้นๆ และการวัดระดับความสามารถภาษาญี่ปุ่น[2] ซึ่งกำหนดระดับความสามารถในการใช้ภาษาญี่ปุ่น JLPT หรือ Japanese Language Proficiency Test แล้วว่าจะต้องอยู่ในระดับที่ไม่น้อยกว่า N4 หรือระดับ A2 ของการสอบ JFT-Basic (Japan Foundation Test for Basic Japanese)

JFT-Basic (Japan Foundation Test for Basic Japanese) เป็นการสอบวัดระดับความสามารถภาษาญี่ปุ่นที่จำเป็นต่อการสื่อสารในชีวิตประจำวันสำหรับชาวต่างชาติที่จะไปทำงานและใช้ชีวิตที่ญี่ปุ่น เริ่มจัดสอบเมื่อเดือนเมษายนปี 2019 เป็นต้นมา พร้อมกับการเริ่มสถานะการพำนักแรงงานทักษะเฉพาะทาง โดยข้อสอบจะประเมินว่า ผู้เข้าสอบมีความสามารถภาษาญี่ปุ่นอยู่ในระดับที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตหรือไม่ ซึ่งการสอบนี้มีจัดสอบในไทยและประเทศต่างๆ ในเอเชียรวม 9 ประเทศ[3] โดยเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพ เป็นผู้รับผิดชอบในการจัดสอบนี้

ในประเทศไทย สถานะแรงงานทักษะเฉพาะทางนั้นได้รับการคาดหวัง แต่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับระบบหรือการประเมินทักษะ รวมทั้งการประเมินภาษาญี่ปุ่นต่างๆ นั้นยังไม่เป็นที่รับรู้แพร่หลายนัก สัมมนาในครั้งนี้จึงนับว่าเป็นโอกาสดีที่จะได้รับความรู้ข้อมูลล่าสุดต่างๆ ทั้งประเด็นปัญหา และมาตรการที่เกี่ยวข้องด้วย


[1] งานบริบาล, การจัดการความสะอาดอาคาร, อุตสาหกรรมชิ้นส่วนเครื่องจักรและเครื่องมือ, อุตสาหกรรมเครื่องจักรในโรงงาน, อุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์และข้อมูล, งานก่อสร้าง, อุตสาหกรรมต่อเรือและเครื่องจักรเรือ, การซ่อมและดูแลรักษารถยนต์, อุตสาหกรรมการบิน, อุตสาหกรรมการอำนวยความสะดวก, การเกษตร, การทำประมงและเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ, การผลิตอาหารและเครื่องดื่ม, อุตสาหกรรมบริการด้านอาหาร

[2] ผู้ที่สำเร็จการฝึกงานด้านเทคนิคหมายเลข 2 ไม่จำเป็นต้องเข้าสอบประเมินทักษะภาษาญี่ปุ่นและการสอบประเมินทักษะอาชีพ

[3] 9 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น กัมพูชา อินโดนีเซีย มองโกเลีย เนปาล ฟิลิปปินส์ ไทย ศรีลังกา และอินเดีย


ประวัติวิทยากร

อาจารย์ Murakami Masami (村上まさみ)
อาจารย์พิเศษด้านภาษาญี่ปุ่น  สมาคมโรงพยาบาลแห่งญี่ปุ่น
อาจารย์ภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัย ฮิโตะทสึบะชิ และมหาวิทยาลัย วะเซะดะ

เริ่มเข้าสู่สายอาชีพครูสอนภาษาญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 1997 โดยที่ได้เดินทางบนเส้นทางการสอนภาษามาตลอดผ่านการพบปะรู้จักนักศึกษาต่างชาติมากมายที่เดินทางมาที่ญี่ปุ่นไม่ว่าจะเป็นชาวไทยหรือชาติอื่นๆ ตั้งแต่ช่วงที่เริ่มคิดเปลี่ยนสายงานจากการเป็นพนักงานบริษัทมาสู่เส้นทางการศึกษา นับตั้งแต่นั้นก็ได้ตั้งเป้าหมายบนเส้นทางการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นที่จะเกี่ยวข้องกับ “ภาษาของตัวเอง” ในสายงานต่างๆ ทั้งสถานพยาบาล สถานพักฟื้น โรงพยาบาล มหาวิทยาลัย โรงเรียนสอนภาษา รวมถึงศูนย์ฝึกเทคนิคฝีมือของทั้งภาครัฐและเอกชนมากมาย ปัจจุบันได้ทำงานเกี่ยวกับการอบรมบุคคลากรอาสาสมัครที่สนับสนุนการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นในส่วนภูมิภาค และดำรงตำแหน่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการสอนภาษาญี่ปุ่น ซึ่งรับผิดชอบดูแลเรื่องการวางแผนออกแบบสอนคอร์สเรียนภาษาญี่ปุ่นให้แก่ ผู้ฝึกงานด้านเทคนิค และ บุคคลากร EPA ของแผนกสรรหาบุคคลากรต่างชาติด้านพยาบาลของสมาคมโรงพยาบาลแห่งญี่ปุ่นและ Social welfare corporation ของญี่ปุ่น

อาจารย์ Kojima Keiko (小島佳子)
ที่ปรึกษาการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นประจำเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ

ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเป็นอาจารย์สอนภาษาญี่ปุ่นให้แก่ชาวต่างชาติ จึงได้เดินทางไปสอนภาษาญี่ปุ่นที่ประเทศเนปาลเป็นเวลา 1 ปี หลังจากนั้นก็กลับมาทำงานด้านการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นให้แก่นักเรียนต่างชาติในโรงเรียนสอนภาษาญี่ปุ่นและมหาวิทยาลัยต่างๆในประเทศญี่ปุ่น ในปี 2006 ได้เริ่มงานในส่วนของคลาสเรียนภาษาญี่ปุ่นประจำท้องถิ่นสำหรับชาวต่างชาติ จึงมีความสนใจในแนวทางการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นสำหรับทักษะในการดำรงชีวิตในประเทศญี่ปุ่น ปี 2012 ได้รับผิดชอบในโปรแกรมการฝึกอบรมให้แก่อาสาสมัครสอนภาษาญี่ปุ่นขององค์กรการศึกษาในส่วนภูมิภาค ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นให้แก่ชาวต่างชาติผู้ใช้ชีวิตในญี่ปุ่น ผู้ลี้ภัย หรือผู้ที่ไปทำงานในสถานะฝึกงานด้านเทคนิค  ตั้งแต่เดือนธันวาคมปี 2019 จนถึงปัจจุบันได้ทำหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องของการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่นสำหรับผู้ที่จะไปทำงานในประเทศญี่ปุ่น

ผู้จัดงาน : สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และ เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ

ติดต่อสอบถาม : info-jftb@ba.jpf.go.jp
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
The Japan Foundation, Bangkok
10th Fl. Serm-Mit Tower, 159 Asoke-Montori Road,
Bangkok 10110
Tel: 02-260-7500-4
Website: https://ba.jpf.go.jp
Facebook: https://www.facebook.com/jfbangkok
https://www.facebook.com/JFTBasic.Thailand