เทศกาลศิลปะบางกอกอาร์ตเบียนนาเล่ 2022
โกลาหล : สงบสุข
|
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ มีความยินดีอย่างยิ่งที่ร่วมสนุนการจัดงานเทศกาลศิลปะบางกอกอาร์ตเบียนนาเล่ 2565 หรือ Bangkok Art Biennale (BAB) ภายใต้หัวข้อ โกลาหล : สงบสุข (CHAOS : CALM) ที่นำเสนอผลงานศิลปะมากกว่า 200 ชิ้น จากศิลปินชั้นนำระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศกว่า 73 ท่านจาก 35 ประเทศทั่วโลก งานเทศกาลศิลปะบางกอกอาร์ตเบียนนาเล่ 2565 จะจัดขึ้นระหว่าง วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม 2565 ถึงวันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ในหลายสถานที่ คือ พื้นที่ทางศิลปะและวัฒนธรรม 11 แห่ง และพื้นที่ออนไลน์อีกหนึ่งแห่ง
เนื้อหาใจความหลักของบางกอกอาร์ตเบียนนาเล่ในครั้งนี้จะสะท้อนให้เห็นถึงความท้าทายต่างๆที่มนุษยชาติกำลังเผชิญในห้วงเวลาที่ล่อแหลมนี้ ถึงแม้ว่าเหล่าศิลปินนำเสนอผลงานที่แสดงให้เห็นถึงความอลหม่าน ความเจ็บช้ำและความโกรธแค้นและย้ำเตือนเราถึงความเปราะบางและความอ่อนแอของมนุษย์ พวกเขาต่างยังคงมีทางแห่งความหวัง ความอดทนและความตั้งมั่นที่จะฟื้นฟูและเติบโตต่อไปในโลกที่น่าหวาดกลัวและยุ่งเหยิง ในความโกลาหลนี้เอง ศิลปะสามารถนำทางให้เราก้าวผ่านความตึงเครียดที่ฝังลึกโดยการสร้างสรรค์บริบทต่างๆที่นำไปสู่ความสงบ การไตร่ตรองและสันติ ดังนั้นหัวข้อ โกลาหล : ความสงบสุข จึงเกี่ยวข้องกับเรื่องราวย่อยๆที่ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการแย่งชิงทางภูมิศาสตร์การเมือง ความขัดแย้งทางอุดมการณ์ ลัทธิอาณานิคมสมัยใหม่ การอพยพและผู้คนพลัดถิ่น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศด้วย
Chiharu-Shiota,-I-hope…,-2021.-Installation,-rope,-paper,-steel,-König-Galerie,-Berlin,-Germany-Photo-by-
Sunhi-Mang,-©VG-Bild-Kunst,-Bonn,-2021-and-Chiharu-Shiota
ในส่วนของผลงานไฮไลท์จากศิลปินทั้งหมดที่ร่วมงานจะรวมถึงผลงานศิลปินชาวญี่ปุ่นที่โดดเด่นสามท่านด้วย ได้แก่ผลงาน “I hope…,2021” และ “Will of the Universe, 2021” โดยชิโอตะ ชิฮารุ (SHIOTA Chiharu), ผลงาน “on the way home # 003, 2016” และ “on the way home # 005, 2016” โดยคาตายามะ มาริ( KATAYAMA Mari) และ “Time Waterfall -Panel#MAM, 2019” และ “Painting of Change – 000, 2020” โดย มิยาจิมะ ทัตสึโอะ (MIYAJIMA Tatsuo)
นอกจากนี้ จะมีงานเวทีอภิปรายสาธารณะในวันเสาร์ที่ 22 และวันอาทิตย์ที่ 23 ตุลาคม 2565 ณ ห้องออดิทอเรียม หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เวลา 10.00 น. ทั้งนี้ในวันเสาร์ที่ 22 ซึ่งเป็นวันเปิดงานเทศกาล จะมีการอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และมุมมอง ระหว่าง อภินันท์ โปษยานนท์ นันโจ ฟุมิโอะ และมิยาจิมะ ทัตสึโอะ ช่วงเวลา 14.20 น. ถึง 15.10 น. โดยทุกท่านสามารถเข้าร่วมฟังได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
ชิโอตะ ชิฮารุ (SHIOTA Chiharu)
ภาพถ่ายโดย Sunhi-Mang
ผลงาน: I hope…, 2021 และ Will of the Universe, 2021
สถานที่จัดแสดง: ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
แรงบันดาลใจของชิโอตะมักเกิดจากประสบการณ์หรืออารมณ์ส่วนตัวที่แผ่ขยายออกไปถึงเรื่องความกังวลทั่วไปเกี่ยวกับมนุษย์ เช่น ชีวิต ความตายและความสัมพันธ์ เธอได้ให้คำนิยามใหม่สำหรับแนวคิดเรื่องความทรงจำและความรู้สึกตัวโดยการสะสมสิ่งของทั่วไป เช่น รองเท้า กุญแจ เตียง เก้าอี้ เสื้อผ้าและดูดกลืนสิ่งเหล่านั้นเข้าด้วยกันด้วยโครงสร้างร้อยเรียงขนาดใหญ่ ชิโอตะได้ค้นหาความรู้สึกของ “ความมีอยู่ในความไม่มี” ด้วยผลงานติดตั้งของเธอ นอกจากนี้เธอยังสื่ออารมณ์ที่จับต้องไม่ได้ในผลงานประติมากรรม ภาพวาด วีดีโอการแสดง ภาพถ่ายและผ้าใบ ในปี 2551 เธอได้รับรางวัล Art Encouragement Prize จากกระทรวงการศึกษา วัฒนธรรม การกีฬา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของรัฐบาลญี่ปุ่นในฐานะศิลปินหน้าใหม่ ต่อมาในปี 2558 เธอได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศญี่ปุ่นเข้าร่วมแสดงผลงานที่เทศกาลศิลปะเวนิส เบียนาเล่ ครั้งที่ 56 ผลงานศิลปะของเธอได้ถูกจัดแสดงที่สถาบันระดับประเทศมากมายทั่วโลก ได้แก่ Espoo Museum of Modern Art (Espoo, 2021), Museum of New Zealand Te Papa Tongarewa (Wellington, 2020), Mori Art Museum (Tokyo, 2019), Gropius Bau (Berlin, 2019), Art Gallery of South Australia (2018), Yorkshire Sculpture Park (UK, 2018), Power Station of Art (Shanghai, 2017), K21 Kunst Nordrhein-Westfalen (Düsseldorf, 2015), Smithsonian Institution Arthur M.Sackler Gallery (Washington DC, 2014), the Museum of Art (Kochi, 2013), และ the National Museum of Art (Osaka, 2008) เธอยังเข้าร่วมงานนิทรรศการระหว่างประเทศมากมาย เช่น Oku-Noto International Art Festival (2017), Sydney Biennale (2016), Echigo-Tsumari Art Triennale (2009) และ Yokohama Triennale (2001)
คาตายามะ มาริ (KATAYAMA Mari)
ภาพถ่าย ©MariKataya
ผลงาน: on the way home # 003, 2016 และ on the way home # 005, 2016
สถานที่จัดแสดง: หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
คาตายามะ มาริ เกิดปี 2530 ที่ไซตามะ และเติบโตที่กุนมะ ประเทศญี่ปุ่น และสำเร็จการศึกษาปริญญาโทจากภาควิชา Intermedia Art จากมหาวิทยาลัยศิลปะแห่งโตเกียวในปี 2555 เนื่องจากความทุกข์ทรมานจากโรค congenital tibial hemimelia ขาทั้งสองข้างของเธอจึงถูกตัดทิ้งตั้งแต่อายุ 9 ขวบ ตั้งแต่นั้นมา เธอได้สร้างสรรค์ผลงานภาพเหมือนของตนเอง ควบคู่ไปกับงานถักร้อยและการตกแต่งขาเทียมโดยใช้ตัวเธอเองเป็นรูปปั้นที่มีชีวิต เธอเชื่อว่าการได้สืบค้นหาตัวเองทำให้เธอเชื่อมต่อกับคนอื่นๆ มันเหมือนกับงานปะติดปะต่อผ้าที่เกิดขึ้นจากการเย็บขอบผ้าด้วยด้ายและเข็ม และชีวิตประจำวันของเธอเองก็สามารถเชื่อมโยงกับสังคมและโลกภายนอกที่กว้างขึ้นได้เช่นกัน
นอกจากผลงานศิลปะที่สร้างสรรค์ของเธอ คาตายามะยังทำงานเป็นโมเดลแฟชั่น นักร้องและนักพูดที่งานนานาชาติมากมาย เธอยังเป็นผู้นำโครงการ High Heels Project ที่กำลังเข้าสู่ระยะที่สอง โดยคำขวัญของโครงการคือการใช้ร่างกายและศิลปะในทางใดก็ได้ที่ทำให้บรรลุ “เสรีภาพในการเลือก”
นิทรรศการหลักของเธอ ประกอบด้วยผลงาน home again (Maison Européenne de la Photographie, Paris, France, 2021), 58th Venice Biennale 2019 (Giardini and Arsenale, Venice, Italy), broken heart (White Rainbow, London, 2019), Photographs of Innocence and of Experience – Contemporary Japanese Photography Vol.14 (Tokyo Photographic Art Museum, Tokyo, 2017), on the way home (The Museum of Modern Art, Gunma, 2017), Roppongi Crossing – My Body, Your Voice (Mori Art Museum, Tokyo, 2016), Aichi Triennale 2013 (Nayabashi, Aichi) และอื่นๆ ผลงานสาธารณะต่างๆ เช่น Tate Modern (London, UK), Collection Antoine de Galbert (Paris, France), Mori Art Museum (Tokyo, Japan), Arts Maebashi (Gunma, Japan) และ Tokyo Photographic Art Museum (Tokyo, Japan). เธอได้รับรางวัล Higashikawa Award ในสาขาช่างภาพหน้าใหม่ในปี 2562 และรางวัล Kimura Ihei Award ในปี 2563 ผลงานตีพิมพ์ของเธอรวมถึง GIFT (United Vagabonds, 2019) คาตายามะ มาริทำงานและอาศัยอยู่ที่กุนมะ ประเทศญี่ปุ่น
มิยาจิมะ ทัตสึโอะ (MIYAJIMA Tatsuo)
ภาพถ่ายโดย Miyajima Tatsuo
ผลงาน: Painting of Change – 000, 2020 และ Time Waterfall-Panel#MAM, 2019
สถานที่จัดแสดง: มิวเซียมสยาม
มิยาจิมะ ทัตสึโอะ เกิดปี 2500 อาศัยและทำงานที่ญี่ปุ่น เขาจบปริญญาตรีและปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยวิจิตรศิลป์และดนตรีแห่งโตเกียวทางด้านในปี 2529 หลังจากที่เขาเริ่มทดลองศิลปะการแสดงก่อนที่จะผันมาด้านงานติดตั้งที่ใช้แสงไฟ
ผลงานเทคโนโลยีขั้นสูงของมิยาจิมะจะเน้นการใช้ตัวนับที่ปล่อยแสง LED หรือที่เขาเรียกมันว่า “gadgets” ตั้งแต่ในช่วงปีทศวรรษ 1980 ตัวเลขเหล่านี้ส่องแสงอย่างต่อเนื่องและซ้ำๆ โดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นตามลำดับ ตามเลข 1 ถึงเลข 9 อันแทนความหมายของการเดินทางที่เริ่มจากเกิดจนตาย โดยการด้วยตัวเลข 0 หรือจุดสุดท้ายนั้นไม่เคยเกิดในงานของเขา ทฤษฎีนี้เกิดจากความคิดแนวมนุษย์ คำสอนในพระพุทธศาสนา และเช่นเดียวกับแนวคิดหลักทางศิลปะของเขา ที่ว่าด้วยเรื่อง “การเปลี่ยนแปลงตลอด” “การเชื่อมต่อทุกสิ่ง” และ” การดำเนินต่อไปไม่สิ้นสุด” ตัวเลข LED ของเขาจึงเกี่ยวข้องกับความสนใจของเขาเรื่องความต่อเนื่อง การเชื่อมโยงและความเป็นนิรันดร์ พร้อมกับการลื่นไหลและช่วงเวลาและพื้นที่
เกี่ยวกับบางกอกอาร์ตเบียนนาเล่
บางกอกอาร์ตเบียนนาเล่เป็นเทศกาลศิลปะจัดที่เมืองหลวงของประเทศไทยและเริ่มก่อตั้งในปี 2560 สถานที่ในการจัดงานจะกระจายในหลายพื้นที่ในช่วงตลอดสี่เดือน บางกอกอาร์ตเบียนนาเล่จะเปลี่ยนกรุงเทพฯ ที่เป็นเมืองหลวงที่คึกคักให้เป็นศูนย์รวมที่มีชีวิตชีวาที่เฉลิมฉลองศิลปะ ความคิดสร้างสรรค์และวัฒนธรรม ผู้ร่วมงานจะสามารถเข้าไปดื่มด่ำกับศิลปะยุคปัจจุบันจากศิลปินที่หลากหลาย ทั้งที่เป็นชาวไทยและชาวต่างประเทศในพื้นที่ทางศิลปะและวัฒนธรรม รวมถึงสถานที่หลัก วัดและพื้นที่สาธารณะที่สำคัญต่างๆทั่วกรุงเทพฯ
ทีมภัณฑารักษ์ของ บางกอกอาร์ตเบียนนาเล่ กำกับโดยการนำของ ศ. ดร. อภินันท์ โปษยานนท์ ประธานอำนวยการและผู้อำนวยการศิลป์ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ไนเจล เฮิร์สท์ ภัณฑารักษ์และที่ปรึกษาศิลปะ และผู้อำนวยการฝ่ายนิทรรศการ เครือบริษัท IMG ลอนดอน โลเรดานา ปัซซีนี-ปารัชชานี นักวิชาการและภัณฑารักษ์ อิสระผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับศิลปะเอเชียอาคเนย์ จิรัสย์ รัฐวงศ์จิรกุล ผู้อำนวยการ Gallery VER ดร.ชมวรรณ วีรวรวิทย์ ที่ปรึกษาด้านแบรนด์และศิลปะ ผู้ก่อตั้ง Mysterious Ordinary โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการที่ปรึกษาระหว่างประเทศที่ คาตาโอกะ มามิ ผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์ศิลปะโมริและประธาน CiMAM (International Committee for Museums and Collections of Modern Art) เข้าร่วมด้วย
บางกอกอาร์ตเบียนนาเล่ จัดโดย มูลนิธิ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ ร่วมกับ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผสานความร่วมมือครั้งสำคัญกับ กรุงเทพมหานคร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (TCEB) และเครือข่ายพันธมิตรภาครัฐ และเอกชนทุกภาคส่วนและองค์กรทางวัฒนธรรมระหว่างเทศมากมาย รวมถึงเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
ติดต่อสอบถาม
สำหรับข้อสงสัยหรือข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับศิลปินชั้นนำทั่วโลกที่เข้าร่วมงานและสถานที่จัดงาน สามารถติดต่อขอข้อมูลได้ที่เว็ปไซต์ของบางกอกอาร์ตเบียนนาเล่
https://www.bkkartbiennale.com/contact
จัดและสนับสนุนโดย