Unfolding Kafka Festival 2022(ครั้งที่ 4)
ฟรันทซ์ คัฟคา เสียชีวิตในเมืองเคียร์ลิง ประเทศออสเตรีย
ในปีค.ศ. 1924 (ด้วยอายุ 40 ปี)
“I dream of a grave, deep and narrow,
where we could clasp each other in our arms as with clamps,
and I would hide my face in you,
and you would hide your face in me, and nobody would ever see us anymore.”
—Franz Kafka, THE CASTLE (1926)
Unfolding Kafka Festival เทศกาลศิลปะที่จัดขึ้นทุกๆ สองปีเพื่อสร้างการแลกเปลี่ยนในระดับสากล และสนับสนุนพื้นที่ศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทย เส้นแบ่งระหว่างความเป็นมนุษย์และอมนุษย์นั้นถูกทำให้เลือนหายในโลกอันบิดเบี้ยวของฟรันทซ์ คัฟคาโดยเปิดพื้นที่ให้เราได้สะท้อนความเป็นอื่นผ่านสิ่งมีชีวิตที่ถูกทำให้เป็นมนุษย์ การจัดเทศกาลในครั้งที่ 4 นี้จะพาเหล่าศิลปินในระดับสากล ผู้มีความถนัดในศาสตร์หลากแขนง มาร่วมแลกเปลี่ยนวิธีการสร้างสรรค์ผลงานและรูปแบบที่แตกต่างกันไป
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมกับ Unfolding Kafka Festival มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้นำเสนอผลงานวิดีโอจัดแสดงสองชิ้นโดยฮิโรอากิ อุเมะดะ (Hiroaki Umeda) นักเต้นและศิลปินวิชวลอาร์ตชาวญี่ปุ่น งานศิลปะจัดแสดงของเขาจัดขึ้นที่ แกลอรี 1 และแกลอรี 2 ที่ชั้นสามของหอศิลป์บ้านจิมทอมป์สัน เป็นเวลาเกือบหนึ่งสัปดาห์ ในระหว่างวันอังคารที่ 22 และวันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022 เวลา 10.00 – 18.00น.
นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของการจัดแสดง คือการบรรยายพิเศษโดยศิลปินฮิโรอากิ อุเมะดะ ในวันที่ 23 พฤศจิกายน ค.ศ. 2022 ที่หอศิลป์บ้านจิมทอมป์สัน โดยที่ศิลปินได้มาบอกเล่าเกี่ยวกับคอนเซ็ปต์ตัวงาน “Haptic” และ “Mold 1” นอกเหนือจากงานที่จัดแสดงในไทย ศิลปินยังเล่าไปถึงแนวทางการทำงานและวิธีการสร้างสรรค์ผลงานของศิลปินในงานอื่นๆ รวมถึงความหมายของการเต้นในฐานะศิลปิน Multidisciplinary
[Haptic]
วิดีโอจัดวาง
สร้างสรรค์โดย ฮิโรอากิ อุเมะดะ
ออกแบบเสียงและภาพ : S20
*มีการใช้แสงความสว่างสูงในการแสดง
ผลงาน Haptic ในรูปแบบการเต้นในปีค.ศ. 2008 ถูกสร้างขึ้นจากหลักการณ์ความคิดพื้นฐานของศิลปินที่ว่า สีเป็นรูปแบบหนึ่งของตัวกระตุ้นระบบประสาทสัมผัส เมื่อพื้นที่การแสดงถูกเติมเต็มด้วยแสงสีจำนวนมาก ศิลปินได้ท้าทายระบบรับแสงในร่างกายของผู้ชมจนถึงจุดสูงสุด อุเมะดะได้ทำการต่อยอดการค้นหาของเขาในผลงานจัดวางครั้งนี้ด้วยหลักการณ์แบบเดียวกัน
โดยหาความไปได้ในการรับรู้สีทางด้านร่างกาย เมื่อคนเราหลับตาลง โดยปกติแล้วโลกจะต้องมืดสนิท แต่สำหรับการดูผลงานชิ้นนี้ ผู้ชมจะถูกพาไปในห้องมืดห้องหนึ่งครั้งละหนึ่งคน เพื่อดูวิดีโอด้วยดวงตาที่ปิดสนิทเป็นเวลาสองนาทีครึ่ง เขาหรือเธอจะได้เห็นภาพขาวดำหรือเส้นของสีจากข้างหลังเปลือกตา ประสานไปพร้อมเสียงดนตรีอิเล็กทรอนิกส์จากหูฟัง ผู้ชมจะได้สัมผัสเส้นที่ไขว้กันเป็นตารางในรูปแบบสิ่งเร้าทางการรับภาพ หลังจากผ่านประสบการณ์ที่เหมือนจะผิดธรรมดาในการมองเห็นด้วยดวงตาที่ปิด ผู้ชมจะเริ่มตั้งคำถามว่าทำไมตัวเขาหรือเธอจึงมองเห็นได้ในความมืด งงงวยด้วยประสบการณ์และการรับรู้ที่ขัดแย้งไม่สอดคล้องกัน อุเมะดะเห็นว่าผลงานนี้เป็นชิ้นงานเต้นชิ้นหนึ่งด้วยว่าผู้ชมได้รับประสบการณ์ทางด้านร่างกายในรูปแบบของสี ผลงานชิ้นนี้ในรูปแบบขาวดำและรูปแบบสีได้ถูกสร้างและเคยจัดแสดงขึ้นพร้อมกันโดยได้รับการว่าจ้างโดย Aichi Triennale
[Mold 1]
วิดีโอจัดวาง
สร้างสรรค์โดย ฮิโรอากิ อุเมะดะ
ฮิโรอากิ อุเมะดะจะพัฒนาวิดีโอจัดวางชิ้นนี้ โดยการทดลองสร้างสรรค์ท่าเต้นผ่านอุปกรณ์ดิจิตัล ความจริงแล้ววิธีการสร้างงานของเขาใกล้เคียงกับงานเต้นโดยสร้างและค้นหางานเต้นของตัวเองในรูปแบบดิจิตัล
ผลงานต้นฉบับของ Mold 1 ได้รับการว่าจ้าง เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของซีรีส์ภาพยนตร์ขนาดสั้น 5 เรื่อง โดย 2022 London International Mime Festival
เกี่ยวกับศิลปินฮิโรอากิ อุเมะดะ
ตั้งแต่ปีค.ศ. 2002 ผลงานการเต้นของฮิโรอากิ อุเมะดะได้รับการเชิญเพื่อไปจัดแสดงทั่วโลกรวมถึงที่ Chaillot National Theater ในปารีส โดยได้ทำการแสดงไปกว่า 150 เมือง ใน 40 ประเทศทั่วโลก เขาได้รับการว่าจ้างให้สร้างสรรค์ผลงานการเต้นเพื่อเทศกาลและหน่วยงานหลายแห่ง เช่น GötenborgsOperans Danskompani และ L.A Dance Project ผลงานของเขาหลายชิ้นยังเป็นมากกว่าการเต้นและการสร้างสรรค์ท่าเต้นทั่วไป โดยได้นำการออกแบบเสียง วิดีโอ และแสงมาใช้ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เขาได้สร้างผลงานจัดวางหลายชิ้นโดยมุ่งความสนใจไปที่การรับรู้ทางด้านร่างกาย ผลงานจัดวางของเขา ได้ถูกแสดงใน 21_21 DESIGH SIGHT, NTT Inter Communication Center [ICC]และอีกหลายเทศกาลระหว่างประเทศทั่วโลก
ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม
หากต้องการสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลงานของศิลปินในเทศกาลและสถานที่จัดแสดงอื่นๆ รบกวนติดต่อที่เวปไซต์ของ Unfolding Kafka Festival ได้ที่ http://www.unfoldingkafkafestival.com/
พันธมิตร
ผู้จัดร่วม : สถาบันเกอเธ่ในประเทศไทย, เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ,สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย,สถานทูตโปรตุเกส, ศูนย์วัฒนธรรมโปรตุเกส, Arts ACT และสถานเอกอัครราชทูตออสเตรเลีย, สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเช็ก, the Ministry of Culture of the Czech Republic, the City of Brno and the City of Prague, TCEB และ18 Monkeys Dance Theatre.
สถานที่จัดร่วม: ลิโด้คอนเน็คท์, สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนา,โรงแรม เพนนินซูลา กรุงเทพฯ, หอศิลป์บ้านจิมทอมป์สัน, Hostbkk และสมาคมฝรั่งเศสกรุงเทพ
โรงแรม: โรงแรมเพนนินซูลา กรุงเทพฯ, ฮอลิเดย์ อินน์ เอ็กซ์เพรส สยาม
สถานศึกษา: คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โครงการศูนย์ปฏิบัติการศิลปกรรมดิจิทัล, คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิ สาขาวิชาการแสดง