บทสัมภาษณ์ภัณฑารักษ์ Media/Art Kitchen (ฉบับเต็ม) |
|||||||||
รู้จัก Media/Art Kitchen กรุงเทพฯให้มากขึ้นผ่านบทสัมภาษณ์ของภัณฑารักษ์ไทยและญี่ปุ่น พิชญา ศุภวานิช และ ฮัตโตริ ฮิโรยูกิ
โครงการ Media/Art Kitchen กรุงเทพฯ ภายใต้แนวคิด “Media Shapes Mind: Mind Shapes Choice: Choice Shapes Future” โดยประกอบด้วยส่วน Exhibition ส่วน Single-Channel Screening และ Activities ผลงานที่น่าสนใจของศิลปินจากญี่ปุ่น ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และเวียดนาม จะถูกจัดแสดงที่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานครตลอดระยะเวลาร่วมสองเดือน
ภัณฑารักษ์ไทย – พิชญา ศุภวานิช 1) คำว่า “media art”มีความหมายอย่างไรในมุมมองของคุณ แนวคิดของ “media art” นั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างค่อนข้างเร็วและมากในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราจะทำอย่างไรเมื่อสื่อ”ใหม่”ไม่ได้ใหม่อีกต่อไป สื่อใหม่เข้ามาในสังคมของเรานานพอที่จะทิ้งผลสะท้อนและผลกระทบที่มีต่อชีวิต แต่นั่นก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับฉันที่ได้มองดูว่าศิลปินรับรู้เกี่ยวกับตัวเองและสื่ออย่างไร มากกว่าการรับรู้เกี่ยวกับตัวสื่อเพียงลำพัง อย่างไรก็ตาม มุมมองของฉันที่มีต่อสื่อและศิลปะยังคงเป็นไปในแง่บวก เพียงแต่ว่าในขณะที่เราพัฒนา เราก็จำเป็นต้องคิดวิเคราะห์ไปด้วย
2) คุณจะอธิบายแนวคิด “Media Shapes Mind : Mind Shapes Choice : Choice Shapes Future”อย่างไร จริงๆแล้ววลีนี้ไม่ใช่ข้อความชี้นำจุดประสงค์ของตัวโครงการ แต่มีความหมายไปในเชิงคำถามมากกว่า ถ้าลองมองรอบๆตัวเรา จะเห็นได้ว่าเราอยู่ท่ามกลางสื่อต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย ที่ผู้คนมักจะจดจ่ออยู่กับสื่อ ในขณะเดียวกัน เราไม่ได้ตั้งคำถามว่าเราถูกชี้นำและเปลี่ยนแปลงโดยสื่ออย่างไร ไม่ว่าจะในแง่ของโครงสร้างสังคม วิธีการสื่อสาร และพฤติกรรม แนวคิดสำหรับโครงการ Media/Art Kitchen ฉบับกรุงเทพฯนี้ คือการขอให้ผู้คนมองลำดับขั้นที่เรายืนอยู่อย่างพินิจน์พิเคราะห์ เพื่อสามารถเข้าใจและเข้าถึงชีวิตที่กำลังดำเนินอยู่ในยุคแห่งเทคโนโลยี
3) คุณมีวิธีการคัดเลือกศิลปินสำหรับโครงการ Media/ArtKitchen ฉบับกรุงเทพฯอย่างไร เราผ่านหลายต่อหลายการประชุมและขั้นตอนเพื่อจะคัดเลือกศิลปินที่ผ่านการคัดเลือกมาแล้วโดยภัณฑารักษ์จากญี่ปุ่นและประเทศอื่นๆในอาเซียน การคัดเลือกเป็นไปอย่างน่าสนใจ มีพลัง และเหมาะสมกับโครงการประเภทนี้ ขั้นตอนการคัดเลือกศิลปินก็คล้ายๆกันกับขั้นตอนการคัดเลือกงานศิลปะอื่นๆ คือเริ่มต้นจาก แนวคิด จากนั้นจึงตัวศิลปินและตามด้วยผลงาน หรือในทางตรงกันข้าม เริ่มจากผลงาน ตัวศิลปิน แล้วจึงเข้าสู่แนวคิด สุดท้าย การคัดเลือกนี้นำมาซึ่งสิ่งที่ดีที่สุด โดยที่ไม่ได้กะเกณฑ์อะไรให้เป็นแบบแผนเข้มงวดนัก อย่างไรก็แล้วแต่ มันสามารถแสดงความเป็นยุคศตวรรษที่ 21ของเราในปัจจุบันนี้ได้เป็นอย่างดี และยังเป็นเครือข่ายของคนที่มีความคิดไปในในทิศทางเดียวกัน ซึ่งต่างค้นหาวิธีที่จะเชื่องโยงเข้าหากัน
4) จุดเด่นของทั้งโครงการในกรุงเทพฯคืออะไร โดยส่วนตัวแล้วฉันชอบ sound art ดังนั้นจึงสามารถพูดได้เลยว่าเราโชคดีมากที่ได้ โอโตโมะ โยชิฮิเดะมาร่วมงานในครั้งนี้ เขาเป็นหนึ่งในศิลปินบุกเบิกในแวดวงดนตรีแนวทดลอง นอกจากนั้นยังมี contact GONZO ที่น่าสนใจ โดยนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับกายภาพของมนุษย์ซึ่งถือว่าเป็นการนำเสนอที่ตรงกันข้ามกับสื่อ และยังมีอีกหนึ่งผลงานที่น่าติดตาม ซึ่งคือ game art โดยศิลปินไทย กมล เผ่าสวัสดิ์ งานชิ้นนี้คือการผสมผสานระหว่างสังคมศาสตร์และกลไกของการเล่นเกม แน่นอนว่ามีอีกหลายสิ่งที่รอให้ทุกคนได้มาเห็น คิด และสัมผัส
ภัณฑารักษ์ญี่ปุ่น – ฮ้ตโตริ ฮิโรยูกิ 1) คำว่า “media art”มีความหมายอย่างไรในมุมมองของคุณ เราเริ่มโครงการนี้ด้วยคำถามที่ว่า “media art คืออะไร” เมื่อพูดถึง “media art” เรามีแนวโน้มที่จะนึกไปถึง “new media art” ซึ่งคือวิธีการสื่อสารและแสดงออกผ่านทางเทคโนโลยี อย่างไรก็ตาม เมื่อพูดถึงคำว่า “media (สื่อ)” แล้ว ความหมายของมันก็จะแตกต่างไปตามตัวบุคคล เช่น mass media (สื่อมวลชน) อินเทอร์เน็ต หรือ recorded media (สื่อบันทึก) เช่น แผ่นดีวีดี ความหมายตามพจนานุกรมนั้น media แปลว่า ระหว่าง ช่องทาง หน่วยวัด นอกจากนั้น คำว่า “art” เดิมทีนั้นรวมความหมายของคำว่า “เทคโนโลยี” เข้าไว้ด้วยกัน ดังนั้นเราจึงแยกคำว่า “media art” ซึ่งดูเหมือนว่าคำนี้จะกลายเป็นอีกหนึ่งประเภทของการแสดงออกทางศิลปะผ่านทางสื่อ ออกเป็น “media (สื่อ)/art (ศิลปะ)= media and art (สื่อและศิลปะ)” และแปลความหมายได้ว่า สิ่งที่ทำงานเป็นสื่อกลาง หรือศิลปะทีทำหน้านี่เป็นสื่อกลาง จากคำอธิบายดังกล่าว หวังว่าโครงการนี้จะทำให้เราได้สามารถร่วมคิดไปพร้อมกับผู้เข้าร่วมชมงานเกี่ยวกับตัวสื่อในปัจจุบันและอนาคต รวมทั้งแขนงต่างๆของศิลปะที่สามารถเกิดขึ้นได้จากสื่อ หรือเกิดขึ้นโดยสื่อ
2) คุณจะอธิบายแนวคิด “Media Shapes Mind : Mind Shapes Choice : Choice Shapes Future” อย่างไร ชีวิตคนเราพัฒนาขึ้นได้ด้วยหลายๆสิ่ง และวิธีการคิดของเราก็เกิดขึ้นมาบนพื้นฐานการพัฒนาดังกล่าว ในชีวิตวันหนึ่งๆ เราคิด เผชิญหน้ากับการตัดสินใจต่างๆ และสร้างอนาคตโดยขึ้นอยู่กับการตัดสินใจนั้นๆ เราตั้งใจใช้แนวคิดนี้ด้วยความหวังที่ว่าผู้เข้าร่วมชมงานจะสามารถตระหนักถึงกระบวนการเหล่านั้นที่เกิดขึ้นเองโดยไม่รู้ตัวในชีวิตประจำวัน รวมทั้งสามารถรับรู้ถึงเครื่องมือและวิธีการที่จะมีชีวิตรอดได้ในยุคปัจจุบัน ด้วยการแสดงผลงานและกิจกรรมของเหล่าศิลปินที่ทำงานอยู่กับสื่ออย่างตั้งใจ
3) คุณมีวิธีการคัดเลือกศิลปินสำหรับโครงการ Media/ArtKitchen ฉบับกรุงเทพฯอย่างไร จากมุมมองที่กล่าวไปแล้วข้างต้น เราคัดเลือกศิลปินที่ให้ความสำคัญกับชีวิตและสำคัญผ่านทางสื่อต่างๆ เรามีศิลปินหลากหลายที่สร้างสรรค์และพัฒนากิจกรรมที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมากมาย เช่น การแสดงของกลุ่มศิลปินcontactGONZO ซึ่งใช้ร่างกายของพวกเขาเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดแนวคิด
4) จุดเด่นของทั้งโครงการในกรุงเทพฯคืออะไร จากมุมมอง Media Art / Kitchen จัดขึ้นที่กรุงจาการ์ตา กัวลาลัมเปอร์ และมะนิลา ก่อนที่จะมาจัดงานที่กรุงเทพฯ โดย Media Art / Kitchen ของแต่ละที่ก็จะจัดขึ้นตามแนวคิดที่สอดคล้องกับเมืองนั้นๆ ในกรณีของกรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองสุดท้ายของโครงการนี้จะเป็นจุดสรุปของทั้งหมด ที่กรุงเทพฯ เรามีศิลปินจำนวนมากที่สุด ที่มีสไตล์หลากหลาย เช่น “quartets” ซึ่งสร้างสรรค์โดย OTOMO Yoshihide นั้นเป็นผลงาน installation ประเภทเสียงที่ได้รับความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญจากสาขาต่างๆ เช่น นักดนตรี นักวาดรูป และโปรแกรมเมอร์ โดย OTOMO ทำหน้านี่เป็นสื่อกลางในการประสานกับทุกฝ่ายเพื่อให้งานสำเร็จ นอกจากนิทรรศการแล้ว เรายังจัด “Lab Project” ในลักษณะ ‘work-in-progress’ โดยได้รับความร่วมมือจากศิลปินไทยและญี่ปุ่น โครงการนี้เป็นมากกว่าแค่นิทรรศการ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทางสังคมและวัฒนธรรม |
|||||||||
|
|||||||||
ประวัติภัณฑารักษ์ | |||||||||
|