พิธีเปิด เอเชียน คัลเจอร์ สเตชั่น (ACS)

พิธีเปิด

เอเชียน คัลเจอร์ สเตชั่น (ACS)

และ

งานสัมมนานานาชาติ
“Non-capital Cities as a Cultural Movement”

สถานที่:
เอเชียน คัลเจอร์ สเตชั่น (ACS)
28/11 ถ.นิมมานเหมินท์
(ซอยข้างฮิลไซด์คอนโด 2 อยู่ตรงข้ามซอย 13),
ต.สุเทพ อ.เมือง, จ.เชียงใหม่ 50200

เวลากิจกรรม:
วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ระหว่าง 18:00 – 20:00 น.

จำนวนผู้เข้าร่วมงาน  140 คน

ข้อมูลประชาสัมพันธ์ในสื่อ
ดู  N:6 Asia Center1 Arts and Culture5 Asian Culture Station in CM(ふれあいの場)Report2016Quarter 2Narrative reports

 

เจแปนฟาวน์เดชั่น เอเชียเซ็นเตอร์ และ เชียงใหม่อาร์ทคอนเวอร์เซชั่น (CAC) ร่วมจัดพิธีเปิดเอเชียน คัลเจอร์ สเตชั่น (ACS) และงานสัมมนานานาชาติ “Non-capital Cities as a Cultural Movement”ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพีธีเปิด

 

เอเชียน คัลเจอร์ สเตชั่น (ACS) ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่และเป็นพื้นที่ที่ประชาชนทั่วไปโดยเฉพาะคนรุ่นเยาว์สามารถมาพบปะและรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและสังคมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ในกลุ่มประเทศอาเซียนและญี่ปุ่น ACS จะทำหน้าที่สำคัญในการเป็นเสมือนชานชลาที่ประชาชนสามารถมีปฏิสัมพันธ์ได้โดยตรงเพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนที่ยั่งยืนและความเข้าใจซึ่งกันและกันในภูมิภาคผ่านงานกิจกรรมอันหลากหลาย ในการทำให้วัตถุประสงค์นี้บรรลุผล ACS ได้มีความตั้งใจที่จะนำองค์กรศิลปะที่คึกคัก และผู้เชี่ยวชาญหลากสาขาวิชาในภูมิภาค มาร่วมกันก่อพลวัตด้วยการแบ่งปันประสบการณ์ ความคิด เรื่องราวของปฏิบัติการที่ยอดเยี่ยม และ ความท้าทายที่สำคัญในการทำงาน อันจะเป็นการสานเครือข่ายชุมชนศิลปะเอเชียร่วมสมัย ณ ที่แห่งนี้ไปพร้อมๆ กัน

 

เจแปนฟาวน์เดชั่น เอเชียเซ็นเตอร์ ได้ดำเนินการเอเชียน คัลเจอร์ สเตชั่น อีกสองสถานี คือในเมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า และ นครโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม

 

พิธีเปิด เอเชียน คัลเจอร์ สเตชั่น (ACS)

 

 

ในพิธีเปิด วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2559 นี้ Mr. Masaya Shimoyama ผู้อำนวยการจัดการเจแปนฟาวน์เดชั่น เอเชียเซ็นเตอร์กล่าวสุนทรพจน์เปิด ต่อด้วยคุณสุทธิรัตน์ ศุภปริญญา ผู้อำนวยการเชียงใหม่อาร์ทคอนเวอร์เซชั่น อธิบายโครงงานต่างๆ ทุกกิจกรรมของ ACS ที่จะจัดขึ้นในปีแรก และปิดท้ายด้วยละครเงาหุ่นของ กลุ่มพระจันทร์พเนจรและการเดินทางที่ไม่สิ้นสุด

 

งานสัมมนานานาชาติ “Non-capital Cities as a Cultural Movement”

 

 

สถานที่:
หอภาพถ่ายล้านนา (หลังพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา)
ถ.พระปกเกล้า, ต.ศรีภูมิ, อ.เมือง, จ.เชียงใหม่

เวลากิจกรรม:
วันเสาร์ที่ 27 และวันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ระหว่าง 13:00 – 17:00 น.

จำนวนผู้เข้าร่วมงาน  40 คน

ข้อมูลประชาสัมพันธ์ในสื่อ
ดู N:6 Asia Center1 Arts and Culture5 Asian Culture Station in CM(ふれあいの場)Report2016Quarter 2Narrative reports

 

หลังจากงานพิธีเปิด ACS ตามมาด้วยการสัมนานานาชาติ “Non-capital Cities as a Cultural Movement” ในวันเสาร์ที่ 27 และวันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559 ที่ หอภาพถ่ายล้านนา โดยได้เชิญตัวแทนจากองค์กรศิลปะนอกเมืองหลวง ทั้งจากประเทศไทยเอง หลายประเทศในเอเชียอาคเนย์ และญี่ปุ่น มานำเสนอและร่วมเวทีหารือกัน

 

วิทยากร

  1. Mr. Vincent Buso, Phare Ponleu Selpak (PPS), พระตะบอง, กัมพูชา
  2. Mr. Antariksa, KUNCI Cultural Studies Center, ยกยาการ์ตา, อินโดนีเซีย
  3. Mr. Gen Sasaki, Gallery SOAP, คิตะกีวชู, ญี่ปุ่น
  4. จิระเดช มีมาลัย, บ้านนอก ความร่วมมือด้านศิลปะและวัฒนธรรม, ราชบุรี, ไทย
  5. พจวรรณ พันธ์จินดา, ขัวศิลปะ, เชียงราย, ไทย
  6. กันต์ พูนพิพัฒน์, หอภาพถ่ายล้านนา/ เทศกาลภาพถ่ายเชียงใหม่, เชียงใหม่, ไทย
  7. สุทธิรัตน์ ศุภปริญญา, เชียงใหม่อาร์ทคอนเวอร์เซชั่น, เชียงใหม่, ไทย
  8. อธิคม มุกดาประกร, เชียงใหม่อาร์ทคอนเวอร์เซชั่น, เชียงใหม่, ไทย
  9. Ms. Nguyen Hong Ngoc, Zero Station, นครโฮจิมินห์, เวียดนาม
  10. Ms. Zoe Butt, San Art, นครโฮจิมินห์, เวียดนาม

 

ค่าใช้จ่าย: ฟรีตลอดงาน

ภาษา: ไทย และ อังกฤษ โดยมีล่ามตลอดงาน

 

พิธีการเปิด  Asian Culture Station

 

คุณมะซะยะ ชิโมะยะมะ ผู้อำนวยการบริหารของเจแปนฟาวน์เดชั่น เอเชียเซ็นเตอร์ (ที่สองจากทางขวา)
ทักทายและพูดคุยกับผู้คุณสุทธิรัตน์ ศุภปริญญา ผู้ร่วมก่อตั้ง ACS (ซ้ายสุด)
และคุณอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล (ที่สองจากซ้าย)

 

ภาพถ่ายแขกรับเชิญพิเศษจากเวียดนามและญี่ปุ่นที่จะเข้าร่วมงาน ACS ถ่ายรูปรวมพิธีเปิด

 

คุณมะซะยะ ชิโมะยะมะ ผู้อำนวยการบริหารของเจแปนฟาวน์เดชั่น เอเชียเซ็นเตอร์กล่าวเปิดงา0E19

 

แขกรับเชิญสนใจฟังขณะเข้าร่วมพิธีเปิด

 

ผู้เข้าร่วมงานบางส่วนยืนข้างนอกเพื่อฟังเนื้อหาของพิธีเปิด

 

คุณอธิคม มุกดาประกร หนึ่งในผู้ร่วมก่อตั้ง ACS แนะนำเกี่ยวกับ ACS และบทบาทของ Chiang Mai Art Conversation (CAC) ระหว่างพิธีเปิด

 

บรรยากาศช่วงพักก่อนเริ่มการแสดง

 

การแสดงกลุ่มพระจันทร์พเนจรและการเดินทางไม่มีที่สิ้นสุด

 

การแสดงกลุ่มพระจันทร์พเนจรและการเดินทางไม่มีที่สิ้นสุด

 

แขกรับเชิญเข้าร่วมงานเสวนา “ Non-capital cities as a Cultural Movement”
จากฝรั่งเศส ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เวียดนาม อินโดนีเซีย กล่าวทักทาย

 

งานเสวนา    “Non-capital Cities as a Cultural Movement”

 

คุณสุทธิรัตน์ ศุภปริญญา ผู้ร่วมก่อตั้ง ACS กล่าวแนะนำกำหนดการ

 

ผู้เข้าร่วมงานแต่ละท่านแนะนำเกี่ยวกับองค์กรและขอบเขตการทำงานขององค์กร

 

การเสวนาในหัวข้อ “Empowering Art Practice and Community” โดยกลุ่ม

Baan Noorg Collaborative Arts & Culture (Thailand), Zero Station (Vietnam) และขัวศิลปะจากเชียงราย

 

 คุณ Antariksa, จาก KUNCI Cultural Studies Center (อินโดนีเซีย)
และ คุณสุทธิรัตน์ ศุภปริญญาสนใจฟังเสวนาอย่างเพลิดเพลิน

 

คุณจิระเดช มีมาลัยจาก Baan Norg Collaborative Arts & Culture แลกเปลี่ยนประสบการณ์และมุมมองต่างๆ

 

คุณเก็น ซะซะกิ จาก Gallery SOAP and AIK: Art Institute Kitakyushu
อธิบายเกี่ยวกับกิจกรรมองค์กรที่เกี่ยวเนื่องกับหัวข้อ“Exhibition Making & Artistic Development”

 

คุณโซอี้ จาก San Art, Ho Chi Min City, เวียดนามบอกเล่าถึงข้อจำกัดในการแสดงออกทางศิลปะในเวียดนาม

 

ผู้เข้าร่วมงานจากองค์กรทั้งหมดถ่ายรูปร่วมกันหลังเสร็จงานเสวนา

 


 

เอเชียน คัลเจอร์ สเตชั่น (ACS)

ACS สถานีแวะพบที่มีไว้ให้ทุกคนมาร่วมกันสร้างความสัมพันธ์ที่ยั่งยืน และส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศไทยกับนานาชาติในเอเชียซึ่งรวมถึงประเทศญี่ปุ่น โดยมุ่งเน้นไปในทางศิลปะและวัฒนธรรม ACS ให้บริการสถานที่สำหรับการร่วมมือกันทำงาน จัดกิจกรรมทั้งในและนอกสถานีเพื่อเพิ่มความสนใจต่องานสร้างสรรค์ของศิลปิน และให้ข้อมูลด้วยเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ กับวัตถุชั้นต้นเพื่อการศึกษาค้นคว้าเรื่องราวในภูมิภาค ACS ดำเนินการโดย เจแปนฟาวน์เดชั่น เอเชียเซ็นเตอร์ องค์กรส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมในระดับนานาชาติของญี่ปุ่น กับ เชียงใหม่อาร์ทคอนเวอร์เซเชั่น กลุ่มคนทำงานทางศิลปะ ที่มาร่วมทำสำนักงานในสถานีแห่งนี้ด้วย

https://asianculturestation.cac-art.info
www.facebook.com/AsianCultureStation

 

เจแปนฟาวน์เดชั่น เอเชียเซ็นเตอร์

เจแปนฟาวน์เดชั่น เป็นสถาบันหลักที่ทุ่มเทให้กับการนำเสนอการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมในระดับนานาชาติให้กับชุมชนโลก โดย เอเชียเซ็นเตอร์ เป็นหน่วยงานเฉพาะกิจที่ได้ก่อตั้งขึ้นภายในสถาบันนี้เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2557 เพื่อเป้าหมายในการเชื่อมโยงผู้คน ขยายเครือข่ายต่างๆ และพัฒนากิจกรรมทางวัฒนธรรมทั่วเอเชีย เนื่องด้วย กีฬาโอลิมปิก และ กีฬาพาราลิมปิก ที่กำลังจะมีขึ้น ณ กรุงโตเกียว ในปี พ.ศ. 2563 เอเชียเซ็นเตอร์ จะร่วมมือกับสำนักงานของทางสถาบันที่มีอยู่ทั่วโลก ผ่านโครงงานหลากหลาย ทั้งดนตรี การละคร ภาพยนตร์ กีฬา การสอนภาษาญี่ปุ่น และการแลกเปลี่ยนทางวิชาการ เพื่อให้สามารถเข้าถึงและให้การสนับสนุนกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ ระหว่างชุมชนชาวเอเชียด้วยกันได้

https://jfac.jp/en

 

เชียงใหม่อาร์ทคอนเวอร์เซเชั่น (CAC)

เชียงใหม่อาร์ทคอนเวอร์เซเชั่น (CAC) เป็นองค์กรความริเริ่มอันไม่แสวงผลกำไรที่ดำเนินการโดยศิลปิน ก่อตั้งขึ้นที่เมืองเชียงใหม่ ประเทศไทย ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2556 มีเป้าประสงค์หลักในการกระจายข้อมูลข่าวสารทางศิลปะ โดยสร้างเครื่องมือต่างๆ ผ่านระบบออนไลน์ขึ้นเพื่อการนี้ ทั้งแผนที่ของพื้นที่ทางศิลปะ แหล่งรวมข้อมูลกิจกรรม และข้อมูลอื่นๆ ทางศิลปะที่มีประโยชน์ ระบบฐานข้อมูลนี้มุ่งส่งเสริมให้เกิดมุมมองทางประวัติศาสตร์ รวมถึงเอื้อให้เห็นความเป็นไปในอนาคตของแวดวงศิลปะในเชียงใหม่ได้ อย่างไรก็ตาม CAC ก็ส่งเสริมการสานต่อc]tปฎิสัมพันธ์ในภาคปฏิบัติด้วย ในรูปของกิจกรรมหลากรูปแบบ เพื่อต่อยอดให้ชุมชนศิลปะและสาธารณชนก้าวหน้าสืบไป

www.cac-art.info

www.facebook.com/cmartconversation

 

ติดต่อ:                                            

เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ

ชั้น 10 อาคารเสริมมิตรทาวเวอร์

159 สุขุมวิท 21 กรุงเทพฯ 10110

โทร 02-260-8560-4 แฟกซ์ 02-260-8565

 

ร่วมจัดโดย: