นิทรรศการภาพถ่าย
การเปลี่ยนแปลงของญี่ปุ่น
หลังสงคราม
(Metamorphosis of Japan After the War)
โดย อิเฮ คิมุระ, ยาสึฮิโระ อิชิโมโตะ, เคน โดมอน, เอโคะ โฮโซเอะ, ฮิโรชิ ฮามายะ, คิคุจิ คาวาดะ, โชเม โทมัตสึ, ทาเคโยชิ ทานูมะ,ชิเจกิ นากาโนะ, อิคโคะ นาราฮาระ และทาดาฮิโคะ ฮายาชิ
คัดสรรโดย ซึกุโอะ ทาดะ และมาร์ค ฟอยสเทล
รายละเอียดการแสดงนิทรรศการ
ณ เชียงใหม่
วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม ถึง
วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559
เปิดวันอังคารถึงวันอาทิตย์ 9.00 น. – 17.00 น.
ปิดทุกวันจันทร์และวันหยุดราชการ
พิธีเปิด
วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เวลา 18.00 น.
เสวนาเรื่อง “ยลญี่ปุ่นในวันวาน” โดยอาจารย์รับเชิญ ศ.ดร. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ และ ดร.สิงห์ สุวรรณกิจ จากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เวลา 17.00 น.
สถานที่
ชั้น 2 หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
จำนวนผู้ชม
101 คน (พิธีเปิด)
2,412 คน (ช่วงแสดงนิทรรศการ)
ข้อมูลประชาสัมพันธ์ในสื่อ
ดู N:2 AC Dept 1 Arts and Cultural ProjectsFY20161607 Metomorphosis of Japan After the WarReportRCACClipping
ณ กรุงเทพฯ
วันเสาร์ที่ 18 กันยายนถึง
วันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559
เปิดวันอังคารถึงวันอาทิตย์ 10.00 น. – 19.00 น.
ปิดทุกวันจันทร์และวันหยุดราชการ
พิธีเปิด
วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559 เวลา 16.00 น.
เสวนาพิเศษโดย อ.อรรฆย์ ฟองสมุทร ภัณฑารักษ์ BUG เวลา 15.00 น.
สถานที่
ณ ชั้น 1 โซน บี และ ซี
หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน
จำนวนผู้ชม
152 คน (พิธีเปิด)
570 คน (ช่วงแสดงนิทรรศการ)
ข้อมูลประชาสัมพันธ์ในสื่อ
ดู N:2 AC Dept 1 Arts and Cultural ProjectsFY20161607 Metomorphosis of Japan After the WarReportCMUClipping
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมกับหอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ภูมิใจในการร่วมจัดนิทรรศการภาพถ่าย “การเปลี่ยนแปลงของญี่ปุ่นหลังสงคราม” ที่รวบรวมภาพถ่ายหลังสงครามระหว่างปี พ.ศ.2488 – 2507 โดยช่างภาพชาวญี่ปุ่นจำนวน 11 ท่าน ได้แก่ อิเฮ คิมุระ, ยาสึฮิโระ อิชิโมโตะ, เคน โดมอน, เอโคะ โฮโซเอะ, ฮิโรชิ ฮามายะ, คิคุจิ คาวาดะ, โชเม โทมัตสึ, ทาเคโยชิ ทานูมะ, ชิเจกิ นากาโนะ, อิคโคะ นาราฮาระ และทาดาฮิโคะ ฮายาชิ งานนิทรรศการภาพถ่ายนี้คัดสรรโดย ซึกุโอะ ทาดะและมาร์ค ฟอยสเทลและจะจัดขึ้น ณ หอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม ถึงวันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2559 และ ณ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน กรุงเทพฯ ตั้งแต่วันเสาร์ที่ 17 กันยายน ถึงวันศุกร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2559
งานนิทรรศการนี้จัดแสดงภาพถ่ายหลังสงครามของญี่ปุ่นทั้งสิ้น 123 ภาพ โดยจัดแบ่งเป็น 3 ช่วงเวลา คือ ช่วงแรก ผลจากสงคราม ช่วงที่สอง ระหว่างขนบธรรมเนียมประเพณีและความเป็นสมัยใหม่ และยุคที่สาม สู่การเป็นญี่ปุ่นยุคใหม่ ถึงแม้ว่าจะเป็นประเทศที่ถูกทำลายเสียหายย่อยยับหลังสงครามโลกครั้งที่สองในปี พ.ศ. 2488 ญี่ปุ่นได้ผ่านช่วงการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้านทางสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ยุค“หลังสงคราม”นี้ถูกกำหนดโดยการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายประการที่เกิดขึ้นระหว่างการสิ้นสุดของสงครามในปี ค.ศ. 2488 และโอลิมปิคที่กรุงโตเกียว ปี พ.ศ. 2507 หลังจากการฟื้นตัวของประเทศจากการไม่มีสิ่งใดเลย ญี่ปุ่นผงาดขึ้นมาเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจโดยเห็นได้จากการเกิดของรถไฟหัวกระสุน “ชินกังเซ็น” และการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ทำให้มาตรฐานความเป็นอยู่ของคนดีขึ้นมาก
นิทรรศการภาพถ่ายนี้เผยแง้มให้เห็นการบันทึกการเปลี่ยนแปลงทางสังคมผ่านมุมมองศิลปะจาก 11 ช่างภาพที่แต่ละท่านมีบทบาทในช่วงของการเปลี่ยนผ่านที่สำคัญนี้ด้วย คือ เคน โดมอน ผู้เป็นนักถ่ายภาพที่มีชื่อเสียงอย่างมากสำหรับการถ่ายถ่ายภาพแนวสัจนิยม อิเฮ คิมุระ ซึ่งมีวิธีการถ่ายภาพแนวสัจนิยมที่เป็นเอกลักษณ์ ฮิโรชิ ซึ่งโด่งดังในการถ่ายภาพสิ่งแวดล้อมและวิถีชีวิตของชาวบ้านที่ทำการเกษตร ทาดาฮิโกะ ฮายาชิ ที่ถ่ายรูปเหมือนได้อย่างงดงามมาก ชิเจกิ นากาโน่ อิคโคะ นาราฮาระ คิคุจิ คาวาดะ โชเม โทมัตสึ และยาสึฮิโระ อิชิโมโตะ ผู้เป็นตัวแทนช่างภาพรุ่นใหม่ และเอคโคะ โฮโซเอะและทาเคโยชิ ทานูมะ ที่ล้วนมีความคิดสร้างสรรค์ในการถ่ายภาพ แม้ว่าช่างภาพทั้งหมดจะมีแนวทางในการถ่ายภาพที่แตกต่าง สิ่งหนึ่งที่เป็นจุดร่วมของทุกท่านคือการสะท้อนให้เห็นและการแสวงหาความเข้าใจต่อความซับซ้อนทางอัตตลักษณ์ของญี่ปุ่นสมัยใหม่
เชียงใหม่
ผู้ชมสนใจเข้าร่วมฟังงานสัมมนาอย่างคับคั่ง
ศ.ดร.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ชี้ถึงประเด็นที่สำคัญของรูปถ่ายญี่ปุ่นหลังสงคราม
คุณโนริฮิโกะ โยชิโอกะ (ซ้าย) คุณชินยะ อาโอกิ กลสุลใหญ่ญี่ปุ่น ณ นครเชียงใหม่ (กลาง)
และ ศ.ดร. อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์ทักทายกันก่อนพิธีเปิด
พิธีเปิดงานนิทรรศการอย่างเป็นทางการ
ผู้ชมให้ความสนใจกับภาพที่แสดงในงานนิทรรรศการ
ผู้ชมชาวญี่ปุ่นมองรูปภาพและอ่านคำบรรยายผลงานของเคน โดมอน
ผู้ชมอ่านชีวประวัติของช่างภาพในงานนิทรรศการ
การแบ่งปันความรู้สึกเกี่ยวกับภาพถ่ายระหว่างผู้ชม
รูปภาพ “Yong Woman” ของอิเฮ คิมุระ
กรุงเทพฯ
อาจารย์อรรฆย์ ฟองสมุทร บรรยายเนื้อหาที่น่าสนใจโดยการตีความรูปในฐานะเป็นภัณฑารักษ์
พิธีเปิดงานนิทรรศการอย่างเป็นทางการ
ความมีเสน่ห์ของนิทรรศการภาพถ่ายดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้มาก
กลุ่มผู้ชมกำลังพูดคุยถึงสิ่งที่สังเกตได้จากรูปถ่ายในงานนิทรรศการ
ผลงานหนังสือภาพถ่ายของศิลปินในงานได้รับความสนใจ
ผู้ชมสนอ่านชีวประวัติของศิลปินช่างภาพญี่ปุ่นแต่ละท่าน
ติดต่อ:
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
ชั้น 10 อาคารเสริมมิตร
159 สุขุมวิท 21
กรุงเทพฯ 10110
โทร: 02-260-8560~4/ แฟกซ์: 02-260-8565
ร่วมจัดโดย
สนับสนุนโดย