นิทรรศการ “เมืองต้องสู้: โครงการผังเมืองของญี่ปุ่นในทศวรรษ 1960”

 

กรุงเทพฯ

[พิธีเปิด]
วันอังคารที่ 24 เมษายน 2561  เวลา 19:00 น.
การบรรยายพิเศษก่อนพิธีเปิด  เวลา 17: 30 น.

[ระยะเวลา] วันอังคารที่ 24 เมษายน – วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม 2561
(ปิดวันอาทิตย์และวันที่  1 พฤษภาคม)

[สถานที่] ห้องแสดงนิทรรศการหลัก
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ)

[จำนวนผู้ชม] 55 คน (พิธีเปิด)
666 คน (ช่วงแสดงนิทรรศการ)

[ข้อมูลประชาสัมพันธ์ในสื่อ] หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นและอื่นๆ ดูที่ N:2 AC Dept1 Arts and Cultural ProjectsFY2018201804 Struggling CitiesReportClippingBangkok

 

ขอนแก่น

[พิธีเปิด] วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน 2561  เวลา 18:00 น.
การเสวนาพิเศษก่อนพิธีเปิด  เวลา 16:30 น.

[ระยะเวลา] วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม – วันอังคารที่ 12 มิถุนายน 2561

[สถานที่] หอศิลปวัฒนธรรม (ริมบึงสีฐาน)
ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

[จำนวนผู้ชม] 55 คน (พิธีเปิด)
666 คน (ช่วงแสดงนิทรรศการ)

[ข้อมูลประชาสัมพันธ์ในสื่อ] เว็บไซต์ศูนย์วัฒนธรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่น หนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ หนังสือพิมพ์เดอะเนชั่นและอื่นๆ ดูที่ N:2 AC Dept1 Arts and Cultural ProjectsFY2018201804 Struggling CitiesReportClippingKhon Kaen

 

นิทรรศการ “เมืองต้องสู้: โครงการผังเมืองของญี่ปุ่นในทศวรรษ 1960”

โดย นาโอะฮิโกะ ฮิโนะ / สถาปนิกและที่ปรึกษาการจัดนิทรรศการ

เจแปนฟาวน์เดชั่นได้จัดกิจกรรมที่ครอบคลุมหลากหลายทั่วโลก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสัมพันธภาพและความเข้าใจระหว่างประเทศผ่านการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม ในบรรดาความหลากหลายของสาขาด้านศิลปวัฒนธรรมที่ได้รับการส่งเสริมในประเทศญี่ปุ่น แนวคิดเรื่องสถาปัตยกรรมของญี่ปุ่นเป็นเรื่องหนึ่งที่ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

เจแปนฟาวน์เดชั่นเล็งเห็นศักยภาพดังกล่าว จึงได้จัดนิทรรศการสัญจรระหว่างประเทศชื่อ “เมืองต้องสู้: โครงการผังเมืองของญี่ปุ่นในทศวรรษ 1960 (Struggling Cities: from Japanese Urban Projects in the 1960s)” ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมและผังเมืองในญี่ปุ่น

 

นิทรรศการนี้มุ่งแสดงให้เห็นภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ของเมืองทั้งในญี่ปุ่นและประเทศอื่น ๆ จนถึงปัจจุบันและชี้ให้เห็นถึงแง่มุมเฉพาะของภาวะแวดล้อมดังกล่าวตามที่ปรากฏในโตเกียวปัจจุบัน ทั้งนี้ นิทรรศการเริ่มต้นด้วยการจัดแสดงแนวคิดทดลองเกี่ยวกับเมือง ซึ่งมีการนำเสนออย่างมากมายในญี่ปุ่นช่วงทศวรรษ 1960 โดยอาศัยสื่อและโสตทัศนูปกรณ์หลากหลาย เช่น โมเดลสถาปัตยกรรม รูปถ่าย สไลด์ ตลอดจนแอนิเมชั่น มาช่วยในการจัดแสดง

 

เราหวังว่าผู้เข้าชมนิทรรศการจะได้รับรู้และสัมผัสได้ถึงความเชื่อมต่อเกี่ยวโยงระหว่างอดีตและปัจจุบัน การคลี่คลายของกระบวนการเฟ้นหาแนวคิดใหม่เพื่อสร้างเมือง (ซึ่งกระบวนการเฟ้นหาดังกล่าวได้สร้างแรงขับเคลื่อนในสังคมญี่ปุ่นเป็นอย่างมากเมื่อครึ่งศตวรรษที่ผ่านมา) อีกทั้งจะได้เห็นว่าความพยายามเฟ้นหาแนวคิดใหม่เพื่อสร้างเมืองในอดีตมีส่วนสัมพันธ์กับงานสถาปัตยกรรมและสภาพผังเมืองปัจจุบันอย่างไร เรายังคาดหวังด้วยว่าการจัดแสดงนิทรรศการสัญจรไปทั่วโลกจะช่วยจุดประกายให้เมืองที่ร่วมเป็นเจ้าภาพหันกลับมาทบทวนประเด็นเรื่องความเป็นเมือง ช่วยให้เมืองมองเห็นความท้าทายที่กำลังเผชิญ รวมทั้งช่วยให้เมืองที่ร่วมเป็นเจ้าภาพเข้าใจว่าทิศทางอนาคตของความเป็นเมืองที่กำลังเติบโตนั้น เกี่ยวข้องกับเมืองของตนอย่างไร

ประวัติอาจารย์รับเชิญพิเศษ

 

กรุงเทพฯ

[วันและเวลา] วันอังคารที่ 24 เมษายน 2561 เวลา 19: 30 น.

[สถานที่] ห้องแสดงนิทรรศการหลัก
หอศิลป์มหาวิทยาลัย  ศิลปากร (วังท่าพระ)

[วิทยากร] 

ผศ.ดร. นิรมล กุลศรีสมบัติ

ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ผศ.ดร. นิรมล กุลศรีสมบัติ สอนอยู่ที่ภาควิชาวางผังเมือง จุฬากลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรุงเทพฯ โดยจบการศึกษาปริญญาตรีทางศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและปริญญาโทและเอกทางวิศกรรมศาสตร์ด้านวิศกรรมผังเมือง จากมหาวิทยาลัยโตเกียว และเริ่มสอนวิชาการออกแบบผังเมืองตั้งแต่ พ.ศ. 2548 ในปี พ.ศ. 2556 ได้เป็นผู้ก่อตั้งร่วมและเป็นผุ้อำนวยการศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (Urban Design and Development Center หรือ Uddc) ในฐานะเป็นหน่วยงานทางด้านผังเมืองแห่งแรกในกรุงเทพฯ UddC มีวัตถุประสงค์ในการเป็นเวทีอภิปรายที่รวมนำเอาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายแขนงเกี่ยวกับเมือง คือ รัฐบาลท้องถิ่น ภาครัฐและเอกชน ประชาสังคมในกระบวนการตัดสินใจเพื่อที่นำเสนอแนวทางแก้ไขที่สร้างสรรค์สำหรับการพัฒนาผังเมือง โครงการหลัก ของ UddC คือ โครงการกรุงเทพฯ 250 (bangkok250.org) โครงการเมืองเดินได้ เมืองเดินดี (goodwalk.org) และโครงการริมน้ำยานนาวา (yannawariverfront.org).

ขอนแก่น

[วันและเวลา] วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน 2561 เวลา 16:30 น.

[สถานที่] หอศิลปวัฒนธรรม (ริมบึงสีฐาน)
ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น

[วิทยากร]

รศ.ดร. รวี หาญเผชิญ

คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

รศ.ดร.รวี หาญเผชิญ มีความเชี่ยวชาญพิเศษทางด้านการพัฒนาเมือง การออกแบบภูมิทัศน์และการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองโดยสอนที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทั้งนี้ได้เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ช่วง พ.ศ. 2553 -2557 และตำแหน่งประธานกรรมาธิการบริหารหลักสูตรการวางแผนภาคและเมืองดุษฎีบัณฑิต คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ระหว่าง พ.ศ. 2555 และ 2558 รศ.ดร.รวี จบการศึกษาปริญญาตรีทางด้าน วท.บ. (ภูมิศาสตร์) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2532 หลังจากนั้นได้รับประกาศนียบัตรหลักสูตรเรืองการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์และการใช้ จี พี เอสจากมหาวิทยาลัยอัลเบอร์ต้า ประเทศแคนาดาในปี พ.ศ.2540 และจบการศึกษาปริญญาโท คือ    ผ.ม.(การวางผังเมือง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปริญญาเอก คือ ผ.ด. (การวางแผนภาคและเมือง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์
คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ เป็นอาจารย์ประจำภาควิชาปกครอง และผู้อำนวยการโครงการหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองและการจัดการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สอนวิชาการเมืองไทยสมัยใหม่ การเมืองและการพัฒนาเมือง การพัฒนาเมืองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเวลาหลายปี ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์จบการศึกษาปริญญาตรีทางด้าน ร.บ. การปกครอง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาโทสาขา Land Economy จาก มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และปริญญาเอกสาขา City and Regional Planning จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์

ผศ.ดร. นิรมล กุลศรีสมบัติ

ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

พิธีเปิดที่กรุงเทพฯ

พิธีเปิดนิทรรศการ ณ ท้องพระโรง หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

 

นักศึกษาชมโมเดลเมืองลอยฟ้าของสถาปนิกญี่ปุ่น อาราตะ อิโซซากิ อย่างใกล้ชิด

 

ผู้ชมนิทรรศการชมผังเมืองที่แสดงถึงความหลากหลายของกรุงโตเกียว

 

พิธีเปิดที่ขอนแก่น

พิธีเปิดนิทรรศการ ณ หอศิลปวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัย ขอนแก่น

 

งานเสวนาที่ให้ความรู้และน่าสนใจโดย (จากซ้ายไปขวา) ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ รศ.ดร.รวี หาญเผชิญ และผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์

 

บรรยากาศงานนิทรรศการที่อาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่นสนใจชมงาน

 

ข้อมูลการแสดงนิทรรศการ

 กรุงเทพฯ

[พิธีเปิด] วันอังคารที่ 24 เมษายน 2561
17:30 น.
การบรรยายพิเศษโดย ผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ
19:00 น.   พิธีเปิด

[ระยะเวลา] วันอังคารที่ 24 เมษายน – วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม 2561
เปิด วันจันทร์ – วันศุกร์ 9:00 -19:00 น.
วันเสาร์ 9:00 -16:00 น.
(ปิดวันอาทิตย์และวันที่  1 พฤษภาคม)
เข้าชมฟรี

[สถานที่] ห้องแสดงนิทรรศการหลัก
หอศิลป์มหาวิทยาลัยศิลปากร (วังท่าพระ)
31 ถ.หน้าพระลาน เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
โทร 02-221-3841/02-623-6155 ต่อ 11418 หรือ 11419

 

ขอนแก่น

[พิธีเปิด] วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน 2561
16:30 น. การเสวนาพิเศษโดย รศ.ดร.รวี หาญเผชิญ ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ และผศ.ดร.นิรมล กุลศรีสมบัติ
18:00 น. พิธีเปิด

[ระยะเวลา] วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม – วันอังคารที่ 12 มิถุนายน 2561
เปิดทุกวัน 10:00 -19:00 น.
เข้าชมฟรี

[สถานที่] หอศิลปวัฒนธรรม (ริมบึงสีฐาน)
ศูนย์วัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
123 ถนนมิตรภาพ อำเภอเมือง
ขอนแก่น 40002
โทร 04-320-2663

 

ติดต่อ

เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
ชั้น 10 ตึกเสริมมิตร 159 ถนน สุขุมวิท 21
กรุงเทพฯ 10110
โทร: 02-260-8560-4/ แฟกซ์ 02-260-8565
เว็ปไซต์: https://ba.jpf.go.jp
เฟสบุ๊ค: jfbangkok

 

จัดโดย:

 

ร่วมกับ:

     

 

สนับสนุนโดย: