นวนิยายต้นฉบับ : อุทิศ เหมะมูล × เขียนบทและกำกับการแสดง : โทชิกิ โอกาดะ
“ปรารถนา : ภาพเหมือนการเข้าสิง”
World Premiere: Bangkok Performance
การมีชีวิต การสรรค์สร้าง ล้วนคือการตั้งคำถามต่อยุคสมัย
วันที่เผยความอับอายต่อตัณหาในชีวิต/เพศ ย่อมคือวันหลุดพ้นเช่นกัน
“ภาพเหมือนตน” ของเหล่าเรา จะถูกร่างระบายโดยสองศิลปินผู้เกิดในยุค 70
|
นับตั้งแต่งานเสวนาพิเศษระหว่างอุทิศ เหมะมูล และโทชิกิ โอกาดะเมื่อปลายปี 2016 โทชิกิ โอกาดะ ได้ใช้เวลาร่วม 2 ปีในการทำความเข้าใจ เรียนรู้ และก่อร่างทีมงานผ่านการจัดแสดงละครตนเองบ้าง ผ่านการลงพื้นที่พูดคุยกับบุคคลต่างๆ บ้าง ในที่สุดเขาก็ได้สร้างสรรค์และจัดแสดงผลงานละคร “ปรารถนา: ภาพเหมือนการเข้าสิง” การแสดงซึ่งดัดแปลงมาจากนวนิยาย “ร่างของปราถนา” โดยอุทิศ เหมะมูล ร่วมกับนักแสดงไทย 11 ชีวิต อีกทั้งทีมงานไทยญี่ปุ่นมากมาย การแสดงร่วม 3 ชั่วโมงที่อัดแน่นไปด้วยเรื่องราวชีวิต ความรัก และประวัติศาสตร์สังคมไทยร่วมสมัยนี้ได้รับความสนใจจากผู้ชมเป็นวงกว้าง และพวกเขาก็พร้อมแล้วที่จะนำการแสดงนี้ไปเผยแพร่อีก ณ 2 ประเทศ ได้แก่ ฝรั่งเศส และญี่ปุ่น
เกี่ยวกับผลงาน |
สภาวะของเอเชียเมื่อสิ่งของ เงินตรา และข้อมูลหลั่งไหลเข้ามาอย่างท่วมท้น ท่ามกลางวังวนการขยายตัวอย่างรวดเร็วของความเป็นเมือง และการเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตก
อุทิศ เหมะมูล คือหนึ่งในนักเขียนนวนิยายผู้บ้าพลังที่สุด ณ ปัจจุบัน เจ้าของรางวัลซีไรต์ และเซเว่น บุ๊ค อวอร์ด ความสดใหม่ในการถ่ายทอดภาวะจิตใจและตัวตนของเหล่าปัจเจกบุคคลอันคลุมเครือในสภาวะเอเชียดังกล่าว ทำให้ชื่ออุทิศได้รับการยอมรับจากนานาชาติ และก้าวสู่รายนามนักเขียนวรรณกรรมร่วมสมัยแถวหน้าของเมืองไทย ร่วมด้วย โทชิกิ โอกาดะ ศิลปินชั้นนำของญี่ปุ่น นักการละครผู้กำกับการแสดง ประพันธ์บทละคร นวนิยาย และผู้นำคณะละครเชลฟิตช์ ผู้มีผลงานอย่างต่อเนื่องทั้งในและต่างประเทศ สายตาอันแหลมคมที่ถ่ายทอดชีวิตประจำวัน และมุมมองของคนรุ่นใหม่ในญี่ปุ่นผ่านกลวิธีการละครร่วมสมัยที่ชาญฉลาดของโทชิกิ ทำให้เขาแจ้งเกิดในวงการศิลปะการละครระดับนานาชาติ และเป็นที่จับตามองเรื่อยมา ที่ผ่านมา ผลงานของโทชิกิล้วนสะท้อนให้เห็นถึงความพิถิพิถันของเขาในการสังเกตุความจริงที่เผยออกมาผ่านเหตุการณ์ภัยธรรมชาติ หรือปรากฏการณ์ทางสังคมต่างๆ ทั้งสองได้มารวมตัวกันเพื่อสร้าง “ปรารถนา : ภาพเหมือนการเข้าสิง” ผลงานที่อ้างอิงจากนวนิยายเรื่องล่าสุดของอุทิศ ซึ่งมีเนื้อหาเชื่อมโยงกับโทชิกิเป็นอย่างมาก จนเจ้าตัวนำมาดัดแปลงเป็นบทละครและกำกับสร้างเป็นละครเวที ตัวละครหลักของเรื่องคือศิลปินคนหนึ่งผู้ดิ้นรนกับการสร้างสรรค์ผลงานท่ามกลางสภาวะทางสังคมรอบตัว ในขณะเดียวกัน เขาก็ดิ้นรนค้นหาตนเองไปพร้อมกับประสบการณ์การพบและจากลา เรื่องราวจะส่องผ่านให้เห็นถึงความคิดภายใน และอารมณ์ทางเพศของเหล่าตัวละครอย่างฉูดฉาดชัดเจน ซึ่งจะสะท้อนให้เห็นถึงประวัติศาสตร์ของสังคมที่พวกเขาอาศัยอยู่ รวมไปถึงการเปลี่ยนผ่านของภาวะทางการเมือง
การแสดงรอบปฐมทัศน์ของโลกถูกจัดแสดงขึ้นที่กรุงเทพมหานคร หลังจากนั้นก็ได้จัดแสดงต่อที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เรียกได้ว่าเป็นผลงานจากคู่ศิลปินที่มีสายตาอันเฉียบคมที่สุดของเวทีงานร่วมสมัย จนวงการศิลปะการแสดงนานาชาติให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง
ในผลงานนี้ ศิลปินทั้งคู่ตั้งคำถามสุดแสนครอบจักรวาลต่อเหล่าปัจเจกบุคคลในสังคมปัจจุบันว่า “อะไรคือการทำงานขั้นพื้นฐานของชีวิต?” เป็นคำถามที่น่าจะกู่ก้องจากกรุงเทพฯ เมืองฟ้าอมรนี้ไปถึงขั้วหัวใจของคนรุ่นราวคราวเดียวกันในมุมโลกอื่นได้บ้าง
“เส้นแบ่งเขตที่วนเวียนรอบชีวิต” – หนึ่งในประเด็นของการดัดแปลงผลงาน
ในงานเขียนของอุทิศนั้น มีประเด็นเรื่องเส้นแบ่งเขตต่างๆ แฝงอยู่ไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นเส้นแบ่ง “ตนเองกับผู้อื่น” “ชีวิตกับความตาย” “ชายกับหญิง” “อดีตกับอนาคต” “ปัจเจกกับรัฐฐะ” “ฝ่ายควบคุมกับถูกควบคุม” “ตัณหากับสิ่งที่มาสนอง” นับว่าเป็นเหล่าประเด็นที่ไม่ว่าใครในสังคมปัจจุบันก็ต้องได้พบเจอสักครั้งหนึ่งในชีวิต หรืออาจเป็นหนึ่งในต้นเหตุของความลำบากในชีวิตก็ว่าได้ โทชิกิตั้งใจนำประเด็นของเส้นแบ่งเหล่านี้ มาเผยแผ่บนเวทีผ่านการผสมผสานเรื่องราวและการใช้ร่างกายของนักแสดงด้วยกระบวนการศิลปะการละคร
นอกจากนี้ เรายังได้ยูยะ ทซึกะฮาระ แห่งกลุ่มคอนแทค กอนโซ (contact Gonzo) มาร่วมงานเป็นซีโนกราฟเฟอร์ผู้ออกแบบการจัดวางพื้นที่ และองค์ประกอบศิลป์อีกด้วย การแสดงของยูยะเป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศจากความบ้าบิ่นที่พวยพุ่งราวกับการหาเรื่องชกต่อย รวมไปถึงจุดแข็งในการถ่ายทอดงานข้ามกรอบขนบ ผ่านสื่อผสมอันหลากหลาย เช่น ร่างกายมนุษย์ พื้นที่ ภาพเคลื่อนไหว เป็นต้น ทักษะของยูยะจะสามารถก่อร่างเส้นแบ่งเขตต่างๆ ทั้ง “พื้นที่บนเวทีกับพื้นที่นอกเหนือจากนั้น” “ความจริงและเรื่องแต่ง” ให้เกิดขึ้นมาบนเวที ห่อล้อมคนดูบ้าง และหายลับไปบ้าง นับว่าไม่มีผู้ร่วมงานใดที่จะเหมาะสมกับการขับเน้นประเด็น “เส้นแบ่งเขต” ไปกว่านี้อีกแล้ว
พ่วงด้วยทีมสร้างสรรค์รุ่นใหม่ไฟแรง
นอกจากนักแสดง 11 คนที่จะมาสวมบทบาทตัวละครแล้ว เรายังรวบรวมพรสวรรค์รุ่นใหม่ทั้งจากฝั่งไทยและญี่ปุ่นเข้ามาอยู่ในทีมสร้างสรรค์อีกด้วย
นักแสดงทั้ง 11 คนที่ผ่านการคัดเลือก ณ กรุงเทพฯ ล้วนต่างวัยและประสบการณ์ ตั้งแต่รุ่นใหม่ไปจนถึงรุ่นใหญ่แถมไม่ได้เป็นนักแสดงเพียงเท่านั้น พวกเขายังบุกเบิกบทบาทอื่นที่ตนเองสนใจด้วยตัวเอง โดยไม่ยึดติดกับขนบการทำงานเดิมๆ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งเพลง ออกแบบแสง สร้างงานศิลปะ โปรดิวซ์ ฯลฯ รวมไปถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่รวมหลายสายงานไว้ด้วยกัน
ทีมสร้างสรรค์ประกอบด้วยศิลปินรุ่นใหม่ไฟแรงทั้งไทยและญี่ปุ่นที่เกิดไม่เกินยุค 80
วิชย อาทมาท รับหน้าที่ผู้ช่วยผู้กำกับ วิชยเป็นผู้กำกับรุ่นใหม่ที่น่าจับตามอง และได้รับรางวัลจากชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง (IATC – TC) ถึงสองครั้งด้วยกัน เคียวโกะ ฟุจิทานิ หนึ่งในสมาชิกคณะละคร FAIFAI ณ โตเกียว รับหน้าที่ออกแบบเครื่องแต่งกาย เคียวโกะเชี่ยวชาญในการใช้มุมมองที่แปลกใหม่เพื่อออกแบบเครื่องแต่งกายบนเวที ไม่ว่าจะในงานดนตรี ทัศนศิลป์ แดนซ์ หรือละครทั้งในญี่ปุ่นและต่างประเทศ พรพรรณ อารยะวีรสิทธิ์ รับหน้าที่ออกแบบแสง พรพรรณเป็นนักออกแบบแสงที่มีมุมมองสุดล้ำ เธอได้ฝากผลงานการออกแบบแสงกับงาน “Fever Room” ของอภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล และเป็นทีมงานหลักในการบุกเบิกงานเชิงทดลองอื่นของผู้กำกับดังด้วย มาสะมิทสุ อาระกิ รับหน้าที่ออกแบบเสียง มาสะมิทสุเป็นซาวด์อาร์ติสต์ที่มีประสบการณ์ทั้งการสร้างสรรค์งานอินสตอลเลชั่นและงานเพอร์ฟอร์มานซ์
และปิดท้ายด้วย ทาคุยะ มัทสึมิ รับหน้าที่ออกแบบภาพเคลื่อนไหว ทาคุยะเป็นหนึ่งในสมาชิกกลุ่ม contact Gonzo ร่วมกับยูยะ นอกจากนี้ยังเป็นที่รู้จักในฐานะนักออกแบบกราฟฟิก และช่างภาพอีกด้วย
ทั้งโทชิกิ อุทิศ นักแสดงทั้ง 11 คน ร่วมด้วยทีมงานสร้างสรรค์ดังกล่าวใช้ชีวิตอยู่ในยุคปัจจุบันร่วมกัน ผลงานที่ออกมาจากการสร้างสรรค์ด้วยสายตาของพวกเขา จะต้องเป็นงานที่ขยายขอบเขตขนบงานศิลปะการละครไปอีกแน่นอน
เรื่องย่อ |
“ร่างของปรารถนา” นวนิยายต้นฉบับโดย อุทิศ เหมะมูล [ตีพิมพ์ โดย สำนักพิมพ์จุติ เดือนมิถุนายน 2560]
ในปี 2559 ชายหนุ่มนามวารีได้ติดต่อเข้าสิง ศิลปินที่อาศัยอยู่กรุงเทพฯ ผ่านทางเฟซบุ๊ค เข้าสิงรับวารีเป็นนายแบบของตัวเอง เข้าสิงวาดภาพของวารี พลางปฏิเสธที่จะมีความสัมพันธ์กับวารี เนื่องจากความคิดของเขาที่ว่า แบบไม่ควรมีชีวิตของตน ในขณะเดียวกัน เข้าสิงเล่าเรื่องราวในอดีตซึ่งเต็มไปด้วยความรักใคร่และกามารมณ์ให้วารีฟัง เรื่องราวรัฐประหารในปี 34 จนถึง พฤษภาทมิฬปีถัดไป กับกวีสาว เรื่องราววิกฤตการเงินในเอเชียในปี 40 กับเพื่อนร่วมชั้นของมหาวิทยาลัยศิลปะ เรื่องราวรัฐประหารในปี 49 และความสัมพันธ์สามเส้ากับศิลปินสาวซึ่งเป็นอดีตเด็กนอกและหนุ่มพนักงานร้านเช่าวีดีโอ สายสัมพันธ์ที่เข้าสิงสานกับผู้คนต่าง ๆ ล้วนเกี่ยวโยงกับความเป็นไปของร่างกาย ความปรารถนา และศิลปะ และฉากหลังของภาพเสนอเหล่านี้ล้วนมีการเมืองของประเทศไทยตลอด แม้แต่ความสัมพันธ์กับวารีเอง ก็มีรัฐประหารปี 57 อยู่เบื้องหลัง เข้าสิงปรารถนาที่จะจับความเป็นนิรันดร์ไว้ในภาพที่ตนวาด แต่ตรงกันข้าม ผู้คนที่เข้าสิงพยายามสัมพันธ์กัน ทุกคนในชีวิตเข้าสิงต่างห่างหายลับไปจากเขา เป็นนวนิยายที่พรรณนาถึงโครงร่างและความปรารถนาของเรือนร่างมนุษย์และเรือนร่างของชาติ ผ่านความแปรเปลี่ยนของการเมือง ศิลปะ และซับคัลเจอร์ในประเทศไทย
รายละเอียดการแสดง |
“ปรารถนา : ภาพเหมือนการเข้าสิง”
นวนิยายต้นฉบับโดย : อุทิศ เหมะมูล (ร่างของปรารถนา)
ผู้เขียนบทและผู้กำกับ : โทชิกิ โอกาดะ
ผู้ออกแบบงานศิลป์ : ยูยะ ทซึกะฮาระ
ผู้ช่วยผู้กำกับ : วิชย อาทมาท
นักแสดง : จารุนันท์ พันธชาติ, เขมฌัษ เสริมสุขเจริญชัย, ขวัญแก้ว คงนิสัย, ภาวิณี สมรรคบุตร, ศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์, ทัพอนันต์ ธนาดุลยวัฒน์, ธีระวัฒน์ มุลวิไล, ธนพนธ์ อัคควทัญญู, ธงชัย พิมาพันธุ์ศรี, เววิรี อิทธิอนันต์กุล, วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล
*การแสดงเป็นภาษาไทยพร้อมคำบรรยายภาษาอังกฤษและญี่ปุ่น
สถานที่จัดแสดง :
ศูนย์ศิลปการละครสดใส พันธุมโกมล ชั้น 6
ณ อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รอบการแสดง:
วันที่ 22 – 26 สิงหาคม พ.ศ. 2561
รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการ:
https://pratthana.net/index_th.html
https://www.facebook.com/pratthanabkk/
https://www.youtube.com/watch?v=v4nXEfmgIuA
บทความจากสื่อออนไลน์:
https://themomentum.co/pratthana-uthis/
https://thematter.co/thinkers/pratthana-play/58368
https://readthecloud.co/area-theatre-pratthana/
https://gmlive.com/247-Trend-review-rangkhongprarthna-stage-play
https://kiji.life/pratthana-aportraitofpossession/
https://www.facebook.com/thejammag/photos/a.997536950262699/2289452071071174
https://www.facebook.com/adaymagazine/posts/10156710991455406
https://www.nationmultimedia.com/detail/art/30352895
https://artsequator.com/pratthana-review/
https://www.asahi.com/articles/DA3S13667855.html
https://togetter.com/li/1266304
https://natalie.mu/stage/news/296703
ภาพการซ้อมในกรุงเทพมหานคร
ภาพกิจกรรมเสวนาก่อนเปิดจัดการแสดง ณ ร้านหนังสือก็องดิด
ภาพการแสดงจริง ณ กรุงเทพมหานคร
Photo by Sopanat Somkhanngoen
Photo by Sopanat Somkhanngoen
Photo by Sopanat Somkhanngoen
Photo by Sopanat Somkhanngoen
Credits
ออกแบบเครื่องแต่งกาย : เคียวโกะ ฟูจิทานิ (FAIFAI)
ผู้ออกแบบแสง : พรพรรณ อารยวีรสิทธิ์
ผู้ออกแบบเสียง : มาซะมิสึ อารากิ
ผู้ช่วยผู้ออกแบบงานศิลป์และวิดีโอ : ทาคุยะ มัตสึมิ
ควบคุมเทคนิค : คาซูชิ โอตะ
ผู้แปลนวนิยายต้นฉบับ : โช ฟุกุโตมิ
ผู้แปลบทละคร : มุทิตา พานิช
ผู้ร่วมแปล : ภัทรสร คูร์พิพัฒน์, มัทนา จาตุรแสงไพโรจน์
ล่าม : ภัทรสร คูร์พิพัฒน์, ไพบูลย์ ภัทจารีสกุล
ออกแบบสื่อ : ยาสุโวะ มิยามูระ / ภาพวาดต้นแบบสำหรับงานออกแบบสื่อ : อุทิศ เหมะมูล
อำนวยการสร้าง : อากาเนะ นากามุระ
ผู้จัดการฝ่ายผลิต : โยโกะ คาวาซากิ
ผู้ควบคุมผลิต : ทามิโกะ โออุกิ
ผู้ช่วยโปรดิวเซอร์ : เมกูมิ มิซูโนะ, พรจิตตรา วงค์ศรีสวัสดิ์
บัตรเข้าชม : จตุรชัย ศรีจันทร์วันเพ็ญ, นภัค ไตรเจริญเดช, ลัดดา คงเดช
ประชาสัมพันธ์ : เอริโกะ นิชิทานิ (รีเลย์รีเลย์)
ผลิตโดย The Japan Foundation Asia Center, precog co.,LTD., chelfitsch
สนับสนุน โดย Arts Council Tokyo (Tokyo Metropolitan Foundation for History and Culture), The Saison Foundation
สนับสนุนสถานที่ : ศูนย์ศิลปการละครสดใส พันธุมโกมล คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, เดโมเครซี่ สตูดิโอ
ร่วมสนับสนับสนุน โดย ร้านหนังสือก็องดิด, Bangkok CityCity Gallery, all(zone), ARTIST+RUN GALLERY, หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, B-floor Theatre
รับรองโดย สมาคมญี่ปุ่นในประเทศไทย