“สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ” (Bangkok Notes)

กิจกรรมเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 130 ปี ความสัมพันธ์การทูตไทย-ญี่ปุ่น

 

“สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ”

 

(Bangkok Notes)

 

ภาพโดย ธีรพันธ์ เงาจีนานันต์

 

ละครเวทีความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น
โดย ศาสตราจารย์ โอริสะ ฮิราตะ

การแสดงเปิด
เทศกาลละครกรุงเทพ 2560

 

ละครเวทีร่วมสมัยที่สร้างความประทับใจมาแล้วทั่วโลก

 

[สถานที่]
ศูนย์ศิลปการละครสดใส พันธุมโกมล
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

[วันและเวลา]
วันพฤหัสบดีถึงวันเสาร์ที่ 2 – 4 และ
9 -11 พฤศจิกายน 2560 เวลา 19.30 น.
(วันเสาร์เพิ่มรอบบ่ายเวลา 14.00 น.)

*รอบปฐมทัศน์ วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายน 2560
พร้อมพิธีเปิดเทศกาลละครกรุงเทพ 2560*

 

ละครร่วมสมัยที่ประทับใจผู้ชมมาแล้วในหลายภาษาทั่วโลก

 

เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมกับ โครงการศิลปะการละครนานาชาติ (World Performances @ Drama Chula) ภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้นำเสนอ ละครเวทีความร่วมมือไทยญี่ปุ่น “สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ” (“Bangkok Notes”) เขียนบทและกำกับการแสดงโดย ศาสตราจารย์ โอริสะ ฮิราตะ (Prof. Oriza Hirata) นักการละครผู้มีอิทธิพลต่อวงการละครญี่ปุ่นและทั่วโลก นอกจากนี้ “สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ” ยังเป็นกิจกรรมในวาระครบรอบ 130 ปีความสัมพันธ์การทูตไทย-ญี่ปุ่น และได้รับเกียรติจากเครือข่ายละครกรุงเทพ (Bangkok Theatre Network) ให้เป็นการแสดงเปิดเทศกาลละครกรุงเทพ 2560 (Bangkok Theatre Festival 2017: “Sharing Moments”) ในวันพฤหัสบดีที่ 2 พฤศจิกายนนี้ ที่ศูนย์ศิลปการละครสดใส พันธุมโกมลอีกด้วย

 

ละคร “สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ” (“Bangkok Notes”) ดัดแปลงบทจาก “Tokyo Notes” (“โตเกียว โน้ตส์”) ซึ่งบรรยายให้ผู้ชมได้เห็นการค่อยๆ สลายตัวของความสัมพันธ์ในครอบครัว รวมไปถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์ในสังคม ผ่านการเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นในพิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งหนึ่งในอนาคตอันใกล้  ละครเรื่องนี้ได้รับคำชื่นชมจากทั้งผู้ชมและนักวิจารณ์ทั้งในญี่ปุ่นและนานาชาติ  “Tokyo Notes” (“โตเกียว โน้ตส์”) ได้รับการแปลมาแล้ว 10 ภาษา และจัดแสดงมาแล้ว 23 เมือง ใน 16 ประเทศ นอกจากนี้ยังทำให้เกิดโครงการละครความร่วมมือระหว่างประเทศมาแล้ว 4 โครงการ ได้แก่ “Seoul Notes” ณ ประเทศเกาหลีใต้ในปี 2546 “Taipei Notes” ในเทศกาล Taipei Arts Festival ประเทศไต้หวัน เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา (บัตรจำหน่ายหมดทุกใบภายใน 2 ชั่วโมง) “สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ” (“Bangkok Notes”) ในเทศกาลละครกรุงเทพปี 2560 และ “Manila Notes” ณ ประเทศฟิลิปปินส์ ในปี 2561

 

เพื่อให้ “สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ” (“Bangkok Notes”) สื่อสารแก่นความคิดและสร้างความบันเทิงให้ผู้ชมชาวไทยอย่างเต็มที่ อาจารย์ ดร.สาวิตา ดิถียนต์ นักเขียนบทละครเวทีและโทรทัศน์ และอาจารย์ประจำภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ปรับบริบทเรื่องราวและบทสนทนาให้มีความเป็นละครเวทีไทย และศาสตราจารย์ โอริสะ ฮิราตะ ได้คัดเลือกนักแสดงมืออาชีพชาวไทยกว่า 20 คนมาร่วมแสดง ทั้งรุ่นเล็กรุ่นใหญ่จากหลากหลายคณะละคร เช่น สุมณฑา สวนผลรัตน์ (จุ๋ม) เจ้าของรางวัล IATC Thailand Award สาขานักแสดงหญิงยอดเยี่ยม ปี 2555 ดวงใจ หิรัญศรี (เพียว) คณะละครอนัตตา ธีรวัฒน์ มุลวิไล (คาเงะ) ผู้ก่อตั้งคณะละคร B-Floor เจ้าของรางวัล Bangkok Theatre Festival Award สาขานักแสดงชายยอดเยี่ยม ปี 2557 ณัฐ นวลแพง ผู้ก่อตั้งคณะละครเสาสูง และ วรัฏฐา ทองอยู่ (แอน) เจ้าของรางวัล IATC Thailand Award สาขานักแสz`ดงหญิงยอดเยี่ยม ปีที่แล้ว เป็นต้น

 

“สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ” (“Bangkok Notes”) จึงนับเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญอีกครั้งของคณะละครเวทีของไทยด้วยความสนับสนุนของเจแปนฟาวน์เดชั่น หลังจากละครเวทีเรื่อง “ยักษ์ตัวแดง” (“Akaoni”) เมื่อปี 2540 ซึ่งทำให้เกิดการก่อตั้งเครือข่ายละครกรุงเทพและเทศกาลละครกรุงเทพในเวลาต่อมา และละครเวทีเรื่อง “สาวชาวนา” (“Nogyo Shojo”) เมื่อปี 2552 ซึ่งจัดแสดงทั้งที่เทศกาลละครกรุงเทพและ Festival/Tokyo

 

เกี่ยวกับผู้เขียนบทและผู้กำกับการแสดง

ศาสตราจารย์โอริสะ ฮิราตะ

 

ในปี 2525 ศาสตราจารย์ โอริสะ ฮิราตะได้ก่อตั้งคณะละคร “เซอิเนนดัง” และได้กลายเป็นคณะละครชั้นแนวหน้าของญี่ปุ่นด้วยการเผยแพร่ “ทฤษฎีละครพูดร่วมสมัย” มาตลอด โอริสะ ศาสตราจารย์ โอริสะ ฮิราตะได้ร่วมงานกับศิลปินชั้นนำทั่วโลกมาแล้วมากมาย ไม่ว่าจะที่ประเทศฝรั่งเศส เยอรมนี ไต้หวัน เกาหลี ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา ไอร์แลนด์ แคนาดา และประเทศไทย

 

ด้วยความสนับสนุนอย่างต่อเนื่องของเจแปนฟาวน์เดชั่น ศาสตราจารย์ โอริสะ ฮิราตะได้เดินทางมาประเทศไทยเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2547 เพื่อจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการกำกับการแสดงละครเวทีที่โรงละครอักษรศาสตร์ จุฬาฯ (ณัฐ นวลแพง นักแสดงละครเรื่อง “สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ” ได้เข้าร่วมด้วย) ต่อมาในปี 2549 ก็ได้นำคณะละครเซอิเนนดังมาแสดงละครเรื่อง “โตเกียว โน้ตส์” ที่โรงละครเดียวกัน หลังจากนั้นในปี 2555 ศาสตราจารย์ โอริสะ ฮิราตะ ได้เดินทางมาพร้อมกับศาสตราจารย์ฮิโรชิ อิชิกุโระ นักประดิษฐ์หุ่นยนต์ชื่อก้องโลก เพื่อกำกับนักแสดงชาวไทย (หนึ่งในนั้น คือ วรัฏฐา ทองอยู่ นักแสดงละครเรื่อง “สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ”) ในละครคน-หุ่นยนต์เรื่อง “ซาโยนาระ” (“Sayonara”) ที่ศูนย์ศิลปการละครสดใส     พันธุมโกมล และครั้งล่าสุดเมื่อปี 2558 อาจารย์ทั้งสองท่านได้นำละครคน-หุ่นยนต์เรื่อง “กล{กล}าย” หรือ “Metamorphosis (Android Version) ซึ่งนำแสดงโดย Irene Jacob ดาราชาวฝรั่งเศสผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ มาจัดแสดงที่โรงละครเดียวกัน นับว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ชมละครชาวไทยมีโอกาสได้ชมผลงานของศาสตราจารย์ โอริสะ ฮิราตะ มากเรื่องและบ่อยครั้งที่สุด

 

ปัจจุบัน นอกจากจะเป็นศาสตราจารย์ประจำศูนย์นวัตกรรมศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งโตเกียวแล้ว ศาสตราจารย์ โอริสะ ฮิราตะยังเป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยโอซาก้าสำหรับการศึกษาในโครงการ Co* Design เป็นอาจารย์พิเศษและที่ปรึกษาพิเศษให้กับประธานบริหารมหาวิทยาลัยชิโคะขุ กักคุอิน และมหาวิทยาลัยเกียวโต บุงเกียว และยังเป็นผู้อำนวยการบริหารแห่งคิราริ ฟุจิมิ – ศูนย์วัฒนธรรมเมืองฟุจิมิ นอกจากนี้เขายังเป็นคณะกรรมการบริหารของเจแปนฟาวน์เดชั่น สำหรับโครงการศิลปะประจำภูมิภาค และสมาคมญี่ปุ่นสำหรับการวิจัยด้านศิลปะการละคร และที่ปรึกษาด้านการเมืองและวัฒนธรรมให้กับเมืองโทโยโอกะ

 

ข้อคิดเห็นจากศาสตราจารย์โอริสะ ฮิราตะ

 

ดังที่เห็นได้จากชื่อเรื่อง(ดั้งเดิม) ผมได้ความคิดเรื่อง “โตเกียว โน้ตส์” มาจากภาพยนตร์คลาสสิกเรื่อง “โตเกียว สตอรี่” ของยาสุจิโร โอสุ  ในเรื่องของโอสุนั้น แต่ละฉากในภาพยนตร์แสดงภาพพ่อแม่สูงวัยเข้ามาเยี่ยมลูกๆ ในกรุงโตเกียว ในขณะที่ “โตเกียว โน้ตส์” แสดงให้เห็นการมารวมตัวกันที่ล็อบบี้พิพิธภัณฑ์ศิลปะของพี่น้องที่แยกย้ายกันอยู่ในโตเกียว เมื่อพี่สาวที่ชื่นชอบงานศิลปะของพวกเขาเดินทางจากบ้านเกิดมาเยี่ยม ปกติแล้วพี่น้องแต่ละคนจะมีชีวิตและปัญหาต่างๆ ต่างกันไป แต่ตอนนี้สิ่งเดียวที่พวกเขากังวลร่วมกันก็คือการดูแลพ่อแม่ที่อายุมาก ในขณะที่เหตุการณ์ที่หอศิลป์ดำเนินไป ก็มีการสอดแทรกเรื่องของสงครามใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้นในยุโรป อย่างไรก็ตาม ผู้ชมนิทรรศการที่นี่ต่างก็ดูเหมือนจะสนใจแต่ชีวิตและปัญหาของตนเองเท่านั้น

 

ละครได้มีการดัดแปลงให้สะท้อนภาวะไม่มั่นคงของจิตใจมนุษย์ ผลงานชิ้นนี้อาจจะเป็นความพยายามเปิดเผยช่วงเวลาของความรู้สึกนั้น ผมหวังให้ผู้ชมได้เห็นแรงสั่นสะเทือนภายในของสองสิ่ง คือ ความขัดแย้งครั้งใหญ่ระหว่างประเทศ และความแตกแยกในครอบครัว ซึ่งเป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของคนในยุคทศวรรษ 1990

 

วิดิโอสัมภาษณ์ผู้กำกับและนักแสดง
https://www.youtube.com/watch?v=BblukH177PE

 

ความเห็นผู้ชมหลังชมการแสดง
https://www.youtube.com/watch?v=RWpczxbzxUc

 

บทความเกี่ยวกับการแสดง
https://bit.ly/2S01ptw
https://bit.ly/2B0JskP
https://goo.gl/DBqnmu
https://bit.ly/2FQgBD4
https://bit.ly/2W7ZySN
https://bit.ly/2AZ0jVc

 

ร่วมจัดโดย

     

 

สนับสนุนโดย

               

 

ขอขอบคุณ

 

จากซ้ายไปขวา:
ผศ. ปวิตร มหาสารินันทน์ ((อดีต) หัวหน้าภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย),
ประดิษฐ ประสาททอง (ผู้อำนวยการเทศกาลละครกรุงเทพ 
และประธานเครือข่ายละครกรุงเทพ),
ศ. โอริสะ ฮิราตะ และ โนริฮิโกะ โยชิโอกะ (ผู้อำนวยการบริหารเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ)

 

ถ่ายภาพร่วมกับศิลปินผู้เข้าร่วมเทศกาลละครกรุงเทพประจำปี 2560 ณ งานเปิดเทศกาลฯ

 

งานเลี้ยงเปิดเทศกาลละครกรุงเทพ 2560

 

ภาพถ่ายจากการแสดง“สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ” (“Bangkok Notes”)  

 

ภาพถ่ายจากการแสดง“สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ” (“Bangkok Notes”)  

 

ภาพถ่ายจากการแสดง“สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ” (“Bangkok Notes”)  

 

ภาพถ่ายจากการแสดง“สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ” (“Bangkok Notes”)  

 

ภาพถ่ายจากการแสดง“สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ” (“Bangkok Notes”)  

 

ภาพถ่ายจากการแสดง“สงคราม ภาพวาด ผู้คน ฯลฯ” (“Bangkok Notes”)  

 

สุมณฑา สวนผลรัตน์ นักแสดงนำ รับพวงมาลัยแสดงความยินดีจากผู้สนับสนุนหลังการจบแสดง

 

รศ. ดร. สุรเดช โชติอุดมพันธ์ มอบพวงมาลัยแสดงความยินดีแด่ศ. โอริสะ ฮิราตะ

 

รางวัล “ละครพูด / ละครเพลงยอดเยี่ยม” ในเทศกาลละครกรุงเทพ 2560 ให้  “บางกอก โน้ตส์ – สงคราม ภาพวาด ผู้คน” จากชมรมวิจารณ์ศิลปะการแสดง