การเรียนรู้ผ่านการเล่น: หลักการและวิธีการ
Learning Through Play: Practices and Principles
(ส่วนหนึ่งของเทศกาล BICT on(line) the MOVE 2021)
เสวนาพิเศษที่ได้ศิลปินนักเต้น
และนักออกแบบท่าเต้นจากญี่ปุ่น
คุณมัตสึโมโตะ ทาเคชิ
มาร่วมเสวนาเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2564 ที่ผ่านมา
[วัน] อาทิตย์ที่ 26 กันยายน 2564
[เวลา] 17:00 – 19:00
[ช่องทาง] Online Webinar
[ภาษา] ไทยและอังกฤษ
[ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการร่วมกิจกรรม]
สามารถรับชมการเสวนาย้อนหลังบนแพลตฟอร์มของเทศกาลได้ในเดือนพฤศจิกายน
เทศกาลละครนานาชาติสำหรับเด็กและเยาวชนกรุงเทพฯ 2564 โดยการสนับสนุนจากเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ได้จัดการเสวนาในหัวข้อ ‘การเรียนรู้ผ่านการเล่น: หลักการและวิธีการ (Learning Through Play: Practices and Principles)’ ขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 26 กันยายนที่ผ่านมา ทางช่องทางออนไลน์
ด้วยความเชื่อมั่นว่าการเล่นเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้สำหรับเด็ก และช่วยพัฒนาทักษะทั้งทางด้านสังคม อารมณ์ สติปัญญา และร่างกาย การเสวนาที่นำโดยศิลปินครั้งนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ผ่านการเล่น ในช่วงเวลาที่เราต้องเผชิญกับความจริงของโรคระบาด ทำให้เด็ก ๆ ต้องใช้ชีวิตอยู่กับพื้นที่และกิจกรรมที่จำกัดในทุก ๆ วัน เป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในวิถีNew normalนี้ และเราจะพัฒนาทักษะทางด้านสังคมโดยรักษาระยะห่างแค่เพียงทางกายภาพไม่ใช่ทางด้านจิตใจได้อย่างไร วิทยากรที่ร่วมเสวนาในครั้งนี้ได้ร่วมสะท้อนถึงประสบการณ์ แรงบันดาลใจ และการใช้ศิลปะในการช่วยให้เด็กได้แสดงออกอย่างอิสระและเล่นโดยปราศจากข้อจำกัด
โดยศิลปินผู้ร่วมเสวนาในครั้งนี้ประกอบไปด้วยศิลปินมืออาชีพทั้ง 7 ท่านจากหลากหลายประเทศ รวมถึงคุณมัตสึโมโตะ ทาเคชิ ศิลปินนักเต้นชาวญี่ปุ่นผู้ทำงานแบบอินคลูซีฟโดยสร้างงานที่ทุกคนสามารถรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งได้ไม่ว่าแต่ละบุคคลจะมีเงื่อนไขแบบใดและเขายังมีประสบการณ์การทำงานกับกลุ่มเด็กพิเศษด้วย นอกจากนี้คุณทาเคชิยังมีความเชี่ยวชาญในการสร้างงานศิลปะเพื่อเป็นแรงบันดาลใจ โดยค้นหาความเป็นไปได้ในการใช้ศาสตร์การเต้นและการแสดงเป็นเครื่องมือในการสร้างความตระหนักรู้ในความหลากหลายและโอบรับตัวตนที่แตกต่างกันไป โดยมุ่งเน้นไปที่การสร้างความเข้าใจผู้อื่น การสื่อสาร และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างร่างกายและจิตใจ โดยเฉพาะในกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่กำลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต
ผู้ร่วมเสวนา:
* Alfredo Zinola (เยอรมนี) นักเต้น/นักออกแบบท่าเต้น Alfredo Zinola Company
* ครูเบิร์ด-บุญพงษ์ พานิช (ไทย) ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการศิลป์ Cherry Theatre โรงละครเพื่อการพัฒนา
* Gemma Pepper (ออสเตรเลีย) โปรดิวเซอร์ Audioplay
* คุณมัตสึโมโตะ ทาเคชิ (ญี่ปุ่น) ผู้ก่อตั้ง Seven Circles
* Adrián Hernández & José Agüero (เม็กซิโก/ อาร์เจนตินา) จากคณะละคร Teatro al Vacío
ดำเนินรายการโดย ศศพินทุ์ ศิริวาณิชย์ (ไทย) Artistic Director, BIPAM
มัตสึโมโตะ ทาเคชิ
ผู้ก่อตั้ง Seven Circles
ศิลปินชาวญี่ปุ่น นักแสดงและนักออกแบบท่าเต้นที่ทำงานแบบอินคลูซีฟ เขาได้รับการยอมรับในฐานะนักบำบัดด้วยการเต้นและการเคลื่อนไหว พร้อมด้วยประสบการณ์การทำงานกับเด็กที่มีภาวะออทิสติกและมีเงื่อนไขทางการเรียนรู้ทั้งในอังกฤษและญี่ปุ่น ด้วยว่าเติบโตขึ้นมาในญี่ปุ่น การฝึกฝนของเขาทั้งในชีวิตและในการแสดง มักจะได้รับอิทธิพลจากศาสตร์ที่เรียกว่า 和-Wa อันหมายถึงความกลมเกลียว ความสงบเงียบ ความพึงพอใจในวิถีชีวิตและการประนีประนอมกับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม
เขาเคยทำงานมาแล้วทั้งในระดับชุมชมและระดับโลก เคยร่วมทำงานในโปรเจคการเต้นกับเด็กและผู้ใหญ่ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้(ร่วมกับกลุ่ม SLiDE, Icandance, RADiate) และผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมในประเทศอังกฤษ(ร่วมกับคุณBeatrice Allegranti) ในระดับโลก เขาเคยนำโปรเจคการเต้นให้กับครอบครัวที่รอดพ้นจากวิกฤตการณ์นิวเคลียร์ในพื้นที่ทางตอนเหนือของญี่ปุ่น และโปรเจคกับเด็ก ๆ ผู้ลี้ภัยในประเทศไทยโดยได้ทำงานร่วมกับศิลปินท่านอื่นอีกหลายท่าน
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่(https://www.sevencircles.one/)
เทศกาลละครนานาชาติสำหรับเด็กและเยาวชนกรุงเทพ 2564(BICT Fest)
BICT Fest เกิดจากการรวมตัวกันของนักการละครและนักบริหารจัดการศิลปะอาชีพ เพื่อสร้างประสบการณ์การแสดงที่แปลกใหม่และมีคุณภาพระดับนานาชาติให้กับเด็ก ๆ และครอบครัวชาวไทยมาตั้งแต่ปี2558 ในปีนี้ BICT Fest เทศกาลที่เต็มไปด้วยกิจกรรมน่าสนใจสำหรับทั้งเด็กและผู้ใหญ่ กลับมาอีกครั้ง จากโรงละครมาสู่โลกออนไลน์ เพื่อมอบความสนุกสนานตื่นเต้นให้ทุกคนในชื่อว่า BICT on(line) the MOVE ระหว่างวันที่ 5-14 พฤศจิกายน 2564 บนเว็บไซต์www.bictfest.com บวกกับการเสวนาในเดือนกันยายนเป็นเวลาอีก 2 วัน ในประเด็นที่ BICT Fest ให้ความสนใจเป็นพิเศษ คือเรื่องการละครกับการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ไฮไลท์ของปีนี้ประกอบไปด้วยการแสดงจากศิลปินไทยและนานาชาติ และกิจกรรมเวิร์คชอปสร้างสรรค์ ที่เชิญชวนให้เด็กๆและครอบครัวมามีส่วนร่วม และใช้เวลาคุณภาพร่วมกันในรูปแบบออนไลน์ โดยสร้าง “โรงเรียนแห่งจินตนาการ”ขึ้นมา โรงเรียนที่จะมีแต่ความสนุกและเต็มไปด้วยกิจกรรมอย่างการแสดงละครหุ่น การเต้น ดนตรีและเวิรค์ช็อปศิลปะอีกมากมาย และทุกคนสามารถเข้าร่วมเทศกาลได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
จัดกิจกรรมโดยเทศกาลละครนานาชาติสำหรับเด็กและเยาวชนกรุงเทพ 2564 โดยการสนับสนุนจากเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ https://www.facebook.com/bictfest