เสวนาสาธารณะ “โชโจ มังงะ : ประวัติศาสตร์ พลังและอิทธิพลของการ์ตูนผู้หญิงในญี่ปุ่น และแนวโน้มใหม่ในเมืองไทย”

 
วันที่: วันเสาร์ที่ 3 กันยายน 2565
เวลา: 16.00 – 17.30 น.
สถานที่: ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 1 หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร
ภาษา: ภาษาญี่ปุ่น และ ภาษาไทย (มีล่ามแปลพร้อม)
กำหนดการ: 15.00 – 15.50 ลงทะเบียน
  16.00 – 16.40 การบรรยาย โดย
ศ.ดร. นากาอิเกะ คาซุมิ (มหาวิทยาลัยโออิตะ) และ
ศ.ดร.ฟุจิโมะโตะ ยูคาริ (มหาวิทยาลัยเมจิ)
  16.40 – 17.00 อภิปรายและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นโดย
รศ.ดร. นัทธนัย ประสานนาม
คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  17.00 – 17.30 ถาม-ตอบ
ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมงานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย กรุณาลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ QR Code
This image has an empty alt attribute; its file name is qr.png

ด้วยกระแสความนิยมละครแนว Boys’ Love (BL) หรือ ที่รู้จักกันดีอีกชื่อว่าละครวายในประเทศไทยส่งผลให้มูลค่าการส่งออกทางเศรษฐกิจมีการเติบโตกว่า 1000 ล้านบาท และเป็นที่นิยมในหลายประเทศทั้งเอเชียตะวันออก เช่น จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น รวมทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม ตลอดจนประเทศในกลุ่มลาตินอเมริกา อย่างไรก็ตาม เพื่อให้เข้าใจถึงปรากฏการณ์การเติบโตของวัฒนธรรมข้ามพรมแดนนี้ “โชโจ มังงะ” หรือ การ์ตูนที่เน้นเนื้อหาเจาะกลุ่มผู้หญิงและเป็นส่วนหนึ่งของมังงะบอยส์เลิฟก็ยังได้รับความนิยมจากแฟนผู้อ่านและแฟนซีรีส์ชาวไทยเช่นกัน

ดังนั้น เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ  ร่วมกับ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยการสนับสนุนจาก สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย สมาคมญี่ปุ่นในประเทศไทย และร้านหนังสือคิโนะคุนิยะ (ประเทศไทย) จะจัดเวทีเสวนาสาธารณะเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการฑูตระหว่างประเทศญี่ปุ่น – ไทยครบ 135 ปี  หัวข้อ “โชโจ มังงะ : ประวัติศาสตร์ พลังและอิทธิพลของการ์ตูนผู้หญิงในญี่ปุ่น และแนวโน้มใหม่ในเมืองไทย” เพื่อพาแขกผู้มีเกียรติทุกท่าน ย้อนกลับไปดูเบื้องหลังพัฒนาการการเติบโตทางวัฒนธรรม Boys’ Love (BL) ที่กำเนิดขึ้นที่ญี่ปุ่นเมื่อช่วงยุค 70 ผ่านการเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์ พลังและอิทธิพลของการ์ตูนผู้หญิงที่ส่งผลต่อบริบททางสังคมญี่ปุ่นในขณะนั้นจนถึงยุคปัจจุบัน รวมถึงการศึกษาเปรียบเทียบเกี่ยวกับอัตลักษณ์และลายเส้นของภาพวาดตัวละครในการ์ตูนยุคต่างๆ ตลอดจนทำความเข้าใจต่อมิติความสัมพันธ์ของตัวละครที่สะท้อนออกมาในหลายแง่มุม เช่น บทบาทหญิง-ชายในสังคมญี่ปุ่นร่วมสมัย การยอมรับความหลากหลายของเพศสภาวะ ความเท่าเทียมทางเพศ และประเด็นด้านสตรีนิยม เป็นต้น ซึ่งทางหน่วยงานได้รับเกียรติอย่างสูงจากศ.ดร.นากาอิเกะ คาซุมิ จากมหาวิทยาลัยโออิตะ ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับเชิญไปให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรม BL ทั้งในและต่างประเทศ มาเป็นผู้บรรยายในเวทีเสวนาครั้งนี้ ร่วมกับ ศ.ดร.ฟุุจิโมะโตะ ยูคาริ จากมหาวิทยาลัยเมจิ ผู้ที่ศึกษาเรื่องความเท่าเทียมทางเพศ และประเด็นด้านเพศสภาวะผ่านงานโชโจมังงะ ที่มีอิทธิพลต่อสังคมญี่ปุ่น และรศ.ดร.นัทธนัย ประสานนาม จากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้คลุกคลีและทำงานวิจัยเรื่อง BL มาอย่างต่อเนื่อง

เกี่ยวกับวิทยากร

ศ.ดร. นากาอิเกะ คาซุมิ

อาจารย์ประจำสถาบัน Global Education และ Advanced Research มหาวิทยาลัยโออิตะ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านเอเชียศึกษาจากมหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย เชี่ยวชาญพิเศษด้านมังงะ ป๊อบคัลเจอร์ วรรณคดีเปรียบเทียบ เพศสถานะ และเพศวิถีศึกษา นอกจากนี้ยังทำงานแปล รับหน้าที่เป็นบรรณาธิการ และเป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ Fantasies of Cross-dressing: Japanese Women Write Male-Male Erotica (Brill Academic Publishers, 2012)

ศ.ดร.ฟุจิโมะโตะ ยูคาริ

ศาสตราจารย์ประจำคณะ Global Japanese Studies มหาวิทยาลัยเมจิ ขณะทำงานในฐานะบรรณาธิการที่สำนักพิมพ์จิคุมะโชโบจนถึงปี 2007 ได้มีส่วนร่วมในการวิจารณ์หนังสือการ์ตูน เรื่องทางเพศ และประเด็นอื่นๆ และขณะที่เขียนคอลัมน์ประจำสำหรับนิตยสารและหนังสือพิมพ์ ยังปฏิบัติหน้าที่ในฐานะคณะกรรมการคัดเลือกสำหรับรางวัล Tezuka Osamu Cultural Award และรางวัลอื่นๆ อีกด้วย ต่อมาได้เข้าร่วมมหาวิทยาลัยเมจิในปี 2008 เชี่ยวชาญด้านการ์ตูนผู้หญิงและกำลังทำการวิจัยเกี่ยวกับการเปรียบเทียบมังงะระหว่างประเทศและตลาดมังงะต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีผลงานเขียนมากมาย เช่น Where is My Place? (สำนักพิมพ์อาซาฮิบุงโก)

รศ.ดร.นัทธนัย ประสานนาม

นัทธนัย ประสานนาม สอนวิชาวรรณกรรมไทยร่วมสมัยและสกรีนศึกษา ณ ภาควิชาวรรณคดี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน โดยดำรงตำแหน่งบริหารในฐานะรองคณบดีฝ่ายวิจัยและสร้างสรรค์ คณะมนุษยศาสตร์ ของสถาบันดังกล่าว ภูมิหลังด้านการศึกษาของนัทธนัยคือวรรณกรรมศึกษาและภาพยนตร์ศึกษา เขาบุกเบิกสาขาวิชาใหม่ในงานวิชาการภาษาไทย เป็นต้นว่า ความทรงจำวัฒนธรรมศึกษา การดัดแปลงศึกษา สหสื่อศึกษา โรมานซ์ประชานิยมศึกษา และประวัติศาสตร์หนังสือ ผลงานหนังสือวิชาการล่าสุดคือ ประพันธศาสตร์ของความหลัง: ความทรงจำวัฒนธรรมกับวรรณกรรมศึกษา (2562) เขียนด้วยเงา เล่าด้วยแสง: วรรณกรรมกับการดัดแปลงศึกษา (2564) และ สุนทรียสหสื่อ (2564)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
(ภาษาไทยและอังกฤษ)
วัฒนา อ่อนพานิช   wathana@ba.jpf.go.jp
(ภาษาญี่ปุ่น)
ชิโอมิ อันโดะ   ando@ba.jpf.go.jp 

จัดโดย
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ และ
หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร

สนับสนุนโดย
สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
สมาคมญี่ปุ่นในประเทศไทย
ร้านหนังสือคิโนะคุนิยะ (ประเทศไทย)

เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
ชั้น 10 อาคารเสริมมิตร ทาวเวอร์
159 ถนนสุขุมวิท 21 กรุงเทพฯ 10110
Tel: 02-260-8560
Facebook: www.facebook.com/jfbangkok/
Website: https://ba.jpf.go.jp