เวิร์กชอปและงานเสวนาพิเศษเกี่ยวกับความรู้เรื่องการหมักดองของญี่ปุ่นและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เวิร์กชอป “Shoyu Tasting and My Shoyu Making” และ
งานเสวนาเรื่อง สรรพรสสัมผัสผ่านวัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่นและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
วันที่ | วันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน 2566 |
เวลา | เวิร์กชอป 11.00-12.30 น. งานเสวนา 14.00-16.30 น. |
ผู้เข้าร่วมงาน | เวิร์กชอป 23 คน งานเสวนา 32 คน |
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ร่วมกับ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ จังหวัดขอนแก่น ภายใต้ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) มีความยินดียิ่งในการร่วมจัดงานเวิร์กชอป “Shoyu Tasting and My Shoyu Making” และงานเสวนา “สรรพรสสัมผัสผ่านวัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่นและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” โดยเป็นส่วนหนึ่งของการส่งเสริมการแบ่งปันความรู้เรื่องการหมักดองที่เป็นส่วนหนึ่งของงานเทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2566 ในหัวข้อ “เติมเต็มถิ่นฐาน ตื่มบ้าน ตื่มเมือง” ในวันอาทิตย์ที่ 2 เมษายน 2566 ระหว่างเวลา 11.00 – 12.30 น. และ 14.00 – 16.30 น. ตามลำดับ ที่ Glowfish co-working space ชั้น 2 ตึกแก่น จังหวัดขอนแก่น
โชยุ (ซีอิ๊วญี่ปุ่น) น้ำปลา และปลาแดกเป็นเครื่องปรุงอาหารพื้นฐานในเอเชียมาช้านาน โชยุถูกใช้ในการปรุงอาหารญี่ปุ่น ในขณะที่น้ำปลาและปลาแดกถูกใช้ในประกอบอาหารที่หลากหลายในวัฒนธรรมอาหารภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยทั้งโชยุ น้ำปลาและปลาแดกต่างมีรากเหง้าฝังลึกในประวัติศาสตร์อาหารและผ่านการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายผ่านช่วงเวลาที่ผ่านมา คาเมะบิชิ เป็นบริษัทธุรกิจผลิตโชยุโดยใช้วัตถุดิบธรรมชาติผ่านกรรมวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมตั้งแต่ก่อตั้งในปี พ.ศ.2296 รสชาติที่โดดเด่นของโชยุคาเมะบิชิเกิดจากการผสมผสานอันลงตัวของปัจจัยสามประการ คือ 1. กระบวนการทำถั่วเหลืองให้เป็นมอลต์แบบวิธีที่เรียกว่า มุชิโระ โคจิ (หมายถึงถั่งเหลืองที่ผ่านการนึ่งแล้วผสมกับผงข้าวสาลีคั่วบนแผ่นเสื่อที่ทำจากฟาง) 2. การหมักดองอย่างช้าๆ ที่ใช้เวลาอย่างน้อย 15 เดือน และ 3. การใช้วัตถุดิบธรรมชาติ ในขณะที่คะเมะบิชิยังคงรักษากรรมวิธีการผลิตแบบดั้งเดิม ก็ได้ค่อยๆปรับเปลี่ยนและใช้แนวทางการทำธุรกิจที่ทันสมัยและสร้างสรรค์ กอปรกับการส่งเสริมสภาพแวดล้อมการทำงานที่รวมผู้หญิงและคนสูงวัยเข้าทำงานด้วย เช่นเดียวกัน น้ำปลาและปลาแดก ที่เกิดจากการหมักดองของภูมิปัญญาชาวบ้านก็มีบทบาทสำคัญเป็นเครื่องปรุงประจำบ้านที่ช่วยเพิ่มรสชาติให้กับอาหารอันหลากหลายในเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มาตั้งแต่โบราณ ดังนั้น จึงเห็นได้ชัดจากแต่ละภูมิภาคในเอเชียล้วนมีองค์ความรู้เรื่องการหมักดองที่เราสามารถเรียนรู้และแบ่งปันเพื่อสร้างโอกาสใหม่ๆ ที่ไม่เพียงแต่ช่วยในการปรับเปลี่ยนและการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์เองแต่ยังรวมถึงการสร้างความเข้าใจร่วมกันที่ลุ่มลึกมากขึ้นต่อวัฒนธรรมอาหารข้ามภูมิภาคอีกด้วย
ดังนั้น เราจึงมีความยินดีในการจัดงานเวิร์กชอป “Shoyu Tasting and My Shoyu Making” โดยวิทยากรญี่ปุ่น คุณโอคาดะ คาโอริ ผู้เป็นเจ้าของบริษัทคาเมบิชิจะช่วยให้ผู้ร่วมงานได้เรียนรู้และชิมโชยุดั้งเดิมหลากชนิดของร้านคาเมะบิชิและเปิดโอกาสให้ผสมทำโชยุในแบบฉบับของแต่ละท่านด้วย นอกจากนี้ งานเสวนา “สรรพรสสัมผัสผ่านวัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่นและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” ได้รับเกียรติจากแขกรับเชิญสามท่านในการพูดคุยแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์และมุมมองความคิดเรื่องประวัติศาสตร์ ตลอดจนการใช้โชยุ น้ำปลาและปลาแดกในวัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่นและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยวิทยากรทั้งสามท่าน คือ
1. คุณโอคาดะ คาโอริ ผู้เป็นเจ้าของบริษัทคาเมบิชิรุ่นที่ 18 จากจังหวัดคะกาวะ ประเทศญี่ปุ่น
2. คุณสริยา กัมปนาทแสนยากร กูรูด้านไวน์และนักเขียน
3. อนุสรณ์ ติปยานนท์ นักเขียน
โดยมีผู้ดำเนินรายการและแปลภาษาญี่ปุ่น คือ ผศ.ดร.วัชรา สุยะรา จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประวัติวิทยากรและผู้ดำเนินรายการ
เกิด พ.ศ. 2511 ที่เมืองทาคามัตสึ จังหวัดคะกาวะ ปัจจุบันเป็นเจ้าของกิจการคาเมะบิชิ รุ่นที่ 18 คุณโอคาดะสืบทอดธุรกิจครอบครัวโดยมีกลยุทธ์ธุรกิจที่ชาญฉลาด ในขณะที่ยังคงให้ความสำคัญกับกรรมวิธีการผลิตโชยุแบบดั้งเดิม และมุ่งหน้าพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น เกลือโชยุที่ใช้โรยหน้าอาหาร และโชยุที่หมักนานถึง 27 ปี
คุณสริยา กัมปนาทแสนยากร อาศัยที่กรุงเทพฯ เป็นกูรูด้านไวน์และเป็นนักเขียนเกี่ยวกับอาหารและไวน์ให้กับนิตยาสารและเว็ปออนไลน์มากมาย นอกจากนี้เป็นอาจารย์สอนเกี่ยวกับศาสตร์ทางด้านอาหารที่มหาวิทยาลัยกรุงเทพฯ โดยจบการศึกษาทางด้านอาหารจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์คและเป็นคนไทยคนแรกที่ได้รับ WSET และเป็น VIA Italian Ambassador ปัจจุบันกำลังศึกษาต่อเพื่อเป็น Master of Wine
ชาวกรุงเทพฯ โดยกำเนิด ล่าสุดได้รับรางวัลนักเขียนรางวัลแม่น้ำโขงในปี 2562และมีผลงานเขียนทั้งนวนิยาย เรื่องสั้นและรวมบทความ ผลงานนวนิยาย อาทิเช่น วายัง อมฤต, เพลงรักนิวตริโน่ ,ลอนดอนกับความลับในรอยจูบ ฯลฯ รวมเรื่องสั้น เคหวัตถุ ,นิมิตต์วิกาล, อาคเนย์คะนึง ,ตะวันออกศอกกลับ รวมบทความ คนหลังฉากในประวัติศาสตร์ลางเลือน,ล่าแม่มด ปัจจุบันนอกจากเรื่องวรรณกรรมและการเขียนได้เพิ่มความสนใจมาที่อาหารและการกินด้วย โดยสนใจในเรื่องราวของอาหารทั้งประวัติศาสตร์อาหาร วัฒนธรรมอาหาร และความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับอาหารในแง่มุมต่างๆ และมีความเรียงเกี่ยวกับอาหารรวมเล่มภายใต้ชื่อ My Chefs และ Food Design อีกด้วย
เป็นคนจังหวัดอุบลราชธานีและเป็นอดีตนักเรียนทุนรัฐบาลญี่ปุ่น จบปริญญาเอกด้าน Comparative Culture & Area Studies จากมหาวิทยาลัยริวกิวโดยมีโอกาสได้เรียนและใช้ชีวิตที่โอกินาว่าร่วม 7 ปี ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำสาขาวิชาการสอนภาษาญี่ปุ่น คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เกี่ยวกับเทศกาลอีสานสร้างสรรค์
เทศกาลอีสานสร้างสรรค์ 2566 จัดขึ้นภายใต้ธีม “เติมเต็มถิ่นฐาน ตื่มบ้าน ตื่มเมือง” ระหว่างวันที่ 1 – 9 เมษายน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความสร้างสรรค์อันหลากหลายของภูมิภาคอีสานโดยส่งเสริมเติมเต็มความเข้มแข็ง ยกระดับทักษะความสามารถในการแข่งขัน ค้นหาและสร้างโอกาสใหม่ให้กับอัตลักษณ์ความเป็นท้องถิ่น
ชมเว็บไซต์ได้ที่ https://www.isancreativefestival.com/
ร่วมจัดโดย
เวิร์กชอป “Shoyu Tasting and My Shoyu Making”
งานเสวนาเรื่อง สรรพรสสัมผัสผ่านวัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่นและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้