เจแปนฟาวนเ์ดช่นัเอเชียเซ็นเตอร์รว่มกบัพิพิธภณัฑศ์ิลปะรว่มสมยัใหม่เอี่ยม และ หอศิลป์บา้นจิม ทอมป์สนั จดังาน “The Breathing of Maps” ซ่งึเป็นชดุกิจกรรมที่จดัขึน้โดยการอา้งอิงจากหนงัสือ “กาํเนิดสยามจากแผนที่ : ประวตัศิาสตรภ์มูิกายาของชาติ” ของ คณุธงชยั วินิจจะกลู นกัประวตัศิาสตรไ์ทย โครงการนีเ้คยจดัขึน้ที่ยามากจุิและโตเกียวมาแลว้ และที่เชียงใหม่และกรุงเทพฯจะเป็นจดุหมาย ปลายทางสดุทา้ย โครงการนีจ้ะพดูถึงการเปลี่ยนแปลงทางสงัคมที่เกิดขึน้บนแผนทขี่า้มกาลเวลา ในขณะทส่ีาํรวจ” ภมูิกายาที่มีชีวิต “ที่ เกิดขึน้จากการสะสมของกิจกรรมของมนษุย์
โปรแกรมนี้มีการบรรยายและการแสดงการบรรยายโดยศิลปินและนกัวิจยัจากเอเชียตะวนัออกเฉียงใตแ้ละญ่ีป่นุเก่ยีวกบัการ วิจยัของพวกเขาเองในเรื่องประวตัิศาสตร์ วฒันธรรม การเมือง เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจ วิถีชีวิต และปรากฏการณท์างสงัคมอื่น ๆ ของ ประเทศนนั้ ๆ
เชียงใหม่
วันที่: | 25 – 30 มกราคม 2020 |
สถานที่: | พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัยใหม่เอี่ยม The Wandering Moon Theatre & Depsiri Gallery |
เข้าชมฟรี |
กรุงเทพ
วันที่: | 1 กุมภาพันธ์ 2020 |
สถานที่: | Araya Hall, พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน |
เข้าชมฟรี |
ตารางกิจกรรม
The Breathing of Maps
วันเสาร์ที่ 25 มกราคม, พิพิธภัณฑ์ใหม่เอี่ยม
13.00- | [ทัวร์พิเศษ] สันกำแพง 101: ทัวร์พิเศษ วัด อาหาร งานฝีมือ และสตูดิโอ โดยกฤติยา กาวีวงศ์ ผู้เข้าร่วม 50 คน |
กฤติยา กาวีวงศ์ เป็นภัณฑารักษ์ชาวยองที่ประจำอยู่ในกรุงเทพฯและเชียงใหม่ ยองเป็นกลุ่มกลุ่มชาติพันธุ์ไทที่อพยพจากรัฐฉานไปยังอาณาจักรล้านนาในศตวรรษที่ 19 โดยกระจายตัวทั่วภาคเหนือก่อนกลายเป็นที่รู้จักและโด่งดังจากการสร้างสรรค์งานไม้และสิ่งทอของพวกเขา ในทัวร์พิเศษครั้งนี้ กฤติยาจะพาท่านร่วมเดินผ่านความทรงจำเกี่ยวกับต้นกำเนิดของครอบครัวเธอในกอสะเลียม หมู่บ้านเล็ก ๆ ในอำเภอสันกำแพง ก่อนที่พวกเขาจะย้ายถิ่นฐานไปยังเชียงแสน จังหวัดเชียงรายภายหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เริ่มต้นจากวัดกอสะเลียม ทัวร์พิเศษนี้รวมไปถึงการหยุดแวะที่ร้านอาหารเฮือนใจ๋ยองเพื่อเยี่ยมชมการทำหัตถกรรมท้องถิ่นและสตูดิโอศิลปินหลากหลายท่าน ในระหว่างการเดินทางครั้งนี้ กฤติยา ได้ถกประเด็นเกี่ยวกับบริบททางวัฒนธรรมและทางสังคมการเมืองของอำเภอสันกำแพงที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทย และการที่อำเภอนี้ได้ถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไปทั้งในช่วงเวลาของการถดถอยและการฟื้นฟู | |
19.00- | [การแสดงสดรูปแบบบรรยาย]
An Imperial Sake Cup and I โดย ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ กำกับโดย คาเงะ ธีระวัฒน์ มุลวิไล, นนทวัฒน์ นำเบญจพล และ อนันต์ กรุดเพ็ชร์ ผู้เข้าร่วม 120 คน |
An Imperial Sake Cup and I เป็นการบรรยายโดย ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ นักประวัติศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดร.ชาญวิทย์เชื่อมโยงระหว่างความสัมพันธ์ของเขากับกองทัพญี่ปุ่นในบ้านเกิดที่หนองปลาดุก บ้านโป่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี 2507 สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะและมเหสีได้เดินทางมาเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ และในฐานะสมาชิกรุ่นน้องของทีมงานต้อนรับของเทศบาลนครกรุงเทพฯ เขาได้รับมอบถ้วยเหล้าสาเกซึ่งเขาเก็บไว้นับแต่นั้นมา ในการบรรยายครั้งนี้เขามองย้อนกลับไปสู่เรื่องราวส่วนตัวและเรื่องเล่าที่ไม่ใช่กระแสหลักที่สะท้อนวัตถุและความทรงจำรวมถึงการเป็นประจักษ์พยานในการเปลี่ยนแปลงทางสังคมโลกต่อการมีตัวตนของญี่ปุ่นในประเทศไทย สงครามเวียดนามและการลุกฮือของนักศึกษาในประเทศไทยในปี 2513 ดร.ชาญวิทย์บอกเล่าสิ่งที่ต่างกันของประวัติศาสตร์ไทยและญี่ปุ่นผ่านการเปรียบเทียบโดยละเอียดการบรรยายครั้งนี้กำกับร่วมโดย ธีระวัฒน์ คาเงะ มุลวิไล (กำกับการแสดง/ เวที), นนทวัฒน์ นำเบญจพล, อนันต์ กรุดเพ็ชร์ (ผู้กำกับร่วม, วิดีโอและภาพเคลื่อนไหว), จารุนันท์ ‘จ๋า’ พันธชาติ (บทการแสดง) และผลิตโดย กฤติยา กาวีวงศ์ | |
วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม, พิพิธภัณฑ์ใหม่เอี่ยม
ดำเนินรายการโดย สิงห์ สุวรรณกิจ
14.00- | [บรรยาย] แผนที่ การไว้ทุกข์ และอนุสาวรีย์ โดย ธนาวิ โชติประดิษฐ ผู้เข้าร่วม 40 คน |
แผนที่สมัยใหม่ของประเทศไทยถูกมองว่าเป็นตัวแทนของ ‘ภูมิกายาของชาติ (geo-body)’ ของราชอาณาจักรไทย โดยการกำหนดอาณาเขตของประเทศแผนที่ทางภูมิศาสตร์มีจุดมุ่งหมายเพื่อแบ่งพื้นที่ทั้งหมดของประเทศซึ่งก่อให้เกิดจินตนาการของชาตินิยมภายใต้การปกครองของพระมหากษัตริย์ไทยในฐานะ ‘ราชอาณาจักร’ การนำเสนอนี้กล่าวถึงบทบาทของแผนที่, การแสดงออกของการไว้ทุกข์และการสร้างอนุสาวรีย์ทั้งในช่วงสงครามเย็นและหลังการสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มันแสดงให้เห็นว่าจินตนาการของชาตินิยมของไทยเปลี่ยนจากแนวคิดของประเทศในฐานะที่เป็นอาณาเขตสู่สิ่งอื่นที่เหนือกว่า | |
15.00- | [บรรยาย]
The 1903 World’s Natives Building and Exposition โดย Masashi Kohara ผู้เข้าร่วม 35 คน |
ตั้งแต่ปี 2420 เป็นต้นมางานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมแห่งชาติจัดขึ้นที่ประเทศญี่ปุ่นเพื่อแนะนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ ของยุโรปและอเมริการวมถึงส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมท้องถิ่นใหม่ ๆ ในปี 2446 บนฉากหลังของการที่ญี่ปุ่นปกครองไต้หวัน งานแสดงสินค้าอุตสาหกรรมแห่งชาติครั้งที่ 5 จัดขึ้นที่โอซาก้าซึ่งเป็นโอกาสสำคัญที่จะแสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของลัทธิจักรวรรดินิยมของญี่ปุ่นต่อผู้คนในประเทศญี่ปุ่นและทั่วโลก โดยการใช้ภาพถ่ายที่ค้นพบใหม่จากนิทรรศการ 2446 การบรรยายครั้งนี้จะให้ข้อสังเกตความเป็นภาพสมัยใหม่ของ ‘ตนเอง’ และ ‘คนอื่น’ ของญี่ปุ่นโดยมุ่งไปที่ Human Pavilion ที่สร้างขึ้นในนิทรรศการของหอมานุษยวิทยา | |
วันจันทร์ที่ 27 มกราคม, พิพิธภัณฑ์ใหม่เอี่ยม
19.00- | [การแสดงการบรรยาย] Name Laundering โดย Irwan Ahmett & Tita Salina ผู้เข้าร่วม 40 คน |
ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการแทรกแซงทางศิลปะและสังคมแบบต่อเนื่องเป็นเวลา 10 ปีของพวกเขาซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงประเด็นทางภูมิรัฐศาสตร์ในวงแหวนแห่งไฟแปซิฟิก การบรรยายครั้งนี้โดย Irwan Ahmett และ Tita Salina ทบทวนความสัมพันธ์ระหว่างอินโดนีเซีย สิงคโปร์ มาเลเซีย และ ไทยในช่องแคบมะละกา หนึ่งในทางน้ำที่สำคัญที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การตอบสนองต่อการควบคุมของรัฐและชายแดนที่เกิดจากลัทธิล่าอาณานิคม ลัทธิชาตินิยม และทุนนิยม พวกเขาเสนอ 8 วิธีในการเจาะเขตแดนของสิงคโปร์โดยไม่ผ่านช่องทางตรวจคนเข้าเมืองอย่างเป็นทางการโดยได้รับแรงบันดาลใจจากประวัติศาสตร์การเดินเรือ การลักลอบค้า การโค่นล้ม และการสาบาน |
|
วันอังคารที่ 28 มกราคม,
The Wandering Moon Theatre & Depsiri Gallery
18.00- | [บรรยาย & งานดื่มสังสรรค์]
Stranger Encounters: Between Ayutthaya and Awamori โดย Yudai Kamisato ผู้เข้าร่วม 35 คน |
โดยการใช้สัญชาติเปรู – ญี่ปุ่นเป็นเข็มทิศนำทางเพื่อสร้างโอกาสในการค้นพบและการวิจัยทั่วอเมริกาใต้ญี่ปุ่นและหมู่เกาะริวกิว ผู้กำกับละคร ยูได คามิซาโตะ รู้สึกหลงใหลไปเรื่องราวของผู้อพยพในดินแดนที่ห่างไกล ในการบรรยายนี้เขาสะท้อนให้เห็นถึงหน้าที่ของ ‘คนแปลกหน้า’ ในการขุดความจริงที่ลึกซึ้งของชุมชนท้องถิ่นและจินตนาการว่าชีวิตจะเป็นอย่างไรหากอยู่ในสถานที่ที่ไม่ใช่ที่ของเขาหรือเธอ
สำหรับกิจกรรมนี้ ยูไดเชิญชวนให้ทุกคนเข้าร่วมดื่ม awamori เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ได้รับความนิยมจากโอกินาวาที่กลั่นมาจากข้าวเจ้าไทยเมล็ดยาว ซึ่งเป็นวิธีการทำที่มีอายุย้อนไปถึงสมัยอยุธยาศตวรรษที่ 15 ที่เชียงใหม่เขาต้องการพบปะผู้คนที่มีความสนใจในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมแอลกอฮอล์นี้ การเข้าร่วมกิจกรรมนี้คุณต้องนำเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ในท้องถิ่น (ที่ไม่ใช่เบียร์) เช่น สุราขาว เหล้าขาว ยาดอง และอื่นๆ |
|
20:00- | [การแสดงการบรรยาย] โลกแห่งเงา โดย มณฑาทิพย์ สุขโสภา ผู้เข้าร่วม 30 คน |
ในการแสดงการบรรยายที่ไม่เหมือนใครนี้ มณฑาทิพย์ สุขโสภา ผู้เชิดหุ่นเงาร่วมสมัยจากเชียงใหม่ สะท้อนเรื่องราวการเดินทางด้านศิลปะของเธอ เธอจะแบ่งปันภาพ ความทรงจำ และเรื่องราวจากอาชีพของเธอโดยใช้หุ่นกระบอกตัวเก่าและใหม่ ไฟที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง และสิ่งของมากมายที่เก็บในสตูดิโอของเธอ ด้วยการเปิดบ้านและพื้นที่ทำงานของเธอ ทิพย์จะเชิญผู้ชมให้ข้ามจากโลกทางกายภาพไปสู่โลกแห่งเงาและวิญญาณ | |
วันพุธที่ 29 มกราคม, พิพิธภัณฑ์ใหม่เอี่ยม
19.00- | [การแสดงการบรรยาย] Asia the Unmiraculous โดย Ho Rui An ผู้เข้าร่วม 45 คน |
หลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในภูมิภาคเอเชียเมื่อปี 2540 Asia the Unmiraculous ได้วิเคราะห์เรื่องการข้ามชาติปาฏิหาริย์ วิกฤต และการฟื้นตัวในเอเชีย หลังจากที่ได้ทำการวิจัยในประเทศไทย มาเลเซีย เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น Ho Rui An ได้ตามรอยการเกิดขึ้น การส่งผ่าน และการไหลเวียนของอนาคตทางเศรษฐกิจของเอเชียในวัฒนธรรมสมัยนิยมและกระแสของสื่อเจาะลึกความต้องการจากภายนอกและภายในของรัฐผ่านปรากฎซ้ำตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาของ ‘น้ำมือมนุษย์’ | |
วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม, พิพิธภัณฑ์ใหม่เอี่ยม
19.00- | [บรรยาย] The Critical Dictionary of Southeast Asia โดย Ho Tzu Nyen ผู้เข้าร่วม 42 คน |
The Critical Dictionary of Southeast Asia (CDOSEA) เริ่มต้นจากคำถาม: อะไรคือเอกภาพของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภูมิภาคที่ไม่เคยรวมเป็นหนึ่งเดียวกันด้านภาษา ศาสนา หรืออ านาจทางการเมือง? CDOSEA จะนำเสนอ 26 คำศัพท์- หนึ่งคำศัพท์สำหรับแต่ละตัวอักษรภาษาอังกฤษ/ละติน แต่ละคำศัพท์เป็นแนวคิด บรรทัดฐานหรือชีวประวัติและพวกคำศัพท์เหล่านั้นรวมกันเป็นเกลียวด้ายที่ถักทอเป็นพรมที่ถูกฉีกขาดรุ่งริ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ CDOSEA เป็นแพลตฟอร์มที่ส่งเสริมอำนวยความสะดวกการวิจัยอย่างต่อเนื่องอันเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการสร้างโครงการในอนาคตและเครื่องมือในการสานต่อสู่โครงการต่างๆ | |
วันเสาร์ที่ 1 มกราคม, Araya Hall พิพิธภัณฑ์บ้านจิม ทอมป์สัน
19.00- | [ประชุมสัมมนา]
Between Geo-Bodies and the Unforgetting โดย ธงชัย วินิจจะกูล, Irwan Ahmett, Tita Salina, Kumiko Idaka และ Mark The ผู้เข้าร่วม 120 คน |
เพื่อเป็นบทสรุปของโครงการ The Breathing of Maps ซึ่งเคยจัดมาแล้วที่ยามากุจิและโตเกียวในประเทศญี่ปุ่น และที่เชียงใหม่เป็นการประชุมสัมมนาครั้งนี้สะท้อนภาพรวมโดยภัณฑารักษ์ Kumiko Idaka และ Mark Teh และบรรยายเกี่ยวกับแผนที่ อำนาจ และภูมิกายาโดยนักประวัติศาสตร์ที่มีชื่อเสียง ธงชัย วินิจจะกูล – ผู้เขียนหนังสือ กำเนิดสยามจากแผนที่: ประวัติศาสตร์ภูมิกายาของชาติ (2537) ซึ่งเป็นเข็มทิศหลักของโครงการนี้ควบคู่ไปกับนักคติชนวิทยาชาวญี่ปุ่น Tsuneichi Miyamoto’s (2450-2524) เจ้าของผลงาน The Forgotten Japanese: Encounters with Rural Life and Folklore (2553)
ในบทสุดท้ายของการประชุมสัมมนาครั้งนี้ ธงชัย, Kumiko และ Mark ร่วมด้วยศิลปินจากจาการ์ตา Irwan Ahmett และ Tita Salina ร่วมมาหารือเกี่ยวกับความบอบช้ำและอึดอัดของประวัติศาสตร์ในอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น มาเลเซีย และไทย และความสัมพันธ์ของ ‘ความไม่ลืม’ ซึ่งคำว่า ‘ความไม่ลืม’ นั้นคือคำของธงชัยในหนังสือเล่มใหม่ดังที่กล่าวว่า – ความไร้ความสามารถที่จะจำหรือลืมได้ การถูกระงับในสถานะที่จำกัดนี้เป็นประสบการณ์ที่จะต้องเก็บไว้หรือปิดบังเพราะพวกเขาไม่ได้เชื่อมโยงกับความทรงจำที่มีความหมายทางสังคมที่ชัดเจนภายใต้ระบอบการปกครองของความจริงที่มีอยู่ |
|
ร่วมจัดโดย | |