Virtual Workings: An e-residency for arts curators from the ASEAN region and Japan

 [ เปิดรับสมัคร ]  

Virtual Workings:

An e-residency for arts curators from the ASEAN region and Japan 

  ข้อมูล: https://culture360.asef.org/opportunities/virtual-workings-e-residency-arts-curators-open-call/   เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ และ Asia-Europe Foundation (ASEF) ผ่านทางเว็บไซต์ด้านศิลปะ culture360.ASEF.org มีความยินดีที่จะเปิดรับสมัครการทำงานเสมือน (Virtual Workings) ซึ่งเป็นโครงการพำนักออนไลน์ (e-residency) สำหรับภัณฑารักษ์ศิลปะจากภูมิภาคอาเซียนและญี่ปุ่นและจัดขึ้นเพื่อตอบสนองผลกระทบของการระบาดของ โควิด-19 ทั่ว โครงการพำนักทางออนไลน์นี้จะจัดขึ้นเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์เพื่อสร้างโอกาสในการใช้ความสามารถด้านภัณฑารักษ์ในทำงานร่วมกัน โดยจะได้รับการสนับสนุนและคำแนะนำจากภัณฑารักษ์ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาที่จะทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้แต่ละคู่ของผู้เข้าร่วม   เกี่ยวกับโครงการพำนักออนไลน์ ข้อมูล ภัณฑารักษ์ที่ถูกคัดเลือกจะทำงานเป็นคู่ แต่ละคู่จะมีที่ปรึกษาที่มอบหมายให้และจะต้องทำงานร่วมกันทางออนไลน์เป็นเวลา 6 สัปดาห์ (16 พฤศจิกายน – 22 ธันวาคม 2020)   ผู้สมัครสามารถสมัครเป็นคู่ หรือ เดี่ยว สำหรับผู้ที่สมัครคนเดียว การจับคู่จะดำเนินการโดยผู้จัดงานแต่ละคู่จะทำงานร่วมกับที่ปรึกษาที่ได้รับมอบหมายในหัวข้อที่ระบุไว้ จะมี 3 หัวข้อกว่างๆที่เสนอโดยที่ปรึกษาไว้แล้วและผู้สมัครจะต้องระบุตามลำดับความสนใจว่าต้องการทำงานในหัวข้อใด ข้อมูลนี้จะถูกนำมาพิจารณาในการคัลเลือกและจับคู่ จากนั้นแต่ละคู่จะต้องเสนอหัวข้อเจาะจงจากหัวข้อกว่างๆนั้นแล้วพัฒนาต่อโดยมีการสนับสนุนจากภัณฑารักษ์ที่ปรึกษา   แต่ละคู่จะผลิตผลงานสุดท้ายออกมา ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบของการนำเสนอออนไลน์ สารคดีภาพถ่าย พอดคาสต์ วิดีโอสารคดี การนำเสนอโปรเจ็กต์จำลองทางออนไลน์ และ/หรือ อื่น ๆ ผลงานสุดท้ายจะถูกเผยแพร่บน culture360.ASEF.org และช่องทางโซเชียลมีเดียขององค์กรที่สนับสนุน   เมื่อสิ้นสุดโครงการ แต่ละคู่จะต้องร่วมในการสัมภาษณ์พอดคาสต์หรือวิดีโอเกี่ยวกับกระบวนการทำงานร่วมกันซึ่งจะเป็นการแบ่งปันประสบการณ์และเป็นประโยชน์สู่สาธารณะ   ค่าสนับสนุน: ผู้เข้าร่วมแต่ละคนจะได้รับ 500 เหรียญสหรัฐ เพื่อใช้ในการทำงานในโครงการนี้   ที่ปรึกษาและหัวข้อ:   3 ภัณฑารักษ์ที่ปรึกษา คุณ ลักขณา คุณาวิชยานนท์ (ไทย) ที่ปรึกษาด้านศิลปะ & ภัณฑารักษ์อิสระ และ อดีตผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร (BACC)   Ms TAKAHASHI Mizuki (ญี่ปุ่น / ฮ่องกง) กรรมการบริหาร และ หัวหน้าภัณฑารักษ์ Centre for Heritage, Arts and Textile ฮ่องกง   Prof Amareswar GALLA (ออสเตรเลีย อินเดีย) ผู้อำนวยการ International Institute for the Inclusive Museum, Australia และ Anant National University, อินเดีย   3 หัวข้อ ประกอบด้วย Resilience (ความยืดหยุ่น) ความยืดหยุ่น (Resilience) คือความสามารถในการปรับตัวเมื่อเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันไม่ว่าจะเป็นปัญหาเร่งด่วนในระยะยาวตลอดจนถึงความท้าทายใหม่ ๆ ไม่เคยมีมาก่อนในศตวรรษที่ 21 ที่มนุษยชาติจะได้ประจักษ์ถึงการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งทางสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงมากขึ้น การถดถอยของสิ่งแวดล้อมและเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้อง การอพยพไหลบ่าเข้ามา หรือ แม้แต่การระบาดใหญ่ของ COVID-19 ในตอนนี้ซึ่งทำให้เราเสี่ยงต่ออนาคตที่ไม่แน่นอน ในเวลานี้ความยืดหยุ่นจำเป็นสำหรับเราอย่างแท้จริง ความยืดหยุ่นถือได้ว่าเป็นหนึ่งในทักษะการเอาตัวรอดขั้นพื้นฐานในโลกสมัยใหม่และเป็นเรื่องที่น่าสนใจหากจะมีการอภิปรายและสำรวจเกี่ยวกับความยืดหยุ่นและประโยชน์ของมันในการพัฒนาชีวิตในยุคใหม่ที่ท้าทายใน โครงการพำนักออนไลน์นี้ ศิลปินและโลกศิลปะจะสะท้อนและปรับตัวให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วนี้อย่างไรโดยให้มีความตึงเครียดน้อยที่สุด การรับรู้ตนเอง และ ความสัมพันธ์เชิงบวก และ จุดประสงค์   Locating First Voice/s of People/s: Curating Inclusion and Diversity (กำหนดหาต้นเสียงของประชาชน: กำกับดูแลความครอบคลุมและความหลากหลาย) วาทกรรมของการกำกับงานศิลปะในฐานะเป็นกระบวนการที่นิยามประสบการณ์ทางวัฒนธรรมร่วมสมัย ทำให้เห็นว่าภัณฑารักษ์เป็นผู้ที่ทำให้กระบวนการง่ายขึ้นไม่ว่าจะในฐานะผู้สามารถทำให้เกิดขึ้นจริง ผู้ไกล่เกลี่ยหรือแม้แต่ผู้จัดการ พวกเขามีความรับผิดชอบทางจริยธรรมที่สำคัญในการกำหนดกรอบการเป็นตัวแทนผ่านมุมมองการจัดการดูแลรวมถึงบริบทต่างๆ  ในการร่วมทำงานของภัณฑารักษ์เป็นคู่ระหว่างสองภูมิภาคที่มีวัฒนธรรมที่ลึกซึ้งของเอเชีย – ญี่ปุ่นและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงเกิดคำถามเช่น ภัณฑารักษ์จะจัดการกับการเจรจาข้ามพรมแดนทางวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายเช่น เชื้อชาติ เพศ สีผิว อายุ ความสามารถในรูปแบบต่างๆ ฐานะทางเศรษฐกิจ ความศรัทธาและอื่น ๆ ได้อย่างไร และเกี่ยวข้องกับการทับซ้อนของพรมแดนอย่างไร ในการทำเช่นนี้ พวกเขาจะรวมและประคับประคอง ‘ต้นเสียง’ ของผู้มีส่วนร่วมหลักในฐานะผู้มีสิทธิได้อย่างไร พวกเขาเอาชนะการเป็นตัวแทนของผู้มีอำนาจและกลายเป็นผู้ฟัง / ผู้ดำเนินการ / ผู้อำนวยความสะดวกได้อย่างไร   Interweave Asian textile(s) with contemporary urgencies (สานสัมพันธ์สิ่งทออาเซียนด้วยความเร่งด่วนร่วมสมัย) สิ่งทอเป็นหนึ่งในรูปแบบศิลปะที่เก่าแก่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษย์และเป็นวัสดุที่คุ้นเคยมากที่สุดในชีวิตประจำวันของเรา ประเทศในเอเชียมีประเพณีและประวัติศาสตร์ของสิ่งทอที่หลากหลายและสิ่งทอเหล่านั้นเล่าถึงวัฒนธรรมที่โดดเด่นและความงามของแต่ละภูมิภาค ดังนั้นจึงมีความเชื่อมโยงอย่างแน่นแฟ้นกับอัตลักษณ์ในท้องถิ่น ในทางกลับกันสิ่งทอเป็นผลิตภัณฑ์ระดับโลกก่อนยุคโลกาภิวัตน์ รูปแบบและเทคนิคสิ่งทอได้รับการถ่ายทอดจากภูมิภาคสู่ภูมิภาคและมีการถ่ายทอดผ่านการซื้อขายและแลกเปลี่ยน ในการผลิตสิ่งทอสมัยใหม่เราสามารถเห็นปัญหาเช่นการใช้ทาสในการทำไร่ฝ้ายและการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากเทคนิคสิ่งทอที่เกิดขึ้นจากอาณานิคมอุตสาหกรรมสิ่งทอในปัจจุบันมักคุกคามการผลิตสิ่งทอแบบดั้งเดิมในชุมชนท้องถิ่นและการผลิตจำนวนมากทำให้เกิดขยะจากสิ่งทอ ในอุตสาหกรรมสิ่งทอที่มีการแข่งขันสูงคนงานหญิงจำนวนมากทำงานในธุรกิจนี้โดยมีค่าจ้างที่ต่ำ สิ่งทอไม่ใช่วัสดุที่สวยงามสำหรับผลิตภัณฑ์ต่างๆเท่านั้น แต่เป็นอาหารทางปัญญาสำหรับเหตุการณ์ร่วมสมัยต่างๆที่เราเผชิญ   สำหรับการอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อนี้ให้ไปที่ลิงค์นี้: https://www.mill6chat.org/event/unfolding-fabric-of-our-life/   คุณสมบัติ
  • มีสัญชาติของประเทศสมาชิกอาเซียนหรือญี่ปุ่น
  • ภัณฑารักษ์ที่มีประสบการณ์การทำงาน 2-5 ปีในพิพิธภัณฑ์ สถาบันวัฒนธรรม พื้นที่จัดแสดงนิทรรศการ หรือภัณฑารักษ์อิสระ
  • พูดและเขียนภาษาอังกฤษได้ดีเยี่ยม (การสื่อสารทั้งหมดจะเป็นภาษาอังกฤษ)
  • ผู้สมัครสามารถสมัครเป็นคู่หรือเดี่ยวได้ ในกรณีของการสมัครเป็นคู่สมาชิกแต่ละคนจะต้องมีสัญชาติที่แตกต่างกันภายในอาเซียนและญี่ปุ่น สำหรับผู้ที่สมัครคนเดียวผู้จัดจะจับคู่ผู้สมัครตามหัวข้อที่ต้องการและความสนใจที่ระบุ
  • เป็นโอกาสดีสำหรับผู้สมัครที่ไม่เคยเข้าร่วม หรือ ทำงานในโครงการระหว่างประเทศอย่างยิ่ง (ดูคำถามที่เกี่ยวข้องในแบบฟอร์มใบสมัคร)
  • เป็นโอกาสดีสำหรับผู้สมัครที่พลาดโอกาสอื่นๆ อันเป็นผลมาจากการระบาดของ โควิด-19 (ดูคำถามที่เกี่ยวข้องในแบบฟอร์มใบสมัคร)
  ข้อกำหนด
  • ต้องมีส่วนร่วมในโครงการและทำงานร่วมกับคู่ภัณฑารักษ์และภัณฑารักษ์ที่ปรึกษาเป็นเวลา 6 สัปดาห์ โปรดทราบว่าสำหรับผู้สมัครที่สมัครเขามาคนเดียว ผู้จัดจะจับคู่ให้ตามหัวข้อและความสนใจที่ระบุไว้ในแบบฟอร์มใบสมัคร
  • ส่งข้อมูลอัปเดตรายสัปดาห์เกี่ยวกับความคืบหน้าของงานผ่านคลิปวิดีโอหรือโซเชียลมีเดียผ่านทางหน้าอินสตาแกรม culture360
  • เตรียมผลงานจบโครงการในรูปแบบของการนำเสนอออนไลน์ สารคดีภาพถ่าย พอดคาสต์ วิดีโอสารคดี การนำเสนอโครงการจำลองทางออนไลน์ และอื่น ๆ ซึ่งจะเผยแพร่บน ASEF.org และช่องทางโซเชียลมีเดีย
  • มีส่วนร่วมในการสัมภาษณ์พอดคาสต์หรือวิดีโอเพื่อเป็นการแบ่งปันความรู้ที่ได้จากโครงการนี้เพื่อเป็นการแบ่งปันประสบการณ์และเป็นประโยชน์สู่สาธารณะและกลุ่มศิลปะ
  การยื่นส่งใบสมัคร กรุณาส่งใบสมัครผ่านแบบฟอร์มนี้และแนบเอกสารที่จำเป็นภายในวันที่ 30 ตุลาคม 2020 https://asiaeuropefoundation.formstack.com/forms/virtual_workings_application_form   ผู้คัดเลือก คณะกรรมการจะประกอบด้วยตัวแทน 1 คนจาก เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ ตัวแทน 1 คนจาก ASEF และภัณฑารักษ์ที่ปรึกษา 3 คนจะประเมินและคัดเลือกผู้เข้าร่วม โปรดทราบว่าเฉพาะผู้สมัครที่ผ่านการคัดเลือกเท่านั้นที่จะได้รับการติดต่อกลับภายในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2020   ตารางโครงการ
 เปิดรับสมัคร  1 ถึง 30 ตุลาคม 2563
 คัดเลือก  1-6 พฤศจิกายน 2563
 ประกาศรายชื่อผู้ได้การรับเลือก  9 พฤศจิกายน 2563
 เริ่มโครงการ e-residency  16 พฤศจิกายนถึง 22 ธันวาคม 2020
 นำเสนอผลงานและกิจกรรมออนไลน์  ในเดือนมกราคม และ กุมภาพันธ์ 2021
  เกี่ยวกับผู้จัด เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่อุทิศเพื่อดำเนินโครงการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมระหว่างประเทศที่ครอบคลุมทั่วโลก เพื่อปลูกฝังมิตรภาพและความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นและทั่วโลก เจแปนฟาวน์เดชั่น ได้สร้างโอกาสในนานาชาติในการเสริมสร้างมิตรภาพ ความไว้วางใจ และความเข้าใจซึ่งกันและกันผ่านทางวัฒนธรรม ภาษา และบทสนทนา   เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ เริ่มดำเนินการในปี พ.ศ. 2517 โดยดำเนินกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่หลากหลายด้านศิลปะ วัฒนธรรม และสังคมอย่างกระตือรือร้นและประสานงานโครงการต่างๆที่สนับสนุนการศึกษาภาษาญี่ปุ่น และญี่ปุ่นศึกษาโดยร่วมมือกับพันธมิตรชาวไทย ASEF ส่งเสริมความเข้าใจ กระชับความสัมพันธ์ และอำนวยความสะดวกในความร่วมมือระหว่างผู้คน สถาบัน และองค์กรต่างๆในเอเชียและยุโรป   culture360.ASEF.org เป็นแพลตฟอร์มออนไลน์ที่บริหารจัดการโดย ASEF ตั้งแต่ปี 2008 โดยมีผู้เข้าชมมากกว่า 280,000 คนต่อปีและนำเสนอข้อมูลที่ทันสมัยเกี่ยวกับศิลปะ วัฒนธรรม และมรดกจาก 51 ประเทศในเอเชียและยุโรป ได้รับทุนสนับสนุนจากการ Asia-Europe Meeting (ASEM)  โดย culture360.ASEF.org มีไว้สำหรับศิลปิน ผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรม ผู้กำหนดนโยบาย และผู้ที่สนใจในความร่วมมือทางวัฒนธรรมระหว่างประเทศ   สนับสนุนโดย     Centre for Heritage, Arts and Textile (CHAT) CHAT (Centre for Heritage, Arts and Textile) เป็นส่วนหนึ่งของโครงการอนุรักษ์มรดกของ The Mills ซึ่งอดีตเป็นโรงงานปั่นด้ายฝ้ายของ Nan Fung Textiles ใน Tsuen Wan ผ่านการจัดโปรแกรมที่ได้รับการออกแบบในหลายๆแง่มุม ซึ่งรวมถึงการจัดนิทรรศการและโปรแกรมการเรียนรู้ร่วมกัน CHAT มีเป้าหมายที่จะเป็นศูนย์กลางศิลปะที่รวบรวมประสบการณ์สร้างสรรค์สำหรับทุกคน   ข้อมูลเพิ่มเติม: https://mill6chat.org   Inclusive Museum International Center for Inclusive Cultural Leadership (ICICL) เป็นเครือข่ายการคิดเชิงปฏิบัติการและการวิจัยระดับโลกแบบสหวิทยาการที่จัดตั้งขึ้นภายใน Anant National University เมืองอาห์มาดาบัด ในอินเดีย ICICL มุ่งเน้นการรวมตัว ความเป็นผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ และการพัฒนามรดกที่ยั่งยืนทุกรูปแบบซึ่งมีพื้นฐานมาจาก ‘SDGs’ ‘UN 2030 Agenda’ และ ‘HABITAT III’ ICICL ทำงานเป็นเครือข่ายที่ให้   คำปรึกษาและเสริมสร้างขีดความสามารถ และ ICICLรวบรวมการวิจัย ผู้เชี่ยวชาญ และทุนชุมชนของ International Institute for the Inclusive Museum ที่ Anant University   ข้อมูลเพิ่มเติม: https://inclusivemuseums.org/