พลังสร้างสรรค์สามัคคีท่ามกลางระยะห่างทางสังคม: การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมในชีวิตวิถีใหม่
ใต้แดน – แดนใต้ : เทศกาลภาพยนตร์สัมพันธ์
ระว่างโอกินาวาและสามจังหวัดชายแดนใต้
รายละเอียดการจัดงานโดยย่อ
[วันที่] | 7- 13 กันยายน 2020 |
[สถานที่] | ออนไลน์ สามารถชมภาพยนตร์ผ่าน URL หลังจากลงทะเบียนแล้ว งานเสวนาสามารถชมถ่ายทอดสดออนไลน์ผ่านเฟสบุ๊คเพจของ the Japan Foundation, Bangkok และ Documentary Club |
[ตั๋ว] | ชมฟรี |
[ภาษา] | ภาษาไทย / ภาษาอังกฤษ / ภาษาญี่ปุ่น ภาพยนตร์ไทยมีซับไตเติ้ลภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น และภาพยนตร์ญี่ปุ่นมีซับไตเติ้ลภาษาไทยและภาษาอังกฤษ |
[จำนวนผู้ร่วมชม] | ลงทะเบียนออนไลน์ 1,007 คน เสวนาเปิดงาน 90 คน (ข้อมูลจากเฟสบุ๊คไลฟ์สด) ชมโปรแกรม 1-7 2,445 คน (บันทึกจาก vimeo) เสวนาผู้กำกับ 70 คน (ข้อมูลจากเฟสบุ๊คไลฟ์สด) |
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ เปิดรับสมัครโครงการเพื่อเปิดรับความคิดและแนวคิดใหม่ๆว่าเราจะสามารถดำเนินการ/ทดลองโครงการการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมท่ามกลางสถานการณ์โควิด 19 ได้อย่างไร ด้วยเหตุนี้ เราจึงเริ่มโครงการใหม่ที่ชื่อว่า “พลังสร้างสรรค์สามัคคีแม้ต้องมีระยะห่างทางสังคม : การแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมในชีวิตวิถีใหม่” ในเดือนพฤษภาคม 2020
โครงการ “ใต้แดน – แดนใต้: เทศกาลภาพยนตร์สัมพันธ์ระหว่างโอกินาวาและสามจังหวัดชายแดนใต้” เสนอโดย Documentary Club ซึ่งเป็นองค์กรที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมภาพยนตร์สารคดีในประเทศไทย ร่วมกับ Deep South Young Filmmakers Project เวิร์กชอปภาพยนตร์ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้กำลังใจและฝึกฝนเยาวชนที่อยู่ในจังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทยในการแสดงความคิดเห็นและจินตนาการผ่านเรื่องสั้น เช่นเดียวกับโครงการศิลปะในช่วงโควิด 19 โดยคณะศิลปะโลก มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งโตเกียว
สามจังหวัดชายแดนใต้ของประเทศไทยประกอบด้วย จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลาและจังหวัดนราธิวาสโดยตั้งอยู่พื้นที่ติดต่อกับชายแดนประเทศมาเลเซีย ประชากรมากกว่า 80% ในบริเวณนี้คือชาวมุสลิมในขณะที่ 94 % ของประชากรทั้งประเทศไทยคือชาวพุทธ อาณาบริเวณนี้เคยปกครองโดยราชวงศ์มาลายูภายใต้อาณาจักรปัตตานีในช่วงศตวรรษที่ 14 -19 ปัจจัยดังกล่าวจึงทำให้พื้นที่บริเวณนี้มีความเป็นเอกลักษณ์ที่เราสามารถเห็นอิทธิพลของวัฒนธรรมมาลายู อย่างไรก็ตาม เมื่อมองผ่านภูมิหลังทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม จะเห็นความพยายามต่อต้านที่ใช้ความรุนแรงหลายครั้งโดยกลุ่มสุดโต่งบางกลุ่มที่ต้องการเรียกร้องอธิปไตย ด้วยเหตุนี้ กระทรวงการต่างประเทศของญี่ปุ่นจึงจัดระดับเตือนภัยด้านความมั่นคงอยู่ในระดับ 3 และจำกัดการเดินทางไปในพื้นที่นี้
โอกินาวา เป็น หนึ่งใน 47 จังหวัดของญี่ปุ่นที่ประกอบไปด้วย 160 เกาะ และตั้งอยู่ที่บริเวณใต้สุดและตะวันออกสุดของอาณาบริเวณของประเทศญี่ปุ่น โอกินาวาถูกยึดครองโดยสหรัฐอเมริกาเป็นเวลา 27 ปีหลังสงครามโลกครั้งที่สองจนกระทั่งกลับคืนสู่อ้อมอกญี่ปุ่นในปี 1972 พื้นที่ของโอกินาวาคิดเป็น 0.6% ของพื้นที่ประเทศญี่ปุ่นทั้งหมด แต่ฐานทัพของสหรัฐอเมริกาตั้งอยู่บริเวณนี้ประมาณ 70 % ประเด็นเรื่องการคงอยู่ของฐานทัพญี่ปุ่นในโอกินาวาเป็นที่ถกเถียงอย่างมาก เมื่อมองย้อนไปในประวัติศาสตร์ บริเวณนี้เคยเป็นอาณาจักรเอกเทศที่เรียกว่าอาณาจักรริวกิวมามากกว่า 450 ปี ตั้งแต่ 1879 -1929 และวัฒนธรรมจะมีลักษณะเฉพาะโดยมีอิทธิพลของญี่ปุ่นและจีน เนื่องจากพื้นเพทางประวัติศาสตร์ดังกล่าวจะมีความแตกต่างมากจากเกาะใหญ่ญี่ปุ่นทั้งสี่เกาะในเรื่องของวัฒนธรรม ประเพณี ภาษาถิ่น อุตสาหกรรม องค์ประกอบของประชากรแบะความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้
“ชายแดนใต้” เป็นคำสำคัญที่เชื่อมโยงจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทยและโอกินาวา เมื่อมองผ่านโครงการ ใต้แดน – แดนใต้ : เทศกาลภาพยนตร์สัมพันธ์ระหว่างโอกินาวาและสามจังหวัดชายแดนใต้ เราจึงอยากแนะนำภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องกับทั้งสองพื้นที่และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างคนทำภาพยนตร์ทางออนไลน์ “ชายแดนใต้” ทั้งสองพื้นที่มีความเชื่อมโยงซึ่งกันและกันผ่านการค้าทางทะเลในอดีตเมื่อทั้งสองพื้นที่ยังเป็นเอกราช เทศกาลภาพยนตร์ออนไลน์นี้จึงอยากสร้างพื้นที่เพื่อไตร่ตรองความเหมือนและความต่างระหว่างสองภูมิภาคและแสวงหาความเชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องใหม่ๆ
โปรแกรม
โปรแกรม 1 | Endless Past คาวะดะ จุน (72 นาที/2016) |
โปรแกรม 2 | Making a Perfect Donut Kyun-Chome (95 นาที/2018) |
โปรแกรม 3 | The Catcher on the Shore*** นาคามุระ ริวโกะ (84 นาที/2010) ***ไม่มีซับไตเติ้ลภาษาไทย Girls of the Sea นาคามุระ ริวโกะ (93 นาที/2016) |
โปรแกรม 4 | Boundaries ฟุกุชิ ริโกะ (20 นาที/2019) Clear ฟุกุชิ ริโกะ (44 นาที/2015) |
โปรแกรม 5 | I’m Not Your F***ing Stereotype ฮีซัมร์ เจ๊ะมามะ (29 นาที/2019) Neverland สมัคร์ กอเซ็ม นราสิทธิ์ เกศาประสิทธิ์ อนุวัฒน์ อภิมุขมงคล (13 นาที/2017) ฉันจึงมาหา พันธวิศย์ เทพจันทร์ (25 นาที/2018) โซ-ขิ่น เชวง ไชยวรรณ (18 นาที/2018) อาผ่อ ไพสิฐ หวังรังสีสถิตย์ (21 นาที/2017) |
โปรแกรม 6 | ชีวิตในโลกใบเดียวกัน ทีมยังยิ้ม (17 นาที/2019) หวานเย็น ทีม TL Production(17 นาที/2019) เรียนรู้ เพื่อรักเธอ ทีม นายู ราม่า(20 นาที/2019) ฮาลีมกับเฟิร์น ทีม ศุกร์ เศร้า อาทิตย์ (12 นาที/2019) มือลาฆู ทีมแบเวาะฟิล์ม (12 นาที/2019) |
โปรแกรม 7 | กะโผ๊ะ ทีม Smart End Game(13 นาที/2019) The Ghost’s View ทีมเด็กฟิล์ม (17 นาที/2019) เด็กปอเนาะ ทีมทานตะวันเจ้า (16 นาที/2019) End Game ทีม Wesion(12 นาที/2019) หยุดตรวจ ทีมทำหนังเสร็จแล้วลุงยังอยู่มั้ย(14 นาที/2019) |
ภาพยนตร์แนะนำ
นาคามุระ ริวโก เกิดที่โอกินาวาในปี 1996 และเริ่มปรากฏตัวครั้งแรกในฐานะผุ้กำกับที่อายุน้อยที่สุดในประเทศญี่ปุ่นเมื่ออายุ 13 ปี ด้วยผลงาน “The Catcher on the Shore” เขาทำภาพยนตร์ตั้งแต่อยู่ชั้นประถมและผลิตหนังสั้นและยาวมากกว่า 30 เรื่อง ภาพยนตร์ของเขาที่ฉายคือ เรื่อง “The Catcher on the Shore” และ เรื่อง “Girl of the Sea”“Making a Perfect Donut” เป็นผลงานวีดีโอเกี่ยวกับประเด็นฐานทัพอเมริกาในโอกินาวาโดย Kyun-Chom กลุ่มศิลปะร่วมสมัย โครงการนี้เริ่มตั้งคำถามว่า “ถ้าเราจับรวมโดนัทอเมริกันที่มีรูตรงกลางและโดนัทโอกินาวาทรงกลมเข้าด้วยกัน มันจะเป็นโดนัทที่ไม่มีรูโดยสมบูรณ์” และเป็นภาพยนตร์สารคดี ภาพยนตร์ไทย 15 เรื่องที่นำเสนอ ประกอบด้วย 5 เรื่องจาก Documentary Club และ 10 เรื่องจากโครงการ Deep South Young Filmmaker Project โครงการนี้ริเริ่มโดยคุณพิมพกา โตวิระ ผู้กำกับหญิงผู้บุกเบิกของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กำลังใจและฝึกฝนเยาวชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ในการแสดงความคิดเห็นและจินตนาการผ่านหนังสั้น “ฉันจึงมาหา” ผลงานของพันธวิศย์ เทพจันทร์ เป็นภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับผู้ต้องสงสัยการวางระเบิดที่บิ๊กซี ปัตตานีในปี 2017 เปายี ตาสะเมาะถูกสงสัยว่าเป็นผู้ก่อเหตุระเบิดและต่อมาได้ถูกยิงโดยเจ้าหน้าที่ทหารระหว่างการสอบสวนในที่เกิดเหตุ นักข่าวรุ่นเยาว์สัมภาษณ์ครอบครัวผู้ต้องสงสัยเพื่อค้นหาความจริง
“หยุดตรวจ” ผลงานทีมทำหนังเสร็จแล้วลุงยังอยู่ไหมหยิบยกเรื่องราวที่เกี่ยวกับบูดู (น้ำหมักปลาที่เป็นที่นิยมที่ภาคใต้) วันหนึ่งชายปริศนาโทรสั่งน้ำบูดูจากร้านบูดูที่พี่ชายและน้องสาวผู้ประสบปัญหาการเงินดูแลอยู่ พวกเขาตัดสินใจจัดส่งน้ำบูดูให้กับชายคนนี้แต่สิ่งที่ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้นกับพวกเขา
“I’m Not Your F***ing Stereotype” เป็นเรื่องราวการเยียวยาตัวเองของ ฮีซัมร์ เจ๊ะมามะ ที่มาจากประสบการณ์การถูกเป็นเป้าของความกลัวอิสลาม เด็กมุสลิมหญิงนามว่ามาเรียมย้ายมาจากจังหวัดชายแดนภาคใต้มาอยู่ที่กรุงเทพฯเผชิญกับอคติและการรังแกมุสลิม จังหวัดชายแดนภาคใต้มักเข้าใจว่าเกี่ยวข้องกับกลุ่มสุดโต่ง ผู้ก่อการร้ายและเหตุการณ์ลอบวางระเบิด แต่ในภาพยนตร์เรื่องนี้ ท่านจะเพลิดเพลินกับฉากต่างๆที่สวยงามของพื้นที่และจะประทับใจในเรื่องราวของมิตรภาพ ความรัก ความเคารพและความโหยหาอดีตที่สื่อผ่านภาพยนตร์เรื่องนี้ว่าเป็นสิ่งสากลโดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของชาติพันธุ์และศาสนา
งานเสวนา * มีล่ามแปลไทยและญี่ปุ่น
1. งานเสวนาเปิดงาน “มองชายแดนใต้ใหม่: เปลี่ยนความขัดแย้งเป็นการแลกเปลี่ยนที่สร้างสรรค์ (Towards New Deep South: Turning Adversities into Creative Exchange)
วันจันทร์ที่ 7 กันยายน 2020 19.00 –22.10 น. (3 ชั่วโมง 10 นาที)
Link: https://youtu.be/2jMnqhDM7bA
งานเสวนาเปิดงานนี้ช่วยให้ผู้ฟังเข้าใจแนวคิดเรื่องแนวคิด “ชายแดนใต้”ว่าเชื่อมโยงโอกินาวาและชายแดนใต้ของไทยอย่างไรและเข้าใจโครงการได้อย่างลุ่มลึกมากขึ้น เราได้เชิญผู้เชี่ยวชาญสองท่านมาพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและสถานการณ์ปัจจุบันในพื้นที่เหล่านี้
ผู้เสวนา: | ศ.ดร. ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศ. วาคาบายาชิ ชิโย มหาวิทยาลัยโอกินาวา |
ผู้ดำเนินรายการ: | วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา (ผู้จัดงาน / Documentary Club) อิฮาราดะ ฮารุกะ (ภัณฑารักษ์ / ผู้ช่วยวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งโตเกียว) |
2. งานเสวนาผู้กำกับ
วันอาทิตย์ที่ 13 กันยายน 2020 19.00 -22.04 น. (3 ชั่วโมง 4 นาที)
Link: https://youtu.be/Yph6iiqReCo
ผู้กำกับภาพยนตร์จากประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่นเข้าร่วมเสวนาเกี่ยวกับภาพยนตร์ที่กำกับและความคิดเกี่ยวกับ “ชายแดนใต้” เพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองต่างๆ ผู้ชมสามารถถามคำถามได้ผ่านการถ่ายทอดสด
ผู้เสวนา: (ประเทศไทย) | พิมพกา โตวิระ (โครงการ Deep South Young Filmmakers Project / ผู้กำกับ) ไพสิฐ หวังรังสีสถิตย์ (ผู้กำกับ “อาผ่อ”) อามีณา อาเล (ผู้กำกับ “End Game”) มูหามะชุเบร์ เด็ง (ผู้กำกับ “ชีวิตในโลกใบเดียวกัน”) วิวัฒน์ เลิศวิวัฒน์วงศา (ผู้จัดงาน / Documentary Club) |
ผู้เสวนา: (ญี่ปุ่น) | คาวะดะ จุน (ผู้กำกับ) Kyun-Chome (ศิลปิน) นาคามุระ ริวโกะ (ผู้กำกับ) ฟุกุชิ ริโกะ (ผู้กำกับ) อิฮาราดะ ฮารุกะ (ภัณฑารักษ์ / ผู้ช่วยวิจัย มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งโตเกียว) |
จัดโดย:
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
Documentary Club ร่วมกับโครงการ Deep South Young Filmmakers Project
สนับสนุนโดย:
โครงการศิลปะในช่วงโควิด 19 โดยคณะศิลปะโลก มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งโตเกียว
เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
ชั้น 10 ตึกเสริมมิตรทาวเวอร์ 159 ถนนอโศกมนตรี กรุงเทพฯ 10110
โทร: 02-260-8560~3
Facebook: https://www.facebook.com/jfbangkok/
เว็บไซต์: https://ba.jpf.go.jp