นิทรรศการ : จิตวิญญาณแห่งบุโด: ประวัติศาสตร์ศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่น

 ข้อมูลการจัดงานโดยย่อ 
ชลบุรี
[ระยะเวลา]พฤหัสบดีที่ 24 กันยายน – อาทิตย์ที่ 25 ตุลาคม 2563 (เปิดทุกวัน 8:30 – 16:30)
[สถานที่]ห้องนิทรรศการ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
[พิธีเปิด]วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2563 เวลา 13.00 ณ ห้องนิทรรศการ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
[ค่าเข้าชม]ไม่เสียค่าใช้จ่าย
นครปฐม
[ระยะเวลา]พุธที่ 25 พฤศจิกายน –  อาทิตย์ 20 ธันวาคม 2020 (เปิดวันอังคาร –วันอาทิตย์ 10.00 -18.00 ปิดทุกวันจันทร์และวันหยุดราชการ)
[สถานที่]หอศิลป์บรมราชกุมารี คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม
[พิธีเปิด]วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน 2563 เวลา 16.00 ณ หอศิลป์บรมราชกุมารี คณะจิตรกรรมประติมากรรมและภาพพิมพ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม
[ค่าเข้าชม]ไม่เสียค่าใช้จ่าย
คลิกเพื่อดาวน์โหลดสูจิบัตรงานนิทรรศการ
  
1. หมวกเกราะทรงแปลก (kawari kobuto): เปลือกหอย 2. หมวกเกราะทรงแปลก (kawari kobuto): หางปลาดุก 3. พัดโครงเหล็ก (tessen) 4. หมวกเกราะทรงแปลก (kawari kabuto): หุบเขาอิจิโนะทานิ 5. ชุดเกราะ ō-yoroi type และหมวกเกราะ hoshi-kabuto
 นิทรรศการ “จิตวิญญาณแห่งบุโด : ประวัติศาสตร์ศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่น” เกิดขึ้นจากความนิยมและความสนใจอย่างยิ่งในต่างประเทศต่อศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่นที่บ่อยครั้งเป็นภาพตัวแทนของประเทศญี่ปุ่น นิทรรศการนี้เคยจัดขึ้นที่กรุงเทพฯและเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2555 และกำลังจะกลับมาจัดแสดงที่ประเทศไทยอีกเร็วๆนี้เนื่องจากความสำเร็จอย่างล้นหลาม ในปัจจุบันนี้นวนิยายและภาพยนตร์ประวัติศาสตร์ที่แสดงถึงวัฒนธรรมนักรบของประเทศญี่ปุ่นกำลังเป็นที่นิยมอย่างยิ่งไม่เพียงแต่จากชาวญี่ปุ่นแต่รวมถึงชาวต่างชาติทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาพยนตร์และการ์ตูนมังงะได้สะท้อนภาพศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่นในหลากหลายแง่มุมในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าภาพยนตร์บางเรื่องที่สร้างในต่างประเทศจะมีลักษณะเกินเลยความจริงและตรงข้ามกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ ในบางครั้งภาพยนตร์และนวนิยายเหล่านั้นก็ช่วยทำให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญและความสนใจในการค้นหาความรู้เชิงลึกเกี่ยวกับศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่นและพัฒนาการที่เกิดขึ้น นิทรรศการนี้จึงมุ่งให้ผู้ชมเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์โดยย่อของศิลปะการป้องกันตัวของญี่ปุ่นที่เริ่มจากเทคนิคการต่อสู้ในสนามรบ (บุจุทสึ) ไปจนถึงกีฬาที่ได้รับความนิยมหรือการฝึกอบรมทั้งกายและจิต (บุโด) ขณะที่คำว่า “บุ”ในภาษาญี่ปุ่นมีความหมายเกี่ยวกับทหาร คำว่า “โด” จะแปลตามตัวว่าทาง บุโดจึงหมายถึงศิลปะการป้องกันตัวที่เป็นมากกว่าการแสวงหาความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคและที่แท้จริงเป็น “วิถี” ที่ช่วยทำให้ผู้ฝึกสามารถพัฒนาลักษณะนิสัยและศีลธรรมเช่นเดียวกับเความชำนาญทางกายภาพ นิทรรศการนี้ประกอบด้วยสองส่วนคือ ส่วนแรก วัตถุแสดงของจริง/จำลองของอาวุธต่างๆที่ใช้ในประวัติศาสตร์ เช่นคันธนู ลูกธนู ชุดเกราะ ดาบและปลอกดาบและหมวกเกราะ โดยมีคำอธิบายเรื่องพัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของศิลปะการป้องกันตัวของญี่ปุ่นตั้งแต่ศตวรรษที่ 8 ถึง ศตวรรษที่ 19 เนื่องจากวัตถุแสดงที่เป็นอาวุธจำนวนมากไม่ได้คงทนหรือเปราะบางเกินกว่าที่จะเคลื่อนย้าย จึงมีวัตถุจำลองต่างๆ เช่นชุดเกราะและหมวกเกราะที่แสดงให้เห็นถึงสภาพดั้งเดิมได้อย่างชัดเจนมากขึ้น ที่สังเกตได้ชัด นักรบในสมัยดังกล่าวได้ผ่านการฝึกร่างกายอย่างมานะบากบั่นในขณะที่ขัดเกลาเพื่อการเติบโตทางด้านจิตวิญญาณไปด้วย แนวทางการต่อสู้ทางจิตวิญญาณทำให้เกิดการพัฒนาไม่เพียงแต่ทางด้านทักษะและจิตใจของรักรบแต่รวมถึงขีดความสามารถทางหัตถศิลป์ช่างที่สรรค์สร้างอาวุธและอุปกรณ์ต่างๆด้วย ยกตัวอย่าง ในนิทรรศการนี้จะสามารถเห็นหมวกเกราะแปดใบในช่วงสมัยสงคราม (พ.ศ.2010 – 2111) ที่เกิดความโกลาหลทั่วประเทศญี่ปุ่นโดยแสดงให้เห็นถึงความสง่างามดั้งเดิมที่ปรากฏในช่วงที่สร้างขึ้นมา แม้ว่าหมวกเกราะจะถูกออกแบบอย่างประณีต แต่ขุนพลที่มีชื่อเสียงได้ใช้สวมใส่จริง เช่น คุโรดะ นากามาสะ (พ.ศ. 2111 – 2166) หมวกเกราะเหล่านี้ นอกจากจะมีความเป็นเอกลักษณ์และปัจเจกมากแล้ว ยังแสดงให้เห็นถึงความทะเยอทะยานและความตั้งใจอย่างแรงกล้าของเหล่านักรบที่ผ่านการฝึกฝนศิลปะการต่อสู้ ส่วนที่สองเกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนทางองค์กร จาก บุจุทสึ (เทคนิคการต่อสู้) เป็น บุโด (การฝึกอบรมทั้งกายและจิต)ในศตวรรษที่ 19 และ 20 ที่เป็นช่วงสมัยที่ศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่นเผชิญหน้าและดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดผ่านวิกฤตการณ์สองครั้ง จุดเปลี่ยนครั้งแรกเกิดขึ้นในช่วงตอนท้ายของระบอบศักดินาและตอนเริ่มของยุความเป็นสมัยใหม่ในสมัยปฏิรูปเมจิ (กลางศตวรรษที่ 19) จุดหักเหครั้งที่สองเกิดขึ้นหลังจากคือการเปลี่ยนเป็นประชาธิปไตยเรื่องการศึกษา ในการปรับตัวท่ามกลางการเปลี่ยนแปลง ทางสังคมที่เกิดขึ้น บุจุทสึจึงเปลี่ยนกลายเป็นบุโด โดยนักวิชาการและผู้ฝึกฝนที่ได้บูรณาการการฝึกฝนทั้งในส่วนของความแข็งแกร่งทางด้านร่างกายและจิตใจเพื่อพัฒนาการของตัวปัจเจกและสังคม ในตัวนิทรรศการจะเห็นข้อมูลของสมาคมบุโดมากมายรวมถึงชุดฝึกฝนและชุดป้องกันตัวและอุปกรณ์ เช่นดาบไม้ไผ่ ชุดคุ้มกัน ถุงมือ เพื่อเข้าใจถึงจิตวิญญาณของศิลปะการป้องกันตัวที่ยังคงเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของชาวญี่ปุ่น เราหวังว่านิทรรศการนี้จะทำให้ผู้ชมตระหนักและเข้าใจประวัติศาสตร์ศิลปะการต่อสู้ของญี่ปุ่นตลอดจนความสร้างสรรค์ทางสุนทรียภาพ ประวัติศาสตร์สัคมของญี่ปุ่นและวิธีคิดแบบญี่ปุ่นจากมุมมองใหม่ สำหรับข้อมูลอัพเดท สามารถติดตามได้จากเฟซบุ๊กเพจ https://www.facebook.com/jfbangkok/  และเว็บไซต์ https://ba.jpf.go.jp หรือติอต่อเจ้าหน้าที่สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม ข้อมูลติดต่อเจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯชั้น 10 อาคารเสริมมิตรทาวเวอร์ 159 ถ.สุขุมวิท 21 กรุงเทพฯ 10110โทร 02-260-8560-4 ศุภวัฒน์ เลาหชัยบุณย์ (suphawat@ba.jpf.go.jp) (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)เบญยทิพย์ ถิรวิริยพล (benyatip@ba.jpf.go.jp) (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ))คุวาฮาระ ฮิคารุ (kuwahara@ba.jpf.go.jp) (ภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ) ร่วมจัดโดย สนับสนุนโดย