This image has an empty alt attribute; its file name is tawan.jpg

ฉบับที่ 29 กุมภาพันธ์ 2546

แนวการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม (ภาษาญี่ปุ่น)

ชเนตตี นิโครธานนท์
โรงเรียนวัดราชโอรส

จากการปฏิรูปการศึกษาที่มุ่งเน้นให้มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในด้านการบริหารจัดการ และด้านการพัฒนาหลักสูตรเพื่อการรปฏิรูปสำเร็จสอดคล้องกับพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 นั่นก็คือ ให้มีการปรับปรุงคุณภาพการศึกษา

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 จึงมีขึ้นเพื่อเป็นหลักสูตร แกนกลางที่จะพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีศักยภาพสูงขึ้น ดำรงชีวิตอย่างมีความสุขบนพื้นฐานของความเป็นไทยและความเป็นสากล รวมทั้งสามารถประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อตามความถนัดและความสามารถของแต่ละบุคคล

ดังนั้น หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้กำหนดโครงสร้าง สาระและมาตรฐานการเรียนรู้เป็นเกณท์ในการกำหนดคุณภาพของผู้เรียนเมื่อจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานการเรียนรู้ในภาพรวม 12 ปี

โครงสร้างของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน แบ่งระดับผู้เรียนเป็น 4 ช่วงชั้นคือ

โดยมีสาระการเรียน (วิชา) 8 กลุ่ม ซึ่งเป็นสาระการเรียนรู้พื้นฐานสำคัญที่ผู้เรียนทุกคนต้องเรียนรู้ ได้แก่

ทั้งนี้หลักสูตรได้กำหนดสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศไว้ 4 สาระ (1. ภาษาเพื่อการสื่อสาร 2.ภาษากับวัฒนธรรม 3. ภาษากับการบูรณาการ 4. ภาษาเพื่อชุมชน) และ 8 มาตรฐานเพื่อการเรียนการสอนภาษาต่างประเทศเกิดผลการเรียนรู้ต่อนักเรียนตามเป้าหมายที่วางไว้

จากการที่หลักสูตรกำหนดมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นแต่ละชั้นในกรอบของสาระและมาตรฐานแล้วนั้น ขั้นตอนต่อไปก็คือ สถานศึกษาจะต้องนำมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นดังกล่าว มาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา โดยสำรวจและวิเคราะห์ความต้องการด้านภาษาญี่ปุ่นของนักเรียน ผู้ปกครองในชุมชนนั้นๆ บวกกับนโยบายของโรงเรียนเพื่อการเรียนการสอนยืดหยุ่น สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและเหมาะสมกับท้องถิ่นดังกล่าว

สาระการเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าจะไม่ใช่กลุ่มสาระการเรียนรู้พื้นฐาน แต่เราจัดเป็นสาระการเรียนรู้เพิ่มเติม (วิชาเลือก) ซึ่งขั้นตอนในการทำหลักสูตรสถานศึกษาของสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ สาระเพิ่มเติม (ภาษาญี่ปุ่น) มีขั้นตอนตามแผนภูมิดังต่อไปนี้

จะเห็นได้ว่าผู้สอนจะต้องศึกษามาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น (มีไว้แล้วในสาระและมาตรฐาน)เพื่อมากำหนดเป็นผลการเรียนรู้ที่คาดหวังและสาระการเรียนรู้รายปี (ถ้าเป็นชั้นประถม-มัธยมต้น) และสาระการเรียนรู้รายภาค (ถ้าเป็นชั้นมัธยมปลาย) เพื่อการจัดทำคำอธิบายรายวิชานั้นๆ โดยเขียนเป้าหมายและภาพรวมรายปี หรือรายภาคของความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาที่ผู้เรียนจะปฏิบัติได้ หลังจากเรียนจบรายวิชาดังกล่าว

ต่อจากนั้นผู้สอนจะต้องทำหน่วยการเรียนรู้ ว่าตลอดปี หรือตลอดภาคเรียนผู้สอนจะสอนเนื้อหาหรือองค์ความรู้อะไรบ้าง ทำเป็นหน่วยๆ ไป ในหนึ่งหน่วยกำหนดได้เลยว่าจะสอนกี่ชั่วโมง จัดหน่วยต่างๆ ให้ครบตามชั่วโมงของสาระนั้นๆ และขั้นตอนสุดท้ายนั้นคือการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ว่าผู้สอนจะใช้กระบวนการเรียนการสอนโดยวิธีใด เพื่อให้การจัดการเรียนรู้นั่นๆ ประสบผลสำเร็จ ผู้สอนจึงควรเลือกใช้กลยุทธ์การเรียนรู้ต่างๆ ( Learning Strategies ) ที่เหมาะกับวัยและระดับชั้นของผู้เรียน เช่น ใช้กลยุทธ์ในการสื่อสาร ทักษะการจำ ทักษะการถาม การคิดเชิงสร้างสรรค์ ทั้งนี้เพื่อผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล

ตัวอย่างแนวคิดต่างๆ ในการจัดการเรียนการสอนภาษา

การจัดหน่วยการเรียนของโรงเรียนวัดราชโอรส ช่วงชั้นที่ 4 (ม.4- ม.6)