This image has an empty alt attribute; its file name is tawan.jpg

ฉบับที่ 29 กุมภาพันธ์ 2546

ครัว BLC

วันที่ 3 มีนาคม เป็นเทศกาลเด็กผู้หญิงแล้ว ฉบับนี้จึงอยากจะขอแนะนำวิธีการทำ จิราชิซูชิแบบง่ายๆ เมื่อพูดถึงวันที่ 3 มีนาคมก็จะเป็นที่รู้กันดีว่าเป็น เทศกาลเด็กผู้หญิง ( Hinamatsuri ) ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Momo no Sekku เป็นวันแห่งการขอพรให้เด็กผู้หญิงมีความสุข และเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรงสมบูรณ์ จิราชิซูชิ เป็นอาหารที่เหมาะกับ เทศกาลเฉลิมฉลองในฤดูใบไม้ผลินี้มาก เพราะส่วนประกอบต่างๆ ที่โรยอยู่บนข้าวนั้นจะให้ กลิ่นอายของฤดูใบไม้ผลิ และสีสันสวยงามอีกด้วย

จิราชิซูชิ

ส่วนประกอบ (สำหรับ 4 คน)

    • น้ำส้มสำหรับทำซูชิ (มีวางจำหน่ายทั่วไป) (ในกรณีที่ทำเองให้ผสมน้ำส้มสายชู 80 ml น้ำตาล 3 ช้อนโต๊ะ เกลือ 2 ช้อนชา เข้าด้วยกัน)
    • ข้าวสุก
    • เครื่อง (กุ้ง / ไข่ 2 ฟอง / รากบัว / แครอท / เม็ดถั่วลันเตา / เห็ดหอมแห้ง / แตงกวา / งา ฯลฯ)
    • ซุปปรุงรส / เหล้าสาเก / น้ำตาล / เกลือ / มิริน

วิธีทำ

    1. คลุกเคล้าน้ำส้มกับข้าวสุกที่หุงไว้ให้เข้ากัน ควรคลุกเร็วๆ ในขณะที่ข้าวยังร้อนอยู่
    2. นำส่วนผสมในข้อ 1 ถ่ายใส่ชามอ่าง พัดจนเย็น เพราะจะทำให้ข้าวขึ้นเงา
    3. ปอกเปลือกรากบัว แครอท แล้วหั่นเป็นชิ้นหนาขนาด 5 mm . เห็ดหอมแห้งแช่น้ำให้นิ่ม แล้วหั่นเป็นชิ้น ขนาด 5 mm . เช่นกัน นำรากบัว แครอท เห็ดหอมที่หั่นไว้แล้วใส่ลงในหม้อ เติมซุปปรุงรส เหล้าสาเก น้ำตาล เกลือ และมิริน ต้มจนนิ่ม
    4. เติมเกลือลงในน้ำร้อนแล้วลวกเม็ดถั่วลันเตา
    5. ลวกกุ้งทั้งเปลือกในน้ำร้อนซึ่งเติมเกลือไว้ จากนั้นค่อยแกะเปลือก และดึงเส้นหลังออก
    6. ตอกไข่ใส่ชาม เติมมิรินเล็กน้อย แล้วตีให้เข้ากัน
    7. เทไข่ลงในกะทะก้นแบน คลี่เป็นแผ่นบางๆ พอสุกเอาขึ้น แล้วทำซ้ำอีกจนไข่หมด ให้ได้ไข่หลายๆ แผ่น
    8. ทิ้งไข่ที่ทอดเป็นแผ่นบางๆ ไว้จนเย็น แล้วหั่นเป็นเส้นบางๆ ไข่ซึ่งหั่นเป็นเส้นบางๆ นี้ในภาษาญี่ปุ่นเรียก ว่า Kinshi Tamago
    9. ตักข้าวในข้อ 2 ใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้ วางไข่ที่หั่นเป็นเส้น รากบัว เม็ดถั่วลันเตา กุ้ง และแตงกวาซึ่งซอยเป็นเส้นบางๆ ลงบนข้าว โรยงา แล้วนำออกเสิร์ฟได้ ถ้าชอบจะโรยสาหร่ายลงไปด้วยก็ได้

คำศัพท์

ก่อนอื่นขอเสนอคำนามชี้เฉพาะซึ่งปรากฏอยู่หลายคำใน ครัว BLC ฉบับนี้

ちらし寿司 ซูชิแบบหนึ่ง ไม่ปั้นเป็นก้อนเหมือนซูชิแบบอื่นๆ ลักษณะจะเป็นข้าวที่โรยหน้าด้วยเครื่อง ต่างๆ สีสันสวยงาม มีกลิ่นหอมชวนรับประทาน

桃の節句 桃 หมายถึง ดอกท้อ / ลูกท้อ ส่วน 節句 นั้น หมายถึง งานเฉลิมฉลอง ดังนั้น ถ้าแปลตรงตัวก็จะมี ความหมายว่า งานเฉลิมฉลองดอกท้อ หรือลูกท้อ เป็นชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งของ เทศกาลเด็กผู้หญิง ひな祭り ซึ่งตรงกับวันที่ 3 มีนาคมของทุกปี เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในฤดูใบไม้ผลิ

みりん เครื่องปรุงชนิดหนึ่งซึ่งใช้ค่อนข้างบ่อยในอาหารญี่ปุ่น รสชาติคล้ายเหล้าหวาน

金糸卵 ไข่ทอดเป็นแผ่นบางๆ แล้วหั่นเป็นเส้นเล็กๆ

คำสุดท้ายเป็นคำกริยาซึ่งเป็นที่มาของเมนูอาหารครั้งนี้

散らす โรย(หน้า) โปรย

ご飯の上にレンコン,グリーンピース、エビなどを散らします。

โรยรากบัว เม็ดถั่วลันเตา กุ้ง ลงบนข้าว

ไวยากรณ์ 文法 ในช่วง ระหว่าง ก่อน

V . รูป dic . from หรือรูปปฏิเสธ / Adj (い) . รูป dic . from / Adj (な)な ./ Noun の + うちに

การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นก่อนที่สภาพ หรือเรื่องราวบางอย่างซึ่งดำเนินต่อเนื่องอยู่จะจบสิ้นลง เช่น

あかるいうちに帰ってきてください กรุณากลับมาในช่วงที่ยังสว่างอยู่

แสดงว่าให้กลับมาในช่วงที่สภาพภายนอกยังสว่างอยู่ (ถ้าเลยช่วงนั้นไปแล้วจะมืด)

ご飯が熱いうちに混ぜましょう。 คนให้เข้ากันในระหว่างที่ข้าวยังร้อนอยู่