This image has an empty alt attribute; its file name is tawan.jpg

ฉบับที่ 28 สิงหาคม 2545

RAKUGO

RAKUGO เป็นการแสดงพื้นบ้านอย่างหนึ่งของญี่ปุ่น ซึ่งมีประเพณีอันยาวนานตั้งแต่สมัย AZUCHIMOMOYAMA (ปลายศตวรรษที่ 16)

RAKUGO เป็นศิลปะการแสดงแบบพูดคุยคนเดียว ผู้แสดงจะนั่งบนเวที ที่เรียกว่า KOOZA และทำให้ผู้ฟังหัวเราะ โดยการเล่าเรื่องตลกขบขัน ในการแสดง RAKUGO นั้น ผู้แสดงจะมีสิ่งเล็กๆ ที่ใช้ประกอบในการแสดงซึ่งจะเป็นแค่ SENSU (พัดกระดาษที่พับได้) และ TENUGUI (ผ้าเช็ดหน้า) RAKUGOไม่ใช่การอธิบายเค้าโครงเรื่องแต่เป็นการเล่าโดยใช้บทเล่าประกอบกับการแสดงท่า ทางเคลื่อนไหว บางครั้งพัดจะเอามาใช้แทนกล้องยาสูบ, เป็นดาบ หรือเป็นมือเคาะประตู ส่วนผ้าเช็ดมือ จะใช้แทนซองบุหรี่, กระเป๋าเงิน หรือจดหมาย โดยจะเปลี่ยนหน้าที่ของเครื่องมือทั้งสองนี้อย่างรวดเร็ว ความแตกต่างของตัวละครจะอยู่ที่การเปลี่ยนเสียงของผู้แสดง หรือเปลี่ยนทิศทางของศรีษะ และลำตัว

เป็นความโชคดีที่ภาษาญี่ปุ่นมีภาษาผู้ชายกับภาษาผู้หญิง และนอกจากนี้การใช้ภาษาจะแตกต่างกันออก ไปตามฐานะและอาชีพ ฉะนั้น ผู้แสดงคนเดียวสามารถที่จะแสดงเป็นหลายๆ คน ผู้ฟังสามารถที่จะ นึกวาดภาพ ในใจราวกับได้ดูภาพจากภาพยนต์หรือโทรทัศน์ ต้นกำเนิดของ RAKUGO เก่าแก่มาก ก็จริงอยู่ แต่เป็นศิลปะที่มีความเป็นสมัยใหม่จึงยังไม่ล้าสมัย แม้ในปัจจุบันยังครองอันดับหนึ่ง ของการแสดงพื้นเมืองที่มีคนนิยมอย่างมากมาย

This image has an empty alt attribute; its file name is perform_05.jpg

เรื่องใน RAKUGO จะมีหลายแบบ อาทิเช่น เรื่อง YOTARO-BANASHIซึ่งเป็นเรื่องที่กล่าวถึงตัวเอกที่ชื่อ YOTARO (ผู้ที่ค่อนข้างจะหัวอ่อน) กับ GINKYO-SAN (นักปราชญ์) เรื่อง KOKKEIBANASHI (เรื่องของกลุ่มคนโง่ที่รวมตัวกันในเมือง), NINJOO-BANASHI (เรื่องที่เรียกน้ำตาได้จากความเห็นอกเห็นใจของมนุษย์), KAIDAN-BANASHI (เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผี) เป็นต้น

นอกจากนี้ในตอนท้ายของ RAKUGO จะมีการทิ้งท้ายที่เรียกว่า SAGE หรือ OCHI ทำให้ผู้ชมเข้าใจว่า อ๋อ มันเป็นอย่างนี้เอง และเรื่องก็จบลงด้วยเสียงหัวเราะของผู้ชม

อย่างไรก็ตาม “สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น” ลองไปดูของจริงกันสักครั้งดีไหมครับ

RAKUGO ภาษาอังกฤษ และการแสดงชวนหัวอื่นๆ (จากญี่ปุ่น)

วันและเวลา18 สิงหาคม 2545 เวลา 17.00 น.
19 สิงหาคม 2545 เวลา 19.30 น.
สถานที่หอประชุมสถาบันปรีดี พนมยงค์
65/1 ซอยทองหล่อ (1-3)
สุขุมวิท 55 กรุงเทพฯ
โทร. 0-2381-3860-1
บัตรราคา50 บาท
ติดต่อสอบถามMr.Yoshioka / คุณอัมพุชินี
ศูนย์วัฒนธรรมญี่ปุ่น กรุงเทพฯ
โทร. 0-2260-8560-4