This image has an empty alt attribute; its file name is tawan.jpg

ฉบับที่ 29 กุมภาพันธ์ 2546

สอบวัดระดับความรู้ภาษาญี่ปุ่น สำหรับคนพิการ

ได้มีการเริ่มจัดสอบเพื่อวัดระดับความรู้ภาษาญี่ปุ่นของผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นที่ไม่ได้ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาแม่ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1984 สำหรับการสอบครั้งล่าสุดซึ่งมีขึ้น เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2545 มีผู้เข้าสอบทั่วประเทศไทยจำนวน 5,679 คน แต่ท่านได้เคยทราบความเป็นมาและรายละเอียดของการจัดสอบวัดระดับความรู้ภาษาญี่ปุ่น สำหรับคนพิการหรือไม่ ในฉบับนี้ใคร่ขอแนะนำเกี่ยวกับสภาพและความเป็นมาของการสอบดังกล่าวให้ท่านได้ทราบ

1. ขั้นตอนและแนวทางของการจัดสอบวัดระดับความรู้ภาษาญี่ปุ่น สำหรับคนพิการ
ในปี 1994 ผู้จัดสอบวัดระดับความรู้ภาษาญี่ปุ่นในประเทศบราซิลได้ขออนุมัติให้มีผู้ช่วยเหลือเข้าอยู่ในห้องเดียวกับผู้สมัครสอบวัดความรู้ภาษาญี่ปุ่น ซึ่งเป็นคนพิการ ซึ่งนับว่าในครั้งนั้นเป็นตัวอย่างของการมีการจัดสอบวัดระดับความรู้ภาษาญี่ปุ่นสำหรับคนพิการเป็นครั้งแรก ต่อมาในปี 1995 ก็ได้มีหนังสือขอมาจากผู้จัดสอบ ในประเทศออสเตรเลีย ให้อนุมัติให้มีการสอบสำหรับคนพิการทางหู โดยขอจัดสอบเป็นแบบการอ่านริมฝีปาก (วิธีอ่านโดยดูจากการเคลื่อนไหวของริมฝีปาก)

หลังจากที่ได้มีการจัดสอบสำหรับคนพิการนี้แล้ว ผลปรากฏว่าได้รับการประเมินเป็นอย่างดี ทั้งจากผู้เข้าสอบและครูผู้สอน โดยมีเสียงตอบรับว่าการจัดสอบแบบนี้ เป็นการให้กำลังใจแก่คนพิการ อีกทั้งยังเป็นแรงจูงใจให้คนพิการเรียนภาษาญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่อง จากประสบการณ์เหล่านี้ ทำให้รู้ว่ามีความจำเป็นที่จะต้องเตรียมความ พร้อมในการจัดสอบโดยพิจารณาจากประเภทและระดับของความพิการ อีกทั้งในปี 1998 จำนวนที่ขอจัดสอบวัดระดับสำหรับคนพิการ ทั้งในประเทศญี่ปุ่นและ ในต่างประเทศมีถึง 10 แห่ง ซึ่งทำให้ได้รู้ว่ามีความจำเป็นอย่างมากในการที่จะต้องมีแนวทางในการจัดสอบให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน จากนั้นมาซึ่งแต่เดิมได้ขอให้ ผู้เชี่ยวชาญดูแลตามประเภทของความพิการก็ได้มีการเพิ่มจำนวนของผู้เชี่ยวชาญ จัดตั้งเป็นคณะกรรมการ และได้เริ่มจัดแนวทางพิจารณาการจัดสอบวัดระดับเพื่อ คนพิการ ดังจะเห็นได้จากตารางข้างล่างนี้

2. ปัญหาในการจัดแนวทางของการจัดสอบวัดระดับความรู้ภาษาญี่ปุ่นสำหรับคนพิการ และรายละเอียดของขั้นตอนในการจัด

ก่อนอื่นในการที่จะจัดการสอบให้เหมาะสมกับผู้สมัครนั้น ปัญหาใหญ่ก็คือ การที่จะพิจารณาตัดสินถึงประเภทของความพิการ และระดับของความพิการ โดยเริ่มจากการขอใบรับรองแพทย์เพื่อดูระดับของความพิการ แต่ในกรณีนี้ก็จะเป็นภาระอย่างยิ่งต่อคนพิการที่ไม่พร้อมในด้านฐานะ อีกทั้งจะมีผลกระทบต่อคนพิการทั้งในด้ารร่างกายและจิตใจ ซึ่งนี่ก็เป็นเหตุผลของการลังเลที่จะสอบและเป็นเหตุให้เกิดความกังวลใจต่อผู้จัด อีกทั้งเนื่องจากว่าการอธิบายเกี่ยวกับระดับของความพิการในแต่ละประเทศก็แตกต่างกันออกไป จึงทำให้เกิดการลังเลขึ้นบ่อยๆ ในการที่จะตัดสินถึงระดับของความพิการ

ดังนั้น หลังจากที่ได้จัดแนวทางของการจัดสอบวัดระดับความรู้ภาษาญี่ปุ่น สำหรับคนพิการแล้ว ผู้จัดสอบได้ใส่ใจที่จะคิดหาวิธีการสอบที่สอดคล้องกับความเป็นจริงนั่นคือ หากมีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบใดในโรงเรียนของผู้สมัครก็จะจัดสอบวัดระดับความรู้ภาษาญี่ปุ่นในรูปแบบนั้น ผลก็ปรากฏว่าในส่วนที่เกี่ยวกับวิธีการสอบที่ผู้สมัครต้องการจะให้จัดให้นั้นจะขึ้นอยู่กับการพิจารณาจดหมายสนับสนุนจากครูที่สอนภาษาญี่ปุ่นให้แก่ผู้สมัคร และผู้ที่ช่วยเหลือในการเรียนของผู้สมัคร

ความแตกต่างของสภาพของผู้สมัครสอบนั้นมีมาก ผู้จัดสอบวัดระดับก็จะใช้ข้อมูลของแต่ละคนมาประกอบกันเพื่อจัดทำข้อสอบโดยได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญภาษาญี่ปุ่นเป็นหลัก ฉะนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นคนพิการในประเภทเดียวกันแต่วิธีการจัดการสอบก็อาจจะแตกต่างกันได้

(แนวทางของการสอบแบบพิเศษ)

3. ลักษณะพิเศษของการเพิ่มจำนวนผู้สมัครสอบวัดระดับความรู้ภาษาญี่ปุ่นที่เป็นคนพิการ และลักษณะพิเศษของผู้สมัครสอบวัดระดับที่เป็นคนพิการในต่างประเทศ

จำนวนคนพิการที่สมัครสอบวัดระดับความรู้ภาษาญี่ปุ่นในต่างประเทศมีเพิ่มขึ้นทุกปี และในการสอบวัดระดับนั้นเป็นที่รู้กันอย่างแพร่หลายว่ามีการผ่อนปรนให้กับคนพิการ ในการสอบวัดระดับ และมีคนพิการที่เรียนภาษาญี่ปุ่นอย่างต่อเนื่องเพิ่มมากขึ้น จำนวนที่เพิ่มมากขึ้นนั้นก็คงจะเป็นเพราะว่ามีผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นที่เป็นคนพิการในต่าง ประเทศเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง

หากเราดูกราฟที่แสดงจำนวนผู้สอบของคนพิการของแต่ละระดับทั้งในประเทศญี่ปุ่น และต่างประเทศ จะเห็นได้ว่าในประเทศญี่ปุ่นจะมีจำนวนมากอยู่ที่ระดับสูง 1 และ 2 โดยส่วนใหญ่แล้วจะเป็นผู้ที่จะศึกษาต่อในประเทศญี่ปุ่นในระดับมหาวิทยาลัย แต่สำหรับผู้สมัครในต่างประเทศจะกระจายตั้งแต่ระดับ 1-4 และมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน ผู้สอบในระดับ 3 , 4 จะมีเป็นจำนวนมาก แต่ก็มีผู้สมัครที่ได้พยายามมาหลายปีเพื่อจะสอบระดับสูงให้ได้ และก็จะเห็นได้ว่ามีผู้ที่จะอาศัยการเรียนภาษาญี่ปุ่นเป็น การเปิดทางในการแสดงความสามารถของตนเองรวมอยู่ด้วย

ถ้าหากว่าเป็นเช่นนั้นจริง การเข้าร่วมสมัครสอบวัดระดับความรู้ภาษาญี่ปุ่นสำหรับคนพิการนั้นไม่ใช่แค่พิจารณาถึงการที่ว่าสังคมให้โอกาสแก่คนพิการ และผู้เรียน ภาษาญี่ปุ่นหลายๆ ประเภทเท่านั้น แต่เราคงจะต้องมาคิดกันอีกว่าเหตุใดผู้สมัครที่เป็นคนพิการที่อยู่ในต่างประเทศที่อาจจะไม่มีโอกาสต้องใช้ภาษาญี่ปุ่น จึงสนใจเรียน ภาษาญี่ปุ่น ซึ่งในเรื่องนี้น่าจะมีคำแนะนำเพื่อพิจารณากันใหม่ว่า มันจะมีความหมายเพียงไรต่อผู้เรียนภาษาญี่ปุ่น หากเขาเหล่านั้นสอบผ่าน และคงจะต้องพิจารณากัน ใหม่ในด้านของการเรียน และการมีสิทธิ์ที่จะเรียนประกอบกันไปด้วย

4. งานจากนี้ไป

จากนี้ไปก็คงจะมีความจำเป็นที่จะต้องมีการปรึกษาหารือกันต่อไประหว่างมูลนิธิญี่ปุ่น กับองค์กรที่เป็นผู้จัดสอบถึงปัญหาที่ว่าจะพิจารณาผู้สมัครที่มีความพิการแตกต่างกัน เป็นรายๆ ได้มากน้อยเพียงใด

นอกจากนี้ก็คงต้องมาพิจารณากันอีกว่า การสอบโดยการใช้อักษรเบลล์ และการสอบที่เป็นที่พูดถึงกันอยู่เสมอ แต่ยังมิได้จัดให้มีการสอบอย่างภาษามือ , การอ่านริมฝีปาก , การพากย์ นั้นควรจะจัดสอบอย่างไร ในการที่จะวัดความสามารถในการสื่อสารของการสอบวัดระดับสำหรับผู้เรียนที่เป็นคนพิการในต่างประเทศนั้น ก็คงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการสำรวจในสถานศึกษาของคนพิการเป็นพิเศษในภาพรวมเพื่อทราบถึงความต้องการ และจุดประสงค์ของผู้เรียน

(บทความนี้เรียบเรียงมาจากบทความเรื่อง “ สภาพของการจัดสอบวัดระดับความรู้ภาษาญี่ปุ่น สำหรับคนพิการ ” เขียนโดย Ms . Kazuko UENO ลงพิมพ์ในวารสาร Kiyoo ฉบับที่ 13 ของศูนย์ภาษามูลนิธิญี่ปุ่น (อุราวะ)