ฉบับที่ 29 กุมภาพันธ์ 2546
ครัว BLC
วันที่ 3 มีนาคม เป็นเทศกาลเด็กผู้หญิงแล้ว ฉบับนี้จึงอยากจะขอแนะนำวิธีการทำ จิราชิซูชิแบบง่ายๆ เมื่อพูดถึงวันที่ 3 มีนาคมก็จะเป็นที่รู้กันดีว่าเป็น เทศกาลเด็กผู้หญิง ( Hinamatsuri ) ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Momo no Sekku เป็นวันแห่งการขอพรให้เด็กผู้หญิงมีความสุข และเติบโตขึ้นอย่างแข็งแรงสมบูรณ์ จิราชิซูชิ เป็นอาหารที่เหมาะกับ เทศกาลเฉลิมฉลองในฤดูใบไม้ผลินี้มาก เพราะส่วนประกอบต่างๆ ที่โรยอยู่บนข้าวนั้นจะให้ กลิ่นอายของฤดูใบไม้ผลิ และสีสันสวยงามอีกด้วย
จิราชิซูชิ
ส่วนประกอบ (สำหรับ 4 คน)
- น้ำส้มสำหรับทำซูชิ (มีวางจำหน่ายทั่วไป) (ในกรณีที่ทำเองให้ผสมน้ำส้มสายชู 80 ml น้ำตาล 3 ช้อนโต๊ะ เกลือ 2 ช้อนชา เข้าด้วยกัน)
- ข้าวสุก
- เครื่อง (กุ้ง / ไข่ 2 ฟอง / รากบัว / แครอท / เม็ดถั่วลันเตา / เห็ดหอมแห้ง / แตงกวา / งา ฯลฯ)
- ซุปปรุงรส / เหล้าสาเก / น้ำตาล / เกลือ / มิริน
วิธีทำ
- คลุกเคล้าน้ำส้มกับข้าวสุกที่หุงไว้ให้เข้ากัน ควรคลุกเร็วๆ ในขณะที่ข้าวยังร้อนอยู่
- นำส่วนผสมในข้อ 1 ถ่ายใส่ชามอ่าง พัดจนเย็น เพราะจะทำให้ข้าวขึ้นเงา
- ปอกเปลือกรากบัว แครอท แล้วหั่นเป็นชิ้นหนาขนาด 5 mm . เห็ดหอมแห้งแช่น้ำให้นิ่ม แล้วหั่นเป็นชิ้น ขนาด 5 mm . เช่นกัน นำรากบัว แครอท เห็ดหอมที่หั่นไว้แล้วใส่ลงในหม้อ เติมซุปปรุงรส เหล้าสาเก น้ำตาล เกลือ และมิริน ต้มจนนิ่ม
- เติมเกลือลงในน้ำร้อนแล้วลวกเม็ดถั่วลันเตา
- ลวกกุ้งทั้งเปลือกในน้ำร้อนซึ่งเติมเกลือไว้ จากนั้นค่อยแกะเปลือก และดึงเส้นหลังออก
- ตอกไข่ใส่ชาม เติมมิรินเล็กน้อย แล้วตีให้เข้ากัน
- เทไข่ลงในกะทะก้นแบน คลี่เป็นแผ่นบางๆ พอสุกเอาขึ้น แล้วทำซ้ำอีกจนไข่หมด ให้ได้ไข่หลายๆ แผ่น
- ทิ้งไข่ที่ทอดเป็นแผ่นบางๆ ไว้จนเย็น แล้วหั่นเป็นเส้นบางๆ ไข่ซึ่งหั่นเป็นเส้นบางๆ นี้ในภาษาญี่ปุ่นเรียก ว่า Kinshi Tamago
- ตักข้าวในข้อ 2 ใส่ในภาชนะที่เตรียมไว้ วางไข่ที่หั่นเป็นเส้น รากบัว เม็ดถั่วลันเตา กุ้ง และแตงกวาซึ่งซอยเป็นเส้นบางๆ ลงบนข้าว โรยงา แล้วนำออกเสิร์ฟได้ ถ้าชอบจะโรยสาหร่ายลงไปด้วยก็ได้
คำศัพท์
ก่อนอื่นขอเสนอคำนามชี้เฉพาะซึ่งปรากฏอยู่หลายคำใน ครัว BLC ฉบับนี้
ちらし寿司 ซูชิแบบหนึ่ง ไม่ปั้นเป็นก้อนเหมือนซูชิแบบอื่นๆ ลักษณะจะเป็นข้าวที่โรยหน้าด้วยเครื่อง ต่างๆ สีสันสวยงาม มีกลิ่นหอมชวนรับประทาน
桃の節句 桃 หมายถึง ดอกท้อ / ลูกท้อ ส่วน 節句 นั้น หมายถึง งานเฉลิมฉลอง ดังนั้น ถ้าแปลตรงตัวก็จะมี ความหมายว่า งานเฉลิมฉลองดอกท้อ หรือลูกท้อ เป็นชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งของ เทศกาลเด็กผู้หญิง ひな祭り ซึ่งตรงกับวันที่ 3 มีนาคมของทุกปี เป็นวันสำคัญวันหนึ่งในฤดูใบไม้ผลิ
みりん เครื่องปรุงชนิดหนึ่งซึ่งใช้ค่อนข้างบ่อยในอาหารญี่ปุ่น รสชาติคล้ายเหล้าหวาน
金糸卵 ไข่ทอดเป็นแผ่นบางๆ แล้วหั่นเป็นเส้นเล็กๆ
คำสุดท้ายเป็นคำกริยาซึ่งเป็นที่มาของเมนูอาหารครั้งนี้
散らす โรย(หน้า) โปรย
ご飯の上にレンコン,グリーンピース、エビなどを散らします。
โรยรากบัว เม็ดถั่วลันเตา กุ้ง ลงบนข้าว
ไวยากรณ์ 文法 ในช่วง ระหว่าง ก่อน
V . รูป dic . from หรือรูปปฏิเสธ / Adj (い) . รูป dic . from / Adj (な)な ./ Noun の + うちに
การกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งหรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นก่อนที่สภาพ หรือเรื่องราวบางอย่างซึ่งดำเนินต่อเนื่องอยู่จะจบสิ้นลง เช่น
あかるいうちに帰ってきてください กรุณากลับมาในช่วงที่ยังสว่างอยู่
แสดงว่าให้กลับมาในช่วงที่สภาพภายนอกยังสว่างอยู่ (ถ้าเลยช่วงนั้นไปแล้วจะมืด)
ご飯が熱いうちに混ぜましょう。 คนให้เข้ากันในระหว่างที่ข้าวยังร้อนอยู่